Sub Navigation Links

webmaster's News

แผนพัฒนาชาติต้อง…จัดการระบบน้ำ



แผนพัฒนาชาติต้อง…จัดการระบบน้ำ



โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

          สุภชาติ เล็บนาค เรื่อง “การจัดการน้ำ”ถูก พูดถึงอย่างหนักหน่วงอีกครั้งในวันที่ “น้ำท่วม”จมเมืองแทบทั่วประเทศ ทำให้คนนับแสนคนไม่มีที่อยู่ หลายโครงการที่เคยถูกพูดถึงทุกปีที่เกิดน้ำหลากก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดซ้ำอีก ครั้ง ตั้งแต่การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเรื่อยไปจนถึงขุดคูคลองเชื่อมแม่น้ำ ทั้งระบบ หรือขุดแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แต่แล้วก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้ามากไปกว่าการแจก “ถุงยังชีพ”ให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

          ; ทางคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 101 เรดิโอรีพอร์ต วัน ได้เชิญบุคคลแวดวงเกี่ยวกับการจัดการน้ำมาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันถึงแผน การจัดการน้ำในอนาคต “ปัญหาสำคัญของการจัดการน้ำบ้าน เราคือ ไม่เคยมีเจ้าภาพในการวางแผน และมองปัญหาภาพรวมของทั้งประเทศ เรามีทั้งกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมโยธาธิการและผังเมือง ฯลฯ แต่พอเกิดเหตุการณ์อุทกภัยแต่ละครั้ง ถึงจะมาทำงานร่วมกัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยคุยกันมาก่อนพอเป็นอย่างนี้จะสั่งงานข้ามกันก็ไม่ ได้จะวางแผนแก้ปัญหาระยะยาวก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน” ศรีราชา เจริญพานิชผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาระบุ

          ศรีราชา บอกว่า แม้จะมีการพูดกันมาตลอดว่าจะต้องมี”หน่วยงานกลาง”สักแห่งเข้ามาวางระบบน้ำใน ภาพรวมแต่ก็ยังไม่เคยเกิดขึ้น ตั้งแต่การวางผังการจัดการน้ำใน ภาพรวม การปิด-เปิดประตูระบายน้ำ หรือการขุดอ่างเก็บน้ำโดยให้มีอำนาจเหนือทุกกรมและนักการเมืองท้องถิ่นในขณะ นี้ เพราะลุ่มน้ำอื่นอาจมีอำนาจการเมืองมากกว่าเลยเปิดไม่ได้ “แม้ จะมีกฎหมายผังเมือง แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันไม่เคยเป็นไปตามนั้นเลย หลายที่ที่ถนนหรือสิ่งปลูกสร้างไปขวางทางน้ำ หรือไปสร้างในที่ว่างที่ควรจะเป็นอ่างเก็บน้ำ เพราะมีอิทธิพลอื่นครอบงำผังเมืองได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่วมทีก็ขังนาน เพราะน้ำมันไม่มีที่ไป”

          ศรีราชา ชี้ให้เห็นปัญหา ขณะที่ เสรี ศุภราทิตย์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ก็เห็นสอดคล้องกันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่เคยได้ประสานงานกัน ทำให้ได้เห็นชาวบ้านทะเลาะกันเรื่องคันกั้นน้ำ หรือเรื่องระบายน้ำจากที่นี่ไปท่วมที่อื่น ทั้งที่พอเข้าฤดูน้ำหลากก็สามารถประเมินได้แล้วว่าจะมีน้ำมากหรือไม่ หรือจะทำนาปรังได้หรือไม่ เรื่อยไปจนถึงการสร้างความตื่นตัวของประชาชนหากเกิดภัยพิบัติ

          “เรา ต้องมีแผนว่าหากเกิดภัยพิบัติแล้ว จะเดินไปทางไหนต่อ ไม่ใช่แก้ไปทีละเปลาะ อย่างกรณีประตูระบายน้ำบางโฉมศรีนั้น พอมันพังลง สรรพกำลังทุกอย่างของรัฐไปรวมกันตรงนั้นหมดและพยายามสู้กับน้ำอย่างเดียว ซึ่งผมบอกได้เลยว่าไม่มีทางสู้ได้ ควรจะไปเร่งอพยพคนที่อยู่ใต้ประตูระบายน้ำ หรือหาที่ให้ประชาชนไปอยู่มากกว่า เพราะตอนนี้คนนอนกันข้างถนนเต็มไปหมด”อาจารย์เสรี กล่าว

          วีระ วงศ์แสงนาครองอธิบดีกรมชลประทาน อธิบายว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การจัดการทั้งระบบอย่างเดียว หากแต่ต้องลงไปถึงระดับท้องถิ่นด้วยเพราะทุก อบต.มีปัญหาภัยแล้ง โดยแต่ละปีประเทศไทยไม่ได้ประสบเฉพาะปัญหาน้ำท่วมอย่างเดียว แต่เรื่องภัยแล้งและการไม่มีน้ำสำหรับทำการเกษตรก็บั่นทอนเกษตรกรไทยเช่น เดียวกัน ฉะนั้น หากมีการขุดบ่อหรือกำหนดวัตถุประสงค์โดยให้แต่ละชุมชนควบคุมกันด้วยตัวเองจะ ทำให้เข้าใจขีดความสามารถและเข้าใจตัวปัญหาได้ดีที่สุด โดยไม่ต้องพึ่งทั้งระบบ “ทั้งปีเรามีน้ำประมาณ 8 แสนล้านลูกบาศก์เมตร แต่กลับปล่อยให้ซึมเข้าไปในดิน 6 แสนล้านลูกบาศก์เมตร ที่เหลืออีก 1.5 แสนล้านลูกบาศก์เมตรลงทะเลทุกปี เพราะไม่มีที่เก็บ เมื่อไม่มีที่เก็บน้ำเหล่านี้ก็หายไปเฉยๆ พอเข้าหน้าแล้งน้ำที่เก็บไว้ก็ถูกใช้จนหมด พอช่วงที่มีฝนหรือฤดูน้ำหลากฝนก็เข้ามาเติมเต็มส่วนนี้อีก สุดท้ายก็น้ำท่วม” วีระระบุสภาพปัญหาเดิมๆ

          วีระ บอกว่า การแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมนั้น ต้องมองล่วงหน้าไปถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งด้วย เพราะหากมองปัญหาเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว การชลประทานก็จะล้มเหลว และส่งผลไปถึงการเกษตรกรรมโดยภาพรวม “การแก้ไขปัญหา ‘น้ำท่วม’และ’น้ำแล้ง’ต้องเกิดขึ้นภายใต้พื้นฐานเดียวกันคือกระจายน้ำไปยัง จุดที่ควรจะอยู่ และจัดสรรน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่” วีระ กล่าว

          ขณะที่ อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยานักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำนั้นไม่ได้บรรจุเรื่องการจัดการน้ำเข้าไปเป็นเป้า หมายหลักในการพัฒนาประเทศแต่อย่างใด จึงอาจทำให้โอกาสที่จะปฏิรูปการจัดการน้ำทั้งหมดเป็นไปในรูปแบบเดิม นั่นคือตั้ง รับเมื่อเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้งเท่านั้น “เรา พูดกันตลอดว่า การเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญในระบบเศรษฐกิจ และน้ำเองก็เป็นส่วนที่สำคัญของการเกษตรเมื่อเห็นตรงกันว่ามีปัญหาการจัดการ น้ำก็ ควรบรรจุในแผนฯ ฉบับที่ 11 ไปเลย เพื่อที่การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เกี่ยวกับน้ำทุกโครงการมีทิศทางชัดเจนมาก ขึ้น และจะเป็นแนวทางขององค์กรบูรณาการจัดการน้ำในอนาคตได้อีกด้วย”อดิศร์ ทิ้งท้าย

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35808

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง