Sub Navigation Links

webmaster's News

สปพ.เปิดยุทธศาสตร์เชิงรุก พัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ 12 จว.



สปพ.เปิดยุทธศาสตร์เชิงรุก พัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ 12 จว.



เมื่อวันที่ 1 -2 กรกฎาคม 2558 ที่โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพฯ สำนักสนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) สช. ร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ 11 จัง จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนานโยบายสาธารณะ

เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ระดับจังหวัด: กลไก กระบวนการเครือข่าย และประเด็นสาธารณะของพื้นที่ เพื่อเขียนแผนงานในการจัดกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัดในระยะ

3 เดือน

คุณสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้อำนวยการ สปพ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เน้นการแมปปิ้ง (mapping) คน กลไก เครือข่าย และประเด็นนโยบายสาธารณะของพื้นที่ พร้อมกับการพัฒนากลไกหน่วยเลขานุการ

กิจ (นลส.) เพื่อรองรับสนุบสนุนการขับเคลื่อน โดยทั้งการพัฒนาแผนงานโครงการในระยะต่อไปด้วย ซึ่งการขับเคลื่อนในครั้งนี้จะทำให้การพัฒนากลไกกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมี

ส่วนร่วมครอบคลุมทั่วประเทศหลังจากมีการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 รวม 3 ปี

 

ภายในงานเป็นการเข้าร่วมของ 11 จังหวัด ที่เริ่มต้นพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะ ประกอบไปด้วย จ.กรุงเทพมหานคร จ.ปทุมธานี จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสงคราม จ.อยุธยา จ.สิงห์บุรี จ.นครนายก จ

.เพชรบุรี จ.ตราด จ.ตาก และ จ.สุราษฎร์ธานี ส่วนอีก 1 จังหวัดคือฉะเชิงเทรา ที่เริ่มเขียนแผนไปเรียบร้อยแล้ว โดยมีทีมงาน สปพ. และคณะวิทยากร จัดกระบวนการให้เกิดการร่างโครงการ “พัฒนาศักยภาพ

กลุ่มเครือข่าย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เริ่มจากการให้ผู้เข้าร่วมคิดภาพฝันของระบบสุขภาพภายในจังหวัดร่วมกัน จากนั้นให้แต่ละจังหวัดระดมสมองวิเคราะห์ทุนทางสังคมของ

จังหวัด คน ภาคีเครือข่าย รวมถึงระดมปัญหา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัด จากนั้นจึงเขียนแผนงานอีก 3 เดือนข้างหน้า คือกรกฎาคม – ตุลาคม 2558 นอกจากนี้ในกระบวนการยังดำเนินการให้แต่ละ

จังหวัดได้จัดทำสัญญาไปพร้อมกัน เพื่อให้เครือข่ายสามารถทำงานได้ทันทีหลังจากกลับไปยังพื้นที่

นายเตชิต ชาวบางพรหม ผู้ประสานงานสำนักสนับสนุนปฏิบัติงานพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานนำเสนอ แผนการทำงานปฏิทินแห่งความสำเร็จ สำหรับเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานไปพร้อมกันทั้ง 11 จังหวัดว่า

ให้แต่ละจังหวัดวางกรอบระยะเวลา ในการทำกิจกรรม 4 ส่วนคือ

Slide2

กิจกรรม 1 เดือนกรกฎาคมการพัฒนาศักยภาพ และเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายในจังหวัด 5 เวที โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งจังหวัด พร้อมวิเคราะห์ และเก็บข้อมูลสถานการณ์ ปัญหาภายในจังหวัด

กิจกรรมที่ 2 เดือนสิงหาคม ดำเนินงานวิชาการแบบเป็นระบบ เพื่อจัดระบบการทำงาน ฐานข้อมูลในเชิงความรู้ เพื่อนำไปใช้ต่อในอนาคตได้

กิจกรรมที่ 3 เดือนกันยายน พัฒนากลไกสมัชชาจังหวัด โดยหาเครือข่ายคณะทำงานร่วม อันประกอบไปด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด ควรคัดเลือกผู้ที่มีอำนาจ หรือผู้ทีามีศักยภาพในการ

เคลื่อนงานระดับจังหวัด เพื่อให้งานสามารถตัดสินใจเดินหน้าได้ ประมาณ 20 – 25 คน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร เป็นคณะทำงานตัวจริงเสียงจริง ประมาณ 10 – 15 คน และกลุ่มหน่วยเลขานุการกิจ

สำหรับช่วยทำเอกสาร ช่วยเป็นหลังบ้านดำเนินการเก็บข้อมูล โดยทั้งหมดคัดเลือกคนทั้งภาครัฐ/การเมือง ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม หรือตามหลักแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งเป็นแนวคิดที่พิสูจน์แล้ว

ว่าหากมีสมาชิกครบทั้ง 3 ภาคส่วนนี้ จะสามารถทำให้งานที่ขับเคลื่อนประสบความสำเร็จ

กิจกรรมที่ 4 เดือนตุลาคม ร่วมกันจัดทำแผนงานโครงการสมัชชาสุขภาพจังหวัดปี 2559 สำหรับเขียนงานต่อในปีหน้า

ทั้งนี้ทุกจังหวัดควรหาเครื่องมือการสื่อสารในการทำงานร่วมกัน โดยสรุปเครื่องมือเป็นการใช้โปรแกรมไลน์กลุ่มสำหรับสื่อสาร และเสนอให้ใช้เว็บไซต์ www.areahpp.net เป็นจุดเชื่อมต่อการทำงาน

แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์การเคลื่อนไหวภายในจังหวัด รวมถึงเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน

ท้ายเวที คุณสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ผู้อำนวยการ สปพ. กล่าวเน้นประเด็นสำคัญที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในจังหวัด ประเด็นแรกเรื่องวิธิคิดประเด็นนโยบาย โดยให้มองโจทย์ไกลไปถึง 3 –

5 ปีข้างหน้า ว่ามีสถานการณ์ปัญหาใดที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นในจังหวัด และให้พิจารณาเลือกประเด็นนั้นๆ มาขับเคลื่อน เพื่อสร้างกรอบทิศทางการทำงานนโยบายในระยะยาว หรือหากจะเกิดปัญหาในพื้นที่จะได้มี

แผนการขับเคลื่อนที่รองรับไว้แล้วล่วงหน้า ประการต่อมาคือชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแกนหลักในการขับเคลื่อน การวางแผนเรื่องเวลา และที่

สำคัญคือการจัดการให้เกิดการลงมือทำต่อหลังจากเขียนแผน และต้องเป็นการดำเนินงานโดยคนที่ลงมือเขียนแผนขึ้นมาเอง ไม่ใช่การส่งต่อให้กับคนอื่นที่ไม่ได้เขียน เพราะจะกลายเป็นคนรู้ไม่ได้ทำ คนทำก็ไม่รู้เรื่อง

ทั้งนี้บทบาทในการจัดการคือกลับไปสานพลัง เชื่อมสัมพันธ์ หาคนที่ทำได้มาทำงานร่วมกันในงานที่เราทำไม่ได้ เช่น เราไม่รู้ระเบียบการเงิน ก็ไปหาคนที่รู้เรื่องการเงินมาร่วมกัน ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้งานเกิดผล

โดยคุณสุทธิพงษ์ ยังกล่าวด้วยว่าปัจจัยวัดผลสำเร็จ คือการมีเพื่อนร่วมงานมากขึ้นระหว่างขับเคลื่อนงาน พร้อมให้หลักการบริหารว่า ถ้าจะทำอะไร ให้รีบทำ และเหลือเวลาช่วงท้ายไว้แก้ปัญหา ไม่ใช่เริ่มทำในเวลา

จวนตัว

“หนึ่งคนเดินร้อยก้าว ไม่เท่าคนร้อยเดินก้าวเดียว วันนี้อยากจะต่อว่า อย่าถามหาก้าวที่ร้อย ถัายังไม่ได้เดินก้าวแรก วันนี้เราจะเดินไปพร้อมๆ กัน เราจะไม่ทิ้งใคร ยกว่าใครจะทิ้งกัน กำลังใจ และการมองเห็นย่าง

ก้าวของเพื่อจะทำให้เราพากันไป เป็นการทำงานแบบใช้เงื่อนไขทางสังคมพากันไป มีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ เรากำลังจะสร้างคุณภาพใหม่ให้กับสังคม ดังนั้นเราต้องไม่ติดเรื่องเล็ก น้อย กับดักเหล่านี้จะทำให้

เราทำเรื่องใหญ่ไม่ได้ พวกเราต้องพากันข้ามไป“

สำหรับการนัดหมายครั้งถัดไป ในที่ประชุมสรุปว่าจะเป็นการนำเสนอความคืบหน้าโครงการในช่วงกลางเดือนกันยายน และประชุมสรุปงานอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนหลังจากจบโครงการ

โดย วีราภรณ์ ประสพรัตนสุข
ภาพและข้อมูลจาก http://www.samatcha.org/areahpp

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  4th Aug 15

จำนวนผู้ชม:  34861

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง