Sub Navigation Links

webmaster's News

1.การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน



1.การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน



ความสำคัญของปัญหา

การเดินและการใช้จักรยานเป็นวิถีทางหลักของคนไทยมานับร้อยปี แต่ช่วง 40 ปีที่ผ่านมา การใช้รถยนต์แพร่หลายมากขึ้น การเดินทางระยะใกล้ๆ คนไทยก็ยังนิยมขับรถยนต์ ซึ่งทำให้ผู้เดินทางต้องนั่งอยู่กับที่ กิจกรรมทางร่างกาย (Physical Activity) ในชีวิตประจำวันลดลง ถึงขั้นไม่เพียงพอ ส่งผลด้านลบต่อสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ใน พ.ศ.2547-2552  ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) เพิ่มจากร้อยละ 28.7 เป็น 34.7 และมีผู้เป็นโรคอ้วน (Obesity) ถึงร้อยละ 35 ของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผลสำรวจล่าสุดยังพบว่ามีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคอ้วนติดอันดับ 5 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนอ้วนมากถึง 17 ล้านคนทั่วประเทศ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคข้อกระดูกเสื่อม สูงกว่าคนปกติ

สถานการณ์และแนวโน้ม

แนวทางของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ยังมีน้อยมาก ที่เป็นรูปธรรมมีกรณีของกรุงเทพมหานคร(กทม.)และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่ง ส่งเสริมการใช้จักรยาน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการจราจรและสุขภาพของประชาชน  เช่น สร้างทางจักรยานในกรุงเทพ และเมืองต่างๆ อย่างเชียงใหม่ ตาก เพชรบุรี ยะลา สงขลา ระยอง
การทำงานในภาพรวมถือว่าขาดความต่อเนื่องและไม่มีการศึกษาว่าทางจักรยานที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่จะเป็นอย่างไร , ขาดพื้นที่จอดและจร (Park and Ride)สำหรับจักรยาน ขาดทางเท้าและทางจักรยานที่สะดวก ปลอดภัยได้มาตรฐาน  ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ใช้ และขาดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ทั้งที่การใช้จักรยาน และการเดิน เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดการเกิดโรคหัวใจลง 30-50% ลดการเกิดโรคเบาหวาน 30%, ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น ลดการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ หากประชาชนเดินหรือใช้จักรยานแทนที่การใช้รถยนต์สัปดาห์ละ 1 วัน จะประหยัดค่าน้ำมันได้เฉลี่ย 5,200 บาท/คัน/ปี ทั้งยังช่วยส่งเสริมสุขภาวะ ลดแนวโน้มการเป็นโรคอ้วนซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 4 ล้านคน  

แนวทางการส่งเสริม

ผลักดันยุทธศาสตร์ 4 ด้าน 
1.ด้านการบริหารจัดการ ให้รัฐบาลกำหนดให้การเดินและการใช้จักรยานเป็นนโยบายสาธารณะ และวาระแห่งชาติ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานประสานการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน
2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างและพัฒนาระบบและโครงสร้าง เช่น การสร้างทางจักรยานและจุดจอด
 3.ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยาน ด้วยมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและการเงิน เช่น ให้กระทรวงคมนาคมส่งเสริมการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเดินเท้าและการใช้จักรยาน รวมถึงการกำหนดพื้นที่จำกัดความเร็วของยานยนต์ในเขตเมือง/เขตชุมชน
4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่น แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่าได้ดำเนินการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนเลือกการเดินและการใช้จักรยานเป็นวิธีหลักในการเดินทาง ระยะสั้น( 1-5 กิโลเมตร)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  35405

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง