Sub Navigation Links

webmaster's News

ผู้ป่วยจิตเวช20%เสี่ยงก่อรุนแรงเตรียมปรับแก้ก.ม.ผู้ป่วยรับบริการเท่าเทียม



ผู้ป่วยจิตเวช20%เสี่ยงก่อรุนแรงเตรียมปรับแก้ก.ม.ผู้ป่วยรับบริการเท่าเทียม



สธ.เผยยอดผู้ป่วยจิตเวชมีราว 6 แสนคน ร้อยละ 20 มีอาการที่เสี่ยงก่อความรุนแรง รองนายกฯ เผยเตรียมปรับแก้กฎหมายสุขภาพจิตหวังเปิดโอกาสผู้ป่วยได้รับบริการอย่างเท่าเทียม
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่กรมสุขภาพจิต นายยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กล่าวในการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติครั้งที่ 1/2557 ว่า การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตจำเป็นต้องมีการปรับปรุง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 เพื่อให้การทำงานรอบด้านมากขึ้น เบื้องต้นได้เน้นย้ำในเรื่องการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของสิทธิในการบำบัดรักษาผู้ป่วย

 เช่น กรณีสิทธิประกันสังคม (สปส.) เดิมทีไม่คุ้มครองผู้พยายามฆ่าตัวตาย แต่ล่าสุดให้มีการคุ้มครองแล้ว ซึ่งตรงนี้ได้กำชับว่า ทุกสิทธิจะต้องให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าอยู่สิทธิไหน รวมทั้งกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสิทธิ โดยไม่มีสถานะ หรือไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งเกิดจากการจำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร รวมไปถึงคนชายขอบ คนไร้สถานะ คนต่างด้าว ทั้งหมดประมาณ 4 แสนคน จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทั่วถึง

“หน่วยงานไหนจะมาดูแลระหว่างกรมสุขภาพจิต กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ก็ต้องมาหารืออีกครั้ง ซึ่งในการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีการนำเข้าการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตฯ อีกครั้งในเดือนมกราคม 2558 เพื่อพิจารณารายละเอียดต่างๆ ต่อไป” นายยงยุทธ กล่าว

ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ป่วยจิตเวชมีประมาณ 6 แสนคน โดยร้อยละ 20 มีอาการที่เสี่ยงก่อความรุนแรงได้ จนเกิดความกังวลว่าจะทำอย่างไรในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เนื่องจากผู้ป่วยจิตเวช ส่วนหนึ่งเมื่อเข้ารับการรักษาจนหาย แต่ถ้าไม่มีการเฝ้าระวังหรือติดตามอย่างใกล้ชิดย่อมมีโอกาสกลับมาป่วยซ้ำ และมีอาการรุนแรงขึ้นจนก่อคดีเหมือนที่เป็นข่าว การปรับปรุง พ.ร.บ.สุขภาพจิตฯ จะเน้นทำงานเชิงรุก ป้องกันปัญหา

อาทิ การเปิดโอกาสให้พนักงานเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตมีสิทธิตามกฎหมายเข้าไปรับตัวผู้ป่วยในบ้านพัก หรือในสถานที่ส่วนตัวได้ทันทีโดยไม่ผิดกฎหมาย หากกรณีที่พบว่าผู้ป่วยรายนั้นมีอาการทางจิตที่สุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรงแก่สังคม ซึ่งปัจจุบันพนักงานเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตมีประมาณ 6,590 คนทั่วประเทศที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว

“ทางกรมอยู่ระหว่างพัฒนาข้อมูลในการติดตามตัวเฉพาะราย เพื่อติดตามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยจะเป็นความลับระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งเรื่องนี้จะมีประโยชน์ในแง่การเฝ้าระวังและป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้” พญ.พรรณพิมล กล่าว

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  12th Nov 14

จำนวนผู้ชม:  34889

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง