Sub Navigation Links

webmaster's News

15ล.คนเสี่ยง'เครียด-อ้วน-ซึม' ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ-หมดไฟทำงาน



15ล.คนเสี่ยง'เครียด-อ้วน-ซึม' ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ-หมดไฟทำงาน



เป็นห่วงคนไทยใช้ชีวิตทำงาน 40 ชม.ต่อสัปดาห์ ส่งผลร้ายสารพัด เครียด-อ้วน-ซึม-ความดันสูง หมดไฟทำงาน สาเหตุหลักไม่ออกกำลังกาย แนะดูแลตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรมกระทบต่อสุขภาพ

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับกรมสุขภาพจิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือหลักสูตรผู้ปฏิบัติงานในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพวัยทำงาน โดยมี นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ศ.ปานศิริ พันธุ์สุวรรณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ มศว และ ผศ.สร้อยสุดา เกสรทอง รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มธ. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อให้คนวัยทำงานมีพฤติกรรมสุขภาพดีและเพื่อสร้างมาตรฐานการดำเนินงานคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประเทศ

นพ.อรรถพล กล่าวว่า ปัจจุบันมีวัยทำงาน ราว 15 ล้านคน อยู่ในระบบประกันสังคม และส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้หลายคนเกิดภาวะความเครียดสะสม กระทบต่อสุขภาพร่างกายและทำให้เกิดโรคอ้วน เพราะขาดการออกกำลังกายและการกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในผู้หญิง และโรคจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมองตีบและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าอ้วนลงพุงและโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังพบคนวัยทำงานมีแนวโน้มเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ส่วนโรคเครียดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าและวัยทำงานเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด โดยทั้งหมดทำให้เกิดภาระและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก

นพ.สมัย กล่าวว่า ผลกระทบจากพฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานเป็นปัญหาที่ไม่ควรละเลย เพราะเป็นกลุ่มวัยสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้พบคนวัยทำงานทั่วโลก อายุตั้งแต่ 20 กว่าปีขึ้นไป ยังเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ทำให้จิตใจมีสภาพหดหู่ เกิดภาวะวิตกกังวล และนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้น บริษัท องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสร้างแรงจูงใจ ด้วยการส่งเสริมการออกกำลังกาย การบริหารจัดการอารมณ์ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควบคู่กับการลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคได้ เพราะหากมีสุขภาพกายที่ดีก็จะส่งผลกระทบให้มีสุขภาพใจที่ดีเช่นกัน ส่วนโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มจะนำไปสู่ความเสี่ยงฆ่าตัวตายหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย

นพ.อุดม อัศวุตมางกุร ผู้อำนวยการกอง กิจการทางกายภาพ กรมอนามัย กล่าวว่า หลักการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคลินิกยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. คือ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และดูแลทำความสะอาดฟัน เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง โดยพบว่าผู้ที่เข้ารับบริการและนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในชีวิตประจำวันทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคเรื้อรัง นอกจากนี้ ทางคลินิกจะดำเนินงานเชิงรุกในกลุ่มประชาชนทั่วไปให้มากขึ้น



มติชน : มติชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  11th Jul 19

จำนวนผู้ชม:  35575

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง