Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ คุณหมอขอบอก: รู้จักการ 'นวดกล่อมท้อง' ในหญิงตั้งครรภ์



คอลัมน์ คุณหมอขอบอก: รู้จักการ 'นวดกล่อมท้อง' ในหญิงตั้งครรภ์



เป็นเรื่องปกติ เมื่อมีการตั้งครรภ์ สภาพร่างกายของผู้หญิงก็จะมีการเปลี่ยนแปลง การที่ต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดการ เมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดเอวได้ ซึ่ง พญ.ชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ ประจำ รพ.พิจิตร ก็ได้ออกมาบอกว่าไม่ได้ห้ามหากจะนวดเบา ๆ ที่หลัง ย้ำว่าเบา ๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการ "นวดในหญิงตั้งครรภ์" นั้นนพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองโฆษกกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริง โดยเรียกว่าการ "นวดกล่อมท้อง" เพื่อให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่ากลับหัวเตรียมคลอด

ซึ่งในอดีต ทำโดยกลุ่ม "หมอตำแย" "หมอพื้นบ้าน" แต่ปัจจุบันต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ขั้นสูงจนขึ้นชั้นเป็น "แพทย์แผนไทย" และดำเนินการภายใต้สถานพยาบาลจริง ๆ ไม่ใช่ร้านนวดธรรมดา

"ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นั้นจะ ห้ามทำการนวดเลย เพราะการนวดจะกระตุ้นให้มดลูกรัดตัว เสี่ยงแท้งลูกได้ แต่หากเกิดอาการเจ็บป่วยและจำเป็นต้องนวดจริง ๆ ต้องไปนวดกับหมอแผนไทย อย่านวดตามร้านทั่วไป

ด้าน พท.ปิยะมาพร วงษ์เชื้ออภัย แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลการแพทย์และการแพทย์ผสมผสาน ได้สาธิตการ "นวดกล่อมท้อง" พร้อมอธิบายว่า "นวดกล่อมท้อง" จะให้บริการใน หญิงตั้งครรภ์ช่วงใกล้คลอด เพื่อช่วยให้ทารก อยู่ในท่ากลับหัวเตรียมคลอด และช่วยลดความเครียดและความเจ็บปวดของหญิงตั้งครรภ์ในช่วงก่อนคลอดได้

สำหรับวิธีการนั้น จะต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากพบว่าสามารถทำการนวดได้ก็จะลงมือ นวดอย่างเบามือ บริเวณรอบ ๆ ครรภ์ หน้าขา และหากสามารถพลิกตัวได้ก็จะตะแคงและนวด บริเวณด้านหลัง โดยใช้เวลาในการนวด นานประมาณ 15-20 นาที หรืออาจถึง 30 นาที ซึ่งย้ำว่า ทั้งหมดต้องทำอย่างเบามือ

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการนำมาให้บริการในหลายโรงพยาบาลที่มีคลินิกการแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถนวดได้ทั้งวันเว้นวัน หรือวันเว้น สองวัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับช่วงครรภ์อ่อน ๆ 3 เดือนแรก ไม่ควรทำการนวด แต่หากอายุครรภ์มากขึ้นแล้วรู้สึกมีอาการปวดเมื่อยมาก ๆ ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน สามารถรับบริการจากแพทย์แผนไทยได้ ซึ่ง อาจใช้วิธีการ "นวดประคบสมุนไพร" ทดแทนการนวด ซึ่งมีความปลอดภัยสูง โดยสูตรในการนวดประคบ ก็เป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องของการคลายกล้ามเนื้อเหมือนในคนทั่ว ๆ ไป เช่น ไพล ใบมะกรูด มะขาม ขมิ้น พิมเสน เป็นต้น

"การตั้งครรภ์" ไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บ แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง ดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด เนื่องจากระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ฮอร์โมนต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจะทำอะไร ๆ กับร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ


ที่มา : อภิวรรณ เสาเวียง
            เดลินิวส์

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  29th Mar 19

จำนวนผู้ชม:  35804

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง