Sub Navigation Links

webmaster's News

5.การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA)



5.การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA)



ความสำคัญของปัญหา

ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญของภาครัฐ ในการพิจารณาโครงการลงทุนที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
ที่ผ่านมามี พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ.2518  ต่อมารัฐธรรมนูญปี 2540 เพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบโครงการลงทุนภาครัฐหรือเอกชนที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชน ล่าสุดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติให้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงจะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือEIA (Environmental  Impact Assessment ) 35 ประเภท และการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA (Environmental & Health Impact Assessment : EHIA) กรณีโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง 11  ประเภท
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของระบบEIAและEHIAที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาหลายด้าน จนไม่สามารถเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพต่อการจัดการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและลดความขัดแย้งระหว่างภาคส่วนต่างๆได้ตามเจตนารมย์และวัตถุประสงค์

สถานการณ์และแนวโน้ม
      

ปัญหาที่เกิดขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง สะท้อนให้เห็นการทำ  EIA และ EHIA ในปัจจุบัน เป็นเพียงการวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะระดับโครงการหรือกิจการเท่านั้น ยังขาดการศึกษาศักยภาพในการรองรับของพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งต่อชุมชนทั้งในพื้นที่และโดยรอบ
ที่ผ่านมาการจัดเวทีเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) กลายเป็นเพียงรูปแบบพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ยังขาดความโปร่งใสของการดำเนินการ ขาดการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการที่ครบถ้วน สุดท้ายไม่มีความไว้ใจและเชื่อถือของประชาชน เช่น กรณีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหินกรูด-บ่อนอก ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
           เนื้อหาของกฎหมายที่บังคับใช้อยู่มีความล้าสมัยและการดำเนินการยังไม่สัมพันธ์กัน เช่น เมื่อ EIA และ EHIA ยังไม่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอน กลับมีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมตามขั้นตอนของกฎหมายอื่นไปล่วงหน้า เช่น กฎหมายผังเมือง พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กฎหมายด้านการก่อสร้างอาคาร เป็นต้น
             อีกทั้งยังมีช่องโหว่ให้เจ้าของโครงการสามารถหลีกเลี่ยงการทำรายงานผลกระทบได้ โดยลดกำลังการผลิต ลดขนาดพื้นที่หรือโครงการให้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องจัดทำรายงาน   
             ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม (สผ.) อยู่ในภาวะขาดแคลนนักวิชาการส่งผลถึงการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆที่ระบุไว้ในรายงาน EIA และ EHIAไม่ทั่วถึง ทำให้โครงการจำนวนมากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
ปัญหาเหล่านี้หากไม่เร่งแก้ไขจะเกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

แนวทางการส่งเสริม
กำหนดให้มีการจัดทำรายงาน "การประเมินสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์" (Strategic Environmental Assessment : SEA) และมีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยเชื่อมโยงการจัดทำ SEA กับการทำ EIAและEHIA
            รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้มุ่งเน้นผลลัพท์มากขึ้น และกำหนดให้มีการออกใบรับรอง (Certificate) ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วม มีนักวิชาการที่เป็นตัวแทนของชุมชนเพื่อช่วยเหลือและอ่านวิเคราะห์เอกสารรายงานให้ผู้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ  
กำหนดระยะเวลาที่สามารถนำรายงาน  EIA และ EHIA ไปใช้ได้ไม่เกิน 5 ปี และควรมีการปรับปรุงบัญชีรายการโครงการหรือประเภทกิจาร ที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพทุกๆ 2 ปี
เจ้าของโครงการที่จัดทำEIAหรือEHIA ควรจัดเวทีเพื่อนำผลการปฏิบัติตามมาตรการทุก 6 เดือน โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคประชาชน หน่วยงานที่อนุมัติ อนุญาต และนักวิชาการในพื้นที่เข้าร่วมตรวจสอบ รวมถึงการตั้งคณะกรรมการพหุภาคี ในโครงการขนาดใหญ่และมีความขัดแย้งสูงเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ และการกระจายอำนาจ การติดตามไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม  และมีการเก็บภาษีจากโครงการที่ต้องจัดทำ EIA และ EHIAไปให้กับท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีงบประมาณดำเนินงานที่เพียงพอและจูงใจต่อการดำเนินงาน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  6th Dec 12

จำนวนผู้ชม:  37220

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง