webmaster's News

สธ.สระแก้วขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ



สธ.สระแก้วขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ



บ้านเมือง ฉบับวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555


สระแก้ว/ นายสมเกียรติ ภู่ธรรมศิริ ผู้ประสานงานสุขภาพจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันดำเนินโครงการการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาพของ คนไทย โดยการพัฒนาสถานะสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนรวมถึงผู้หนีภัย การสู้รบ และผู้อพยพชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเล็งเห็นว่าช่องว่างหนึ่งที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของงานสาธารณสุข ไทยคือ ประเด็นสุขภาพในพื้นที่ชายแดนซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย ทั้งต่างเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม, มีการเคลื่อนย้ายของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน,ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ห่าง ไกลเข้าถึงยาก ฯลฯ


ดังนั้นจึงต้องมีแนวทางการจัดการกับปัญหา สาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนที่เฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ ซึ่งโครงการได้มองว่าการใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ สามารถใช้พัฒนานโยบายในการแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนอย่างมีส่วนร่วม จากหลายภาคส่วนได้


น.พ.อัษฎางค์ รวยอาจิน สาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ผู้ร่วมดำเนินโครงการในพื้นที่คือ สานักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ได้ดำเนินการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่จังหวัดของตนซึ่งได้รับความกรุณาจาก สนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ร่วมกันออกแบบกระบวนการในจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดข้างเคียง นอกจากนั้นในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจบโครงการในปีแรกนั้น ทีมของ สปพ. และผู้แทนสมัชชาระดับจังหวัดยังได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการ ทาสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัดในแต่ละปี เพื่อให้แนวทางในการทำสมัชชาสุขภาพในปีต่อไปอีกด้วย


การหารือ แนวทางการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการพัฒนาความมั่นคงทางสุขภาพ ของคนไทย โดยการพัฒนาสถานะสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนรวมถึงผู้หนีภัย การสู้รบและผู้อพยพเข้าอาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องจัดกระบวนการนำไปสู่การอยู่ร่วมกันแบบมีมนุษยธรรมและการจัดกาทรัพยากร ร่วมทั้งคนไทยและผู้อพยพโดยขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายต้องเคลื่อนด้วยข้อมูล ทางวิชาการ ข้อมูลเชิงประจักษ์งานวิจัย ฯลฯ เพื่อนำเสนอเป็นข้อสรุปต่อผู้กำหนดนโยบาย และนอกจากนั้นการก้าวสู่ประชาคม


ASEAN ก็ถือเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงการเอื้อให้ผู้กำหนดนโยบายสาธารณสุขต้อง พิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบทางสาธารณสุขที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม สร้างกลไกการขับเคลื่อนประเด็นให้เป็นรูปธรรมในระดับพื้นที่ระดับนี้สามารถ ทำไปพร้อมกันแบบคู่ขนานได้ ต้องมีการกำหนดประเด็นตามปัญหาและบริบทในพื้นที่ให้ชัดเจน และกระบวนการสมัชชาสุขภาพนั้นก็จะต้องมีส่วนร่วมโดยทุกๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


ซึ่งเวทีในแต่ละครั้งนั้นต้องทำอย่างต่อ เนื่องและเป็นระบบหลังจากนั้นข้อสรุปที่ได้จากสมัชชาสุขภาพก็จะนำไปทำเป็น ข้อเสนอเชิงนโยบาย และดำเนินการผลักดันข้อเสนอโดยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมารับผิดชอบนำไปขับ เคลื่อนและติดตามผลต่อไปจัดประชุมเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหา สาธารณสุขชายแดนโดยต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการ และข้อเสนอร่วมจากจังหวัดนำร่องการประมวลให้เป็นข้อเสนอร่วมกลางเพื่อผลัก ดันข้อเสนอไปยังภาคสังคมและผู้กำหนดนโยบาย จัดเวทีสมัชชาสุขภาพในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์พื้นที่ของตน นอกจากนี้ในที่ประชุมได้มีการหารือในเรื่องการนำประเด็นนี้เข้าสู่สมัชชา สุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 โดยมี WHO เป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งนัดหมายประชุมพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายครั้งต่อไปวันที่ 28 มีนาคม 2555 ณ สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี เวลา 09.30-14.30 น.


Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  20th Apr 12

จำนวนผู้ชม:  36115

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  1

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

Thailand Web Stat