Sub Navigation Links

webmaster's News

กลิ่น'กาสะลอง'มีสรรพคุณยา



กลิ่น'กาสะลอง'มีสรรพคุณยา



ช่วยขยาย'หลอดลม-แก้หืด'

กรมการแพทย์แผนไทยเผยสรรพคุณ'ดอกกาสะลอง' หรือ 'ดอกปีบ' มีสารสำคัญออกฤทธิ์ขยายหลอดลม สามารถบรรเทาอาการกำเริบของคนเป็นหอบหืดได้ แถมวิธีการนำมาใช้ง่ายทำเองได้

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม นพ.สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากกระแสละครดังกลิ่นกาสะลองที่มีผู้ติดตามชมจำนวนมาก ล่าสุด กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้เสนอองค์ความรู้เรื่องสมุนไพรเกี่ยวกับดอกกาสะลอง หรือดอกปีบ ตามชื่อของตัวเกี่ยวกับดอกกาสะลอง หรือดอกปีบ ตามชื่อของตัวละคร ซึ่งพบว่าดอกไม้ดังกล่าวมีสรรพคุณตามตำรายาไทย ที่ระบุว่า มีกลิ่นหอม รสหวานขม ช่วยขยายหลอดลม บรรเทาอาการโรคหอบหืด ซึ่งเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ซึ่งเกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้นจากการอักเสบหรือบวมของหลอดลมด้วยการถูกกระตุ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น กรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย การติดเชื้อ และมลภาวะของสิ่งแวดล้อม ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

นพ.สรรพงศ์กล่าวว่า มีการศึกษาองค์ประกอบ ทางเคมีของดอกกาสะลอง หรือดอกปีบ พบว่า มีสารสำคัญ คือ hispidulin และ hortensin ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลมบรรเทาอาการโรคหืดได้ ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านนำดอกปีบมาใช้บรรเทาอาการหอบหืดโดยวิธีสุมยา

"ทั้งนี้ การสุมยา หมายถึง การสูดดมไอระเหยของสมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะผ่านไอน้ำ โดยก้มหน้าอังไอน้ำในภาชนะแล้วเอาผ้าคลุมศีรษะ สำหรับวิธีทำ คือ นำดอกปีบประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ใส่ลงในกะละมังที่ทนความร้อน ใส่หอมแดงทุบพอแตก 2 หัว ผิวมะกรูด 1 ลูก ใส่น้ำร้อนให้ท่วม หาภาชนะมาปิดประมาณ 3 นาที นำผ้าชุบน้ำพอหมาดคลุมศีรษะ จากนั้นค่อยๆ เปิดภาชนะ ก้มศีรษะสูดไอน้ำสมุนไพรในกะละมัง 5 นาที หรือจนกว่ากลิ่นจะหมด อาการหอบหืดจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ" นพ.สรรพงศ์กล่าว และว่า นอกจากการสุมยาดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยโรคหืดควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ฯลฯ

นพ.สรรพงศ์กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหืด โดยบูรณาการร่วมกันทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย เพื่อช่วยบรรเทาอาการและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากประชาชนรายใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งที่มีการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย หรือกรมการแพทย์แผนไทยฯ โทร 0-2149 -5678



ที่มา : มติชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  4th Aug 19

จำนวนผู้ชม:  36319

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง