Sub Navigation Links

webmaster's News

8.ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช



8.ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช



ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะยาป้องกันและจำกัดศัตรูพืช กลายเป็นปัจจัยการผลิตซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดไม่ได้ ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในการผลิตคิดป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 และเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์มีไม่ถึงร้อยละ 1
ประเทศไทยมีการนำเข้าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชคิดเป็นปริมาณสารออกฤทธิ์ 39,634 ตัน มูลค่า 9,116 ล้านบาท สิ่งที่น่ากลัวก็คือสารเคมีที่ประเทศไทยนำเข้ามา ตรวจพบสารที่หลายประเทศพัฒนาออกประกาศห้ามผลิต ห้ามใช้ และไม่ให้ขึ้นทะเบียนแล้ว คือ 1. คารูโบฟูราน 2. เมโทมิล  3. ไดโครโตฟอส  4. อีพีเอ็น   โดยสารเคมี 4 ชนิดนี้มีข้อพิสูจน์ชัดทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ว่าเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ

สถานการณ์และแนวโน้ม
ผลการตรวจเลือดในเกษตรกรพบว่าร้อยละ 40 มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดในระดับที่เสี่ยงละไม่ปลอดภัย และจากผลการสำรวจผักยอดนิยมในหมู่ผู้บริโภค 7 ชนิด คือกะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา ที่ขายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ตลาดสด และรถเร่ของกรุงเทพมหานคร พบปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างเกินมาตรฐานของสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 40 โดยในจำนวนนี้คือคาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และอีพีเอ็น สอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่สำรวจพบว่าผักสดในกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 359 ตัวอย่าง มีอัตราสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรงตกค้างในผักที่มีเครื่องหมายปลอดสารพิษและผักที่ไม่มีเครื่องหมายร้อยละ 51.8 และ 63.7 ตามลำดับ  
          สารที่เป็นอันตรายและมีความเป็นพิษสูง ยังตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ดังที่กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรในสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2545-2547 พบว่ามีการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร แม้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานก็ตาม ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานการตรวจพบสารเคมีทางการเกษตรในแหล่งน้ำผิวดิน จาการเก็บตัวอย่างในแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  
       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกระทรวงสาธารณสุข มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการกำหนดค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limits : MRL) แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคคนไทย ได้เท่าเทียมกับผู้บริโภคต่างประเทศ เนื่องจากการกำหนดค่า MRL ถ้าเป็นไปเพื่อการค้าระหว่างประเทศอันมีประเทศคู่ค้าเป็นผู้กำหนดมาตรฐานแล้ว กระบวนการผลิตอาหารตลอดห่วงโซ่ จะมีความปลอดภัยตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ขณะที่ภายในประเทศกลับแตกต่างกัน เพราะจากการที่มีการตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานอยู่เสมอ จนผู้บริโภคคนไทยเสมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง

แนวทางการส่งเสริม
ที่ผ่านมาภาครัฐมีการประกาศใช้นโยบ ายและแผน กฎหมาย และกฎระเบียบด้านการจัดการสารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่การบังคับใช้กฎหมายและนโยบายเหล่านี้ ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะสร้างความปลอดภัยในอาหารได้
         ขณะที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแผนจัดการมลพิษ พ.ศ.2555-2559 ซึ่ง ครม.เห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 ให้มีการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากสารเคมีทางการเกษตรตามระดับความรุนแรงของสารพิษ รวมทั้งให้ผู้ผลิตและนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ต้องวางหลักประกันทางการเงินเพื่อใช้เป็นกองทุนในการกำจัดทำลายสารเคมีคงค้างหรือเสื่อมสภาพ  และชดเชยค่าเสียหายกรณีเกิดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนั้นควรมีการสนับสนุนให้มีการเพิ่มกลไกด้านภาษีและการคลังเพื่อให้ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle : PPP)
 อีกทั้งยังควรส่งเสริมให้การจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และการออกมาตรฐานสำหรับคนไทย ThaiGAP ที่มีความปลอดภัยเทียบเท่าระดับสากล ซึ่งภาคเอกชนโดยสมาคมผู้ค้าปลีกผลักดันแล้วในปีนี้ โดยตั้งเป้าให้พัฒนาจากเดิมที่เป็นมาตรการภาคสมัครใจ เป็นการปฏิบัติแบบภาคบังคับ  ซึ่งจะส่งให้ต่อภาพลักษณ์การที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ หรือครัวโลก (Kitchen of the World)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  37716

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง