Sub Navigation Links

webmaster's News

7.การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ



7.การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ



ความสำคัญของปัญหา

พื้น 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบนมักเกิดปัญหาหมอกควันที่เป็นอันตรายสุขภาพในช่วงก.พ.-เม.ย.ของทุกปี จากการสำรวจพบอัตราผู้ป่วยกลุ่มโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กมีจำนวนมากเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด และดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) อยู่ในเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
หมอกควันมาจากแหล่งสำคัญ  4 แหล่ง ได้แก่ 1. ไฟป่าตามธรรมชาติ 2. การเผาป่าหรือเผาเศษพืช เพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด  3. ฝุ่นละอองจากพื้นที่เขตเมืองและอุตสาหกรรม รวมถึงโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล   4. หมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อบ้านพม่า ลาว และทางใต้ของประเทศจีน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก   

สถานการณ์และแนวโน้ม
จากงานวิจัยของนักวิชาการด้านสุขภาพในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนจากหลายสถาบัน ชี้ให้เห็นว่าปัญหาหมอกควันมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจและหลอดเลือดของประชาชนในภาคเหนือที่มีค่าสูงกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ และประชาชนในพื้นที่ชนบทมีความเสี่ยงสูงกว่าประชาชนทั่วไปจากพฤติกรรมการเผาไหม้ในกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การดำเนินงานที่ผ่านมา ยังขาดความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดแรงจูงใจในการแก้ไขปัญหาและลด ละ เลิก การเผาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งขาดการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุดและไม่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
นอกจากนั้น ยังไม่มีกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับชุมชนมีสิทธิและหน้าที่ดูแลรักษาป่าอย่างเป็นระบบ ทำให้ขาดแผนการจัดการไฟป่าระหว่างชุมชนร่วมกับรัฐอย่างเหมาะสม อีกทั้งเกิดปัญหาการซ้อนทับระหว่างที่ทำกินของประชาชนกับการประกาศเป็นพื้นที่ป่าของรัฐจำนวนมาก เป็นเหตุพื้นฐานทำให้รัฐไม่สามารถดำเนินการควบคุมป้องกันการบุกรุกป่าเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดการบุกรุกเพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก เป็นเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าและหมอกควัน

แนวทางการส่งเสริม
สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน  เป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา  การจัดทำแผนการแก้ปัญหาหมอกควันในระดับพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข  ร่วมดำเนินงานจัดทำ
การเร่งแก้ปัญหาเกี่ยวกับการขยายพื้นที่เพาะปลูกเนื่องจากระบบ คอนแทร็กฟาร์มิ่งหรือเกษตรพันธสัญญา(Contract Farming) ระหว่างชาวบ้นกับบริษัทขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างมาก   
นอกจากนั้น ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างกลไกคณะกรรมการไฟป่าและหมอกควันแห่งชาติ  ให้มีองค์ประกอบที่มีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น และตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายและนโยบาย เพื่อสามารถข้ามพ้นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา ผลักดันแนวทางการใช้ค่าชดเชยต่อระบบนิเวศน์(PES), นโยบายป่าชุมชน และการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่า ให้แล้วเสร็จภายใน ปี 2557 มุ่งแก้ปัญหาจากต้นเหตุหลัก คือการเผาป่าและขยายพื้นที่เกษตร โดยช่วงแรกควรมุ่งเน้นให้เกิดรูปธรรมในภาคเหนือตอนบนก่อน แล้วขยายผลจากความสำเร็จไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ 

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  36858

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง