Sub Navigation Links

webmaster's News

ดัน'อีสปอร์ต'สู่สมัชชาสุขภาพปี61



ดัน'อีสปอร์ต'สู่สมัชชาสุขภาพปี61



นพ.กิจจา เรืองไทย ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(คจ.สช.)พ.ศ.2561-2562 กล่าวว่า ที่ประชุม คจ.สช. ซึ่งได้มีการเห็นชอบแนวคิดหลัก สำหรับเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่11 ที่จะจัดขึ้นในเดือนธ.ค.2561 โดยใช้ชื่อว่า รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ นั้น ขณะนี้ได้เห็นชอบประเด็น"อีสปอร์ตกับสุขภาวะ" เป็นระเบียบวาระที่ 3 ของการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 หลังจากที่มีการประกาศระเบียบวาระไปก่อนหน้านี้แล้ว 2 ประเด็น ได้แก่1.ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Health Literacy for NCDs)และ 2.การพัฒนา พื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาอย่างยั่งยืน:เขตเมือง โดยระเบียบวาระต่างๆ จะนำไปใช้กำหนดกิจกรรมต่างๆ ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้สอดคล้องกันต่อไป

ทั้งนี้ ข้อมูลจากInteractive Game & Entertainment Association (IGEA)ประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้เล่นเกมทั่วโลกกว่า 1,200 ล้านคน โดยมี 700 ล้านคนเล่นเกมออนไลน์ และ205 ล้านคนเป็นผู้ชม อีสปอร์ต ส่วนใหญ่อายุ 18-34 ปี

นพ.กิจจา กล่าวต่อว่า ที่ประชุม คจ.สช.ตระหนักถึงผลกระทบจากการส่งเสริมอีสปอร์ต ซึ่งก็คือการแข่งขันวีดิโอเกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นมากกว่า 1 คนเพื่อชิงเงินรางวัล ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.)ได้ประกาศให้ อีสปอร์ตเป็นกีฬาแล้ว เมื่อเดือนก.ค.2560  "หวังว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการทำให้สาธารณะรู้เท่าทันอีสปอร์ต ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะด้านลบ ทั้งเรื่อง ของสุขภาพกาย และจิตใจ ต่อการใช้ชีวิตของกลุ่มเด็กและเยาวชน  การดำเนินการ ครั้งนี้จะเป็นการสานพลังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เด็ก เยาวชน และภาคประชาสังคมร่วมหาทางออกเพื่อให้มตินี้นำไปปฏิบัติได้จริง" นพ.กิจจา กล่าว

นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันอีสปอร์ตกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง มีเด็กและเยาวชนเข้ามาเล่นจำนวนมาก โรงเรียนหลายแห่งจัดตั้งชมรมอีปอร์ต มหาวิทยาลัยก็จัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ จึงมีเด็กเยาวชนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะเข้าสู่เส้นทาง อีสปอร์ตทั้งในฐานะผู้เล่นและนักพากย์เกม(Game Caster)

"การขับเคลื่อนในเรื่องนี้ควรมีเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม และต้องไม่ใช้มุมมองผู้ใหญ่แบบเดิมๆ มาเป็นพื้นฐาน แต่ต้องใช้ชุดความคิดใหม่พูดคุยหาทางออกร่วมกัน ดึงทุกภาคส่วน มาร่วมหารือ โดยเฉพาะสมาคมกีฬา อีสปอร์ตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลด้านเทคนิคและผลักดัน ให้นำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติ" นางอรพรรณ กล่าว

รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ รองประธาน คจ.สช.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ กล่าวว่า อีสปอร์ตจำเป็นต้องมีแนวทางในการดูแล โดยเฉพาะเกมที่ไม่สร้างสรรค์และมีการพนันออนไลน์แฝงอยู่ ขณะที่สังคมยังรับรู้น้อยมาก ต้องสื่อสารผลบวกและลบอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพจากการอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการสมัชชาสุขภาพจะเป็นช่องทางกระตุกเตือนสังคมได้

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีผลงานวิจัย ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการเล่มเกมคอมพิวเตอร์มีแต่การต่อสู้เพื่อชัยชนะ และทำให้เด็กใช้เวลาเล่นหลายชั่วโมง ต่อวัน นำไปสู่ภาวะการติดเกม ซึ่งจะมี ผลร้ายต่อสมองเด็ก เป็นผลให้พลเมืองไทย ขาดทั้งการคิดวิเคราะห์และการควบคุมตนเอง มีผลไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  7th Aug 18

จำนวนผู้ชม:  35519

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 พ.ศ.2561

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง