Sub Navigation Links

webmaster's News

คำถามเรื่องสวัสดิการชุมชน โดย สุทธิธรรม เลขวิวัฒน์



คำถามเรื่องสวัสดิการชุมชน โดย สุทธิธรรม เลขวิวัฒน์



การอยู่ร่วมกันในสังคม ความหลากหลายในการดำรงชีวิต ย่อมมีอยู่แต่จะทำอย่างไรให้ความหลากหลายของเพื่อนมนุษย์อยู่ร่วมกันได้ ในทุกๆด้านจึงเป็นเรื่องที่คนในสังคมต้องมาคิดร่วมกันเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เป็นช่องว่างของคนรวยกับคนจน จากจุดๆเดียวลามปรามไปถึงการแตกแยกและพัฒนาไปสู่สงคราม

ฉะนั้นการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคม ทางความคิดจึงก่อเกิดเป็นทฤษฎี และ เป็นแนวคิดทางการเมือง ตามระบบคิดจากหลายสำนัก คนไทยถ้าจะพัฒนาการเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตย เพื่อการพัฒนาประเทศก็ต้องรู้ว่าความหลากหลายทางหลักคิดนั้นมีอยู่ เช่น เสรีนิยม ทุนนิยมอนุรักษ์นิยม สังคมนิยม (ยังแยกออกเป็น ๒ แนวทาง คือคอมมิวนิสต์กับสังคมนิยมประชาธิปไตย) ทั้งหลายทั้งปวง คนในสังคมย่อมมีสิทธิ์เลือกว่าจะใช้ระบอบการปกครองเช่นไร ไม่ใช่ว่าถ้าไม่คิดเช่นฉันคือความผิด

ความเป็นนักประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องเปิดใจให้กว้างมองเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน เคารพความเป็นคนไม่ว่าจะยากดีมีจนให้คนในทุกกลุ่ม ได้มีโอกาสพูดเรื่องราวของตนเองไม่ใช่ความคิดของเราเท่านั้นคือสิ่งถูกต้องโดยสมบูรณ์

คำว่าสวัสดิการ ถ้าแปลอย่างเราๆท่านๆเข้าใจกันง่ายๆก็คือการให้บริการแก่ผู้คนในสังคม โดยภาครัฐจัดบริการให้โดยทั่วไปจะรู้หรือไม่รู้ รัฐก็จัดทำอยู่แล้ว เช่นการศึกษา สุขภาพการรักษาพยาบาล สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ถนน การระบายน้ำ การจัดการน้ำรายได้ที่นำมาจัดสวัสดิการก็คือเงินจากภาษีการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานเช่นนี้มีการจัดทำกันโดยทั่วไปในทุกประเทศ

แต่สำหรับประเทศที่เรียกว่ารัฐสวัสดิการมักจ ะจัดการดูแลประชาชนในประเทศมากกว่าที่กล่าวมามีการจัดสวัสดิการให้เกิดความมั่นคงในชีวิตของพลเมืองของเขาตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นห่วงเป็นใยพลเมืองในประเทศของตนเอง

แต่เราจะก้าวสู่การจัดระบบสร้างระเบียบ เพื่อขจัดความเหลื่อมทางสังคมอย่างไรเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และ มีความสุขร่วมกันโดยการจัดสวัสดิการในรูปแบบเช่นไร มาถึงตรงนี้เป็นความท้าทายทางหลักคิดที่มีการพูดถึง สวัสดิการชุมชน ที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอต่อไป

สวัสดิการชุมชนคือเรื่องราวที่พี่น้องชาวบ้าน/ชาวชุมชนได้ลุกขึ้นมารวมตัวสะสมเงินกันเองเพื่อการช่วยเหลือกันในรูปแบบที่เริ่มจากการสะสมเงินที่เรียกกันหลายแบบที่เด่ นๆก็คือสัจจะสะสมทรัพย์ เป็นเรื่องราวที่ชาวบ้านนำเงินมารวมกันเมื่อมีใครเดือดร้อนก็มากู้ยืมนำเอาไปใช้สอย การกู้ยืมก็มีการคิดดอกเบี้ยที่เป็นข้อตกลงในหมู่สมาชิก และนำเงินที่เป็นรายได้ในการจัดเก็บดอกเบี้ยมาสู่การบริหารจัดการโดยมีการแบ่งส่วนของรายได้ เป็นเรื่องการบริหารจัดการ ปันผล และ ที่สำคัญคือส่วนหนึ่งจัดเก็บไว้เป็นสวัสดิการ สำหรับสมาชิก

หลักคิดสำคัญของการออมเงินของชุมชนคือการบริหารจัดการกันเองช่วยเหลือกันเองยามทุกข์ยามยากก็ใช้เงินที่สะสมร่วมกันมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่สมาชิก จากการสร้างกองทุนของชาวบ้านพัฒนาไปสู่การจัดสวัสดิการชุมชนที่มีหลักคิดไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่พัฒนา และขยายผลการมีส่วนร่วมของคนในสังคมมากขึ้น และเสนอให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและ สร้างความเป็นธรรมทางสังคม

การแสวงหารูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างสวัสดิการของชุมชนเครือข่ายองค์กรชุมชนจึงได้จัดทำโครงการในการค้นหารูปแบบร่วมกันในลักษณะของการปฏิบัติการร่วม มีการระดมความคิดเห็นสร้างเครือข่ายอย่างหลากหลาย ใช้การปฏิบัติการรองผิดรองถูกเป็นเวลาหลายปีจึงตกผลึกร่วมกัน

สำหรับการจัดสวัสดิการ แนวคิดสวัสดิการของชาวบ้านคือระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองในท้องถิ่น มีรูปแบบวิธีการที่หลากหลายเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย ก่อให้เกิดรายได้ ลดรายจ่าย และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน

การสร้างสวัสดิการชุมชน เบื้องต้นประชาชนต้องเกิดการรวมตัว และต้องลุกขึ้นมาร่วมคิดฟื้นฟูให้มีการจัดสวัสดิการที่ให้เกิดการคุ้มครองทางสังคม เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงขั้นพื้นฐานโดยการพึ่งพาตนเองเป็นหลักการช่วยเหลือกันเองของคนในช ุมชน และสร้างคุณค่าให้กับตนเองที่จะรับการช่วยเหลืออย่างมีศักดิ์ศรี เกิดแนวคิดในการพัฒนาร่วมกันอยู่ร่วมกัน ของคนกับคน ของคนกับธรรมชาติ อย่างเคารพซึ่งกันและกันมีกระบวนคิดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้หลักศาสนาและการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง

การสร้างกองทุนของชุมชนทำอย่างไรจึงจะให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างหลากหลายแนวคิดการสร้างกองทุนของชุมชน จึงเกิดชื่อใหม่ที่คนในชุมชนเรียกว่ากองบุญที่มีหลัดคิดง่ายๆคือคนในชุมชนนำเงินมารวมกัน และนำเงินที่สะสมนั้นมาช่วยเหลือกันในชุมชนแทนที่จะเรียกว่ากองทุนธนาคารชุมชนหรืออื่นๆก็กลายมาเป็นการนำเงินสะสมร่วมกันมาทำบุญให้แก่คนในชุมชนคนมีเงินก็ช่วยคนที่ยากไร้

การมีส่วนร่ วมของคนในชุมชน ทำอย่างไรจะให้โอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วม แนวคิดการสะสมเงินวันละหนึ่งบาทจึงเกิดขึ้น มีผู้นำชุมชนจากจังหวัดลำปางเสนอแนวคิดว่าการสะสมเงินวันละบาท โอกาสของคนจนจะได้เข้าถึงในการมีส่วนร่วมจะง่ายขึ้นเพราะเงินหนึ่งบาทคนยากคนจนในชุมชนพอจะหามาได้และเงินจำนวนหนึ่งบาทเมื่อมารวมกันจำนวนมากและหลายวันการงอกเงยของเงินกองบุญก็จะมากข ึ้น เหมือนกับน้ำซึมบ่อทรายและสุดท้ายหลักคิดข้อนี้จึงนำมาสู่การกระทำและเกิดการปฏิบัติร่วมกันอย่างเป็นจริง โดยใช้พื้นที่เขตเทศบาล และ อบต.เป็นขอบเขตในการบริหารจัดการ

เมื่อหลักคิดแนวทางได้ตกผลึกร่วมกันในระดับหนึ่งแนวทางการปฏิบัติจึงเกิดการเริ่มต้น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๕๐เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้กำหนดเป็นนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนได้มอบให้หน่วยงาน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศโดยใช้พื้นที่ระดับ ตำบล/เทศบาล เป็นขอบเขตของการดูแลจัดการร่วมกัน

เครือข่ายองค์กรชุมชนได้ร่วมกันเรียนรู้อย่างกว้างขวาง จากระดับพื้นที่ตำบล สู่จังหวัด ภาค และ ประเทศ จากนั้นเริ่มจัดตั้งสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ต้นแบบที่มีความพร้อม

การทำงานกับประชาชนในบริบทของคนทั้งประเทศสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ที่ไม่คุ้นชินกับการร่วมคิดร่วมทำจึงไม้ใช่เรื่องง่าย การขยับตัวเป็นไปอย่างเชื่องช้าแต่ผลลัพธ์เกิดขึ้นมาเป็นที่น่าพอใจหลักคิดการจัดสวัสดิการชุมชนได้เกิดขึ้นจากฐานรากสู่ นโยบายสาธารณะที่สังคมได้เกิดการเรียนรู้ รับรู้สู่การปฏิบัติที่เป็นจ ริง จนก่อเกิดเป็นนโยบายของรัฐที่เข้ามาสนับสนุนรับหลักการ และ ลงมือปฏิบัติร่วม พร้อมสนับสนุนงบประมาณและเสนอเป็นนโยบายลงไปถึงระดับท้องถิ่น ให้เกิดการสนับกองทุน (กองบุญ)สวัสดิการชุมชน ซึ่งถึงวันนี้กว่า ๕ปีมาแล้วประชาชนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสวัสดิการชุมชนกว่า ๒ ล้านคนจากยุคแสวงหา สู่ยุคก่อเกิดความร่วมมือ และจะสู่ยุคนโยบายแห่งชาติเพื่อนำไปสู่การขจัดความเหลื่อมสร้างความมั่นคงของคนในชาติได้หรือไม่เป็นความคิดของคนในชาติที่จะต้องมาร่วมกันคิดเพื่อการต่อยอด ที่เรียกว่า “สวัสดิการชุมชน มิใช่รัฐสวัสดิการ” หัวใจที่แตกต่างจากรัฐสวัสดิการ คือผู้คนทั้งแผ่นดินมาร่วมกันจัดสวัสดิการเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำ และสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคม

ความแตกต่างของรัฐสวัสดิการ กับ สวัสดิการชุมชน

รัฐสวัสดิการ คือสวัสดิการที่จัดขึ้นโดยรัฐเหตุผล และการจัดการผู้เขียนได้สรุปไว้ตอนต้นเรื่องและได้เขียนลงรายละเอียดไว้ในเอกสารหลายแห่งและในFB
รัฐสวัสดิการข้อดีคือรัฐห่วงใยในประชาชน ช่วยเสริมความมั่นคง และ ความมั่นใจของคนในชาติช่วยให้ไม่ต้องกังวลถึงปัญหาส่วนตน ในทุกด้านของการดำรงชีวิตแต่จุดอ่อนของรัฐสวัสดิการคือตัวตนของพลเมืองที่ได้รับการบริการจากรัฐที่สำคัญคือพลเมืองที่เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัวรอแต่รับขาดความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งปัญหาเหล่านี้ประเทศที่จัดสวัสดิการโดยรัฐก็ต้องหาทางแก้ไขทั้งด้านกฎหมาย และความสำนึกร่วมของคนในชาติ

ส่วนการจัดสวัสดิการโดยชุมชน เป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความท้าทายที่มีหลักคิดสร้างสำนึกของคนในชาติ ให้ได้เรียนรู้จัดการดูแลซึ่งกันและกันค้นหาต้นทุนศักยภาพในชุมชนของตนเอง ร่วมคิดกับทุกภาคส่วนในท้องถิ่นกำหนดกฎเกณฑ์กติการ่วมกัน

ฉะนั้นการปฏิรูปประเทศไทยครั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักคิดแนวทางเสริมสร้างความมั่นคง ความเสมอภาคการเสริมสร้างประชาธิปไตยโดยผ่าน การปฏิรูปจัดสวัสดิการโดยชุมชนและแน่นอนรัฐต้องมีนโยบายเสริมหนุน ท้องถิ่นร่วมกับชุมชนกำหนด รูปแบบกติกาการเข้าถึงดูแล และจัดการปัญหาร่วมกันในท้องถิ่นทุกคนจะได้เข้าถึงการใช้บริการ และ แก้ปัญหาพลเมืองที่ไร้วินัยไปในตัว

เรียบเรียงจาก ข้อเขียนของคุณสุทธิธรรม เลขวิวัฒน์ บน facebook กลุ่ม นักสานพลัง

ขอบคุณที่มาจาก http://www.samatcha.org/ ( เครือข่ายสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่/ประเด็น)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  17th Jul 14

จำนวนผู้ชม:  35191

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง