Sub Navigation Links

webmaster's News

6.การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล



6.การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล



ความสำคัญของปัญหา

การผลิตไฟฟ้าจากพืชชีวมวลเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่สำคัญ เนื่องจากไทยเพราะเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีเศษวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้จำนวนมาก เช่น แกลบ ชานอ้อย ซังข้าวโพด กาบมะพร้าว เป็นต้น และตามแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในช่วง 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนดเป้าหมายการใช้ชีวมวลผลิตไฟฟ้าให้ได้ 3,630 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นพลังงานทางเลือกร้อยละ 25 ของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้  
กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม สร้างมลพิษจากสารและฝุ่นละอองพวกขี้เถ้าจากการเผาไหม้ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเนื่องจากเป็นกิจการที่ต้องใช้น้ำปริมาณมาก จึงเกิดปัญหาแย่งน้ำสะอาดของชุมชนใช้ มีการปล่อยน้ำเสียงและการขนส่งวัตถุดิบทำให้ถนนในชุมชนชำรุดเสียหายจากรถบรรทุกที่ใช้ในการขนพืชชีวมวลเข้าสู่โรงไฟฟ้า

สถานการณ์และแนวโน้ม

ปัญหาหลักในการเพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ ้าชีวมวลขณะนี้ คือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพและไม่ควบคุมผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีขนาดต่ำกว่า 150 เมกะวัตต์ เนื่องจากเชื้อเพลิงเผาไหม้ยากเพราะอยู่ในสถานะของแข็ง กลายเป็นสารเผาไหม้ไม่หมดถึงร้อยละ 10-38  เกิดมลพิษที่อยู่ในรูปฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ผ่านเข้าไปถึงปอดและถุงลมที่มีผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจ
โดยตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 กำหนดให้โรงไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปต้องทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ปรากฎว่ามีผู้ประกอบการหลีกเลี่ยง สร้างโครงการขนาด 9.0-9.9 เมกะวัตต์หลายโครงการในบริเวณเดียวกัน โดยในปี 2553 มีโรงไฟฟ้าชีวมวล 281 แห่ง เป็นโครงการขนาด 9.0-9.9 เมกะวัตต์ถึง 205 แห่ง ซึ่งโครงการขนาดเล็กเหล่านี้ ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเน้นการเผาตรง(directed burning)  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพต่ำและสร้างมลพิษสูง
ตามผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกยืนยันว่า การสูดดม มีผลต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคในระบบหายใจ โรคหัวใจ  ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคปอดและหัวใจ  ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วจับหืดบ่อยขึ้น ทำให้เกิดโรคหลอดลม และโรคปอดบวม ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน  เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และการเกิดอาการหัวใจวาย หากรับสัมผัสในระดับความเข้มข้นสูงจะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และจากการเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชนที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าชีวมวล 2 แห่ง จำนวน 392 ตัวอย่าง พบว่าโรคประจำตัวที่ประชาชนเป็นมากที่สุดคือโรคภูมิแพ้ รองลงมาคือโรคหืดหอบและโรคหัวใจ

แนวทางการส่งเสริม
กระทรวงสาธารณสุข ควรออกประกาศให้โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่อันตรายต่อสุขภาพ ต้องมีแผนป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพ รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ได้แก่ ที่ตั้งโรงไฟฟ้า ต้องสอดคล้องกับผังเมือง และกำหนดระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างโรงไฟฟ้ากับชุมชน สาธารณะสถาน แหล่งน้ำสาธารณะ  พร้อมทั้งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดควบคุมกิจการประเภทนี้   
        สนับสนุนให้มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีมลพิษต่ำ  จัดทำมาตรฐานระดับมลพิษที่ปล่อยออกจากปล่องโรงไฟฟ้า คุณภาพเชื้อเพลิง เตาเผา และอุปกรณ์ดักมลพิษสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมจัดทำแผนการลดผลกระทบและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย  

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  39044

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง