Sub Navigation Links

webmaster's News

ย้อนรำลึก’หมอเสม พริ้งพวงแก้ว’คนดีวงการแพทย์โลกไม่ลืม



ย้อนรำลึก’หมอเสม พริ้งพวงแก้ว’คนดีวงการแพทย์โลกไม่ลืม



  ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554: “น้อยคนที่จะมีชีวิตยืนยาวถึงหนึ่งทศวรรษ แต่น้อยคนยิ่งกว่าที่จะยืนหยัดในอุดมคติและอุดมการณ์เพื่อสังคมได้อย่างมั่น คงตลอดศตวรรษที่มีชีวิตอยู่” นี่เป็นคำก ล่าวที่น่าคิดในงาน “หนึ่งคนยืนหยัด หนึ่งศตวรรษ หมอเสม พริ้งพวงแก้ว” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี หมอเสม พริ้งพวงแก้ว
  ในโอกาสนั้นกลุ่มบุคคล องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดงาน “หนึ่งคนยืนหยัด หนึ่งศตวรรษ หมอเสม พริ้งพวงแก้ว” เพื่อเป็นการเชิดชูถึงคุณงามความดีของท่าน หมอ เสม พริ้งพวงแก้ว นับเป็นหนึ่งคนในจำนวนน้อยที่สามารถยืนหยัดในอุดมการณ์เพื่อสังคม ทั้งงานด้านสาธารณสุข การเมือง ตลอดชีวิตการทำงาน จนได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล
   บุคคลตัวอย่าง ไปจนถึงการมีภาวะผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นสุดยอดแห่งความเป็นผู้นำ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งขณะปาฐกถาภายในงานครบรอบ100 ปีหมอเสมฯ ว่า ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว มีลักษณะเข้าตำรา 5 ข้อของผู้นำตามธรรมชาติ คือ 1.เห็นแก่ส่วนรวม 2.มีความซื่อสัตย์สุจริต 3.มีความฉลาด 4.สามารถสื่อสารได้เข้าใจ และ 5.เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป สำหรับ เกียรติประวัติของหมอเสมที่สร้างคุณูปการไว้มากมาย
  โดยเริ่มแสดงให้เห็นตั้งแต่ครั้งที่เพิ่งจะเรียนจบแพทยศาสตรบัณฑิต เมื่อปี 2475 ก็เริ่มต้นทำงานแพทย์ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม อยู่ที่นั่นท่านได้ทำการปราบโรคอหิวาต์ระบาด โดยใช้ศาลาวัดเป็นที่ทำงาน แต่เนื่องจากมีคนไข้มารับการรักษาจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำเกลือ คุณหมอจึงได้แก้ปัญหาด้วยการผลิตน้ำเกลือขึ้นใช้เองด้วยวิธีการเดียวกันกับ ต้มเหล้าเถื่อน ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดี
  พร้อมกันนี้ยังได้หาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายโรคอหิวาต์ระบาดมาก ขึ้นด้วย หลังจากเสร็จภารกิจที่อัมพวาแล้ว หมอเสมได้มาอบรมการรักษาโรคภัยที่มักเกิดในชนบท ที่วชิรพยาบาล ก่อนออกไปประจำที่โรงพยาบาล จ.นครสวรรค์ ต่อมาเมื่อปี 2480 จึงได้ถูกย้ายไปประจำที่จังหวัดเชียงราย
   และได้สร้างโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ขึ้นมาด้วยเงินทุนส่วนตัวและของ ประชาชนที่นั่น จนสำเร็จเป็นโรงพยาบาลขึ้นมาให้บริการผู้ป่วยในจังหวัดกว่า 800,000 คน ขณะเดียวกันนั้นเอง ระหว่างปี 2484-2488 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้การปฏิบัติงานลำบากมากกว่าเดิม เกิดภาวะขาดแคลนเครื่องมือและยาเวชภัณฑ์อย่างมาก จนต้องผลิตขึ้นมาใช้เอง รวมถึงการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค และด้วยความเพียรพยายามเหล่านี้ ทำให้โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์สามารถให้บริการประชาชนทุกคนได้อย่าง
   ครบถ้วน ระยะเวลากว่า 17 ปี ในถิ่นทุรกันดาร ทำให้หมอเสมเห็นปัญหาสาธารณสุขพื้นฐานและความเป็นจริงของระบบการดูแลสุขภาพ อนามัยในระดับท้องถิ่นของประเทศ ซึ่งในช่วงท้ายของการเป็นแพทย์ชนบท คุณหมอได้ร่วมเดินทางไปเยี่ยมโรงพยาบาลของรัฐในทุกภาคของประเทศกับ นพ.เบน ไฮนแมน แพทย์ชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาสาธารณสุขของไทย ต่อ มาในปี 2494 หมอเสมถูกเรียกตัวกลับเข้ามาทำงานทางด้านบริหารและจัดการในกรุงเทพฯ เนื่องจากขณะนั้น รัฐบาลมีนโยบายทางด้านสาธารณสุข 3 ประการ คือ 1.การก่อตั้งโรงพยา บาลหญิงและโรงพยาบาลเด็ก ให้บริการทางด้านสูติกรรมเพื่อเพิ่มประชากรของประเทศ ซึ่งในขณะนั้นมีประชากรเพียง 18 ล้านคน 2.การสร้างโรงพยา
  บาลจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด และ 3.การก่อตั้งโรง พยาบาลของกรมการแพทย์ เพื่อผลิตพยาบาลไปทำงานในชนบท โดยรับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง หรือโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน สำหรับการทำงานด้านการบริหาร หมอเสมก็ดำเนินการในหลายโครงการที่ถือเป็นคุณูปการต่อวงการแพทย์มาจนถึง ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งโรงพยาบาล การคิดค้นวิทยาการทางการแพทย์ และการวางรากฐานทางด้านสาธารณสุข โดยได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขถึง 2 สมัย คือ สมัยแรกเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2516 ซึ่งในปีนี้ได้ทำการปฏิรูปโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุขได้สำเร็จ แม้จะมีเสียงคัดค้านอยู่มาก
   แต่ก็ไม่ได้มากไปกว่าเสียงสนับสนุนในขณะนั้น ส่วนสมัยที่ 2 เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 ก.พ.2523 แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 18 วัน นายกรัฐมนตรีก็ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ หมอเสมยังถือเป็นศัลยแพทย์มากฝีมือ ที่สามารถผ่าตัดแยกแฝดสยาม คือ คู่แฝดวันดี และศรีจันทร์ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2499 ในสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญนัก แต่หลังการผ่าตัดเพียง 10 วัน คนหนึ่งก็เสียชีวิตไปจากภาวะโรคแทรกซ้อน แต่ต่อมาก็ทำการผ่าตัดแยกแฝดสยามอีกราย คือ คู่แฝดหญิง ปราจีน และบุรี เป็นผลสำเร็จ และใช้ชีวิตได้ตามปกติจนถึงปัจจุบันนี้ ช่วงระยะ เวลาที่ผ่านมา หมอเสมไม่ได้ว่างเว้นจากการทำงานเพื่อสังคมเลย
   กระทั่งเกษียณอายุราชการก็ยังดำเนินการมาตลอด แม้อายุเข้าสู่วัย 80 ปี ยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่ง อาทิ เป็นประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 มี.ค.2525 เป็นประธานมูลนิธิหมอชาวบ้าน ที่มุ่งเน้นการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และรณรงค์เรื่องนมแม่ เป็นประธานมูลนิธิเสม พริ้งพวงแก้ว ประธานมูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย ประธานมูลนิธิเด็ก และประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ประธานมูลนิธิหทัยมูลนิธิ และมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช เป็นต้น วัน ที่ 31 พ.ค. หลังจากมีอายุครบ 100 ปี ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 หมอเสมได้เสียชีวิตอย่างสงบที่โรงพยาบาลราชวิถี ด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต จึงขอไว้อาลัยปูชนียบุคคลท่านนี้. หน้า: 8(ล่าง)Ad Value: 94,280 PRValue (x3): 282,840 20110712_1065_OTH_Post Today

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  36589

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง