Sub Navigation Links

webmaster's News

การประชุมนานาชาติออนไลน์ (Webinar) ภายใต้หัวข้อเรื่อง Civil Society Participation in the COVID 19 Response



การประชุมนานาชาติออนไลน์ (Webinar) ภายใต้หัวข้อเรื่อง Civil Society Participation in the COVID 19 Response



สรุปการประชุม CSEM Discussion on Civil Society Participation in the COVID 19
21 เมษายน พ.ศ.2563, Webinar – Zoom, 18.00-19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย
จัดทำโดย กลุ่มงานความร่วมมือระหว่างประเทศ (กป.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 23 เมษายน 2563

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2563 เวลา 18.00-19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย เครือข่าย Civil Society Engagement Mechanism (CSEM) of UHC2030 ร่วมกับ Social Participation Technical Network (SPTN) จัดการประชุมนานาชาติออนไลน์ (Webinar) ภายใต้หัวข้อเรื่อง Civil Society Participation in the COVID 19 Response โดยมีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกกว่า 100 คน

เป้าหมายของการประชุมในครั้งนี้เพื่อหารือและยกระดับบทบาทของภาคประชาสังคม ในการรับมือและร่วมแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 กับภาครัฐ  ในการประชุมครั้งนี้มีคุณ Justin Koonin ประธานองค์กร ACON ประเทศออสเตรเลีย และเป็นสมาชิก CSEM เป็นผู้ดำเนินรายการ และได้วิทยากร 3 ท่าน จาก 3 ทวีปมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้แก่ คุณ Robert Yates กรรมการบริหารจาก Centre for Universal Health at Chatham House ประเทศอังกฤษ คุณ Evalin Karijo ผู้อำนวยการ Y-ACT, Youth in Action จากประเทศเคนยา และ นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จากประเทศไทย

ผลสำรวจออนไลน์เรื่อง Civil Society Participation in the COVID-19 Response

เครือข่าย CSEM ได้จัดทำการสำรวจออนไลน์เรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ปัญหาไวรัสโควิด-19 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 175 คนจาก 56 ประเทศ ทั้งจากทวีปแอฟริกา เอเชีย ยุโรป ละตินอเมริกา และคาริเบียน
ผลสำรวจพบประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้ตอบแบบสอบถาม 99% ซึ่งเป็นภาคประชาสังคม ตอบว่ามีบทบาทในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส แต่เป็นการดำเนินงานแบบอิสระไม่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ หรือเกี่ยวข้องน้อยมาก เช่น การระดมทุน รวมทั้งผลิต และแจกจ่ายหน้ากาก เจลล้างมือ อาหารและน้ำดื่มกับประชาชนผู้เดือดร้อน หรือให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาแก่บุคลากรสาธารณสุขและผู้ที่ถูกกักตัว แต่ก็พบว่ามีบางส่วนทำงานกับภาครัฐ แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ได้รับบทบาทที่สำคัญ เช่น ร่วมเป็นคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโควิด พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจ  จัดทีมเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและระบุจุดเสี่ยง

ความเห็นจากผลสำรวจชี้ว่าหากขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมแล้วนั้น อาจมีผลต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการตรวจคัดกรองของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจะนำไปสู่การแพร่กระจายของไวรัสในวงกว้าง ขาดการกระจายยาและอาหารลงไปยังชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดเครือข่ายทางสังคมที่จะช่วยทำให้เกิดการเฝ้าระวัง การกักกันตนเองอย่างมีคุณภาพในระดับชุมชน ในทางกลับกันหากภาครัฐเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมและเสริมแรงภาครัฐ จะช่วยเรื่องการสื่อสารไปยังชุมชนและเข้าถึงคนได้มากขึ้น และดึงชุมชนกลับมาเป็นแรงช่วยป้องกันการแพร่ระบาดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4 ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด 19

นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จากประเทศไทย กล่าวถึงโครงการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด 19 ว่าเป็นโครงการนี้เป็นการสานพลังจากองค์กรระดับชาติ 12 องค์กรเชื่อมไปยังกลไกในพื้นที่ เพื่อสร้างข้อตกลงร่วม พันธะสัญญา หรือธรรมนูญสุขภาพในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นายแพทย์ปรีดาได้ถอดบทเรียนปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโครงการนี้และสามารถขับเคลื่อนได้ทั้งประเทศ ว่าเกิดจาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยที่ 1 มีนโยยายที่เอื้อให้เกิดการทำงานแบบข้ามภาคส่วน และมีเวทีปรึกษาหารือในทุกระดับอยู่แล้ว ซึ่งในระดับจังหวัดมีสมัชชาสุขภาพจังหวัด ในระดับอำเภอมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และในระดับตำบลมีหลากหลายเวที เช่นสภาพัฒนาองค์กรชุมชน คณะกรรมการธรรมนูญ

ปัจจัยที่ 2 มีกำลังคนทั้งภาครัฐ บุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งภาคประชาสังคมที่เพียงพอและมีความสามารถ ทำงานอยู่ทุกระดับ ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตจึงมีพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือทันที ปัจจัยที่ 3 คือ การมีทรัพยากรในระดับชุมชนที่สามารถนำมาใช้ป้องกันการแพร่ระบาดและแก้ปัญหาวิกฤตจากไวรัสได้ เช่น กองทุนสุขภาพตำบล กองทุนสวัสดิการชุมชน และงบประมาณของท้องถิ่น และปัจจัยสุดท้ายคือรากเหง้าวัฒนธรรมไทยที่เน้นการช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน
บทบาทของเยาวชนในการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัส จากประเทศเคนยา

คุณ Evalin Karijo ผู้อำนวยการ Y-ACT, Youth in Action จากประเทศเคนยา พูดถึงเยาวชนในภาพรวมของแอฟริกาว่าคือประชากรส่วนใหญ่ของทวีปนี้  เยาวชนได้เข้ามามีบทบาทของหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส โดยทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน และรณรงค์สร้างความตระหนักต่อเรื่องนี้ให้กับเยาวชนผ่านกิจกรรมภาพเขียนฝาผนัง บทเพลง จัดตั้งกลุ่มผลิตสบู่ ผ้าปิดจมูก เป็นต้น แต่ในขณะเดียวที่ทุกคนระดมกำลังแก้ปัญหาโควิดอยู่นั้น กลุ่มเยาวชนเองกำลังกลายเป็นกลุ่มที่ถูกหลงลืมไปในสังคม เพราะพวกเขาเข้าถึงบริการสุขภาพพื้นฐานได้น้อยลง โดยเฉพาะเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ เกิดความรุนแรงทางเพศหรือในครอบครัวมากขึ้น และปัญหาเศรษฐกิจ

โควิด-19 คือบททดสอบระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศ

คุณ Robert Yates กรรมการบริหารจาก Centre for Universal Health at Chatham House ประเทศอังกฤษ กล่าวว่าการรับมือกับโควิด 19 นั้น ถือเป็นบททดสอบระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้เราจะมีการระดมสรรพกำลังเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส แต่เราก็ไม่ควรที่จะลืมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ UHC ที่จะเป็นเครื่องมือการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ทั้งนี้คุณโรเบริต์เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ที่ยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้นำเงินบริจาคในการแก้ปัญหาโควิด-19 ส่วนหนึ่งมาพัฒนาระบบระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะจะเห็นได้ว่าหลายประเทศที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถประกาศใช้ในช่วงที่มีวิกฤต เช่น ประเทศไทยประกาศใช้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นประกาศใช้ในช่วงที่มีสงครามโลกครั้งที่ 2 รวันดาที่ลงทุนด้านสุขภาพแม้ประเทศจะยังได้รับผลกระทบจากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  นอกจากนี้ คุณโรเบิร์ตยังเน้นย้ำถึงบทบาทของภาคประชาสังคมที่จะช่วยภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส เช่น ช่วยภาครัฐและภาคีพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลที่ดี มีคุณภาพ เข้าถึงคนทุกกลุ่ม เชื่อมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงโอกาสการรักษาพยาบาล ตรวจสอบและแก้ไขนโยบายที่สร้างความไม่เท่าเทียม ริดรอนสิทธิมนุษยชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  25th Apr 20

จำนวนผู้ชม:  36956

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง