สปสช.-กรมสุขภาพจิตขยายไลน์สกัดผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตาย-ซึมเศร้า
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตทาง โทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างกรมสุขภาพจิตและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า กรมสุขภาพจิตร่วมกับโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ประเมินว่ามีผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญทั้ง 8 กลุ่มความผิดปกติทางจิตเวชจากแอลกอฮอล์ ความผิดปกติทางจิตเวชจากสารเสพติดโรคซึมเศร้า โรคจิต ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรมในเด็กโรคลมชัก โรคสมองเสื่อม การทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือประมาณ 10 ล้านคนทั่วประเทศแต่เข้าถึงบริการเพียง 8 แสนคนทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 8
“ที่ผ่านมากรมสุขภาพจิตได้ริเริ่มจัดบริการให้การปรึกษาทางโทรศัพท์ ผ่านสายด่วนสุขภาพจิต (HotLine 1323) ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น352,886 ราย ปัญหาที่พบมากที่สุดเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดย สปสช.ต้องการพัฒนาโครงการบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง ระบบใหม่นี้จะให้บริการต้นปีพ.ศ.2555″
นพ.อภิชัยกล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในแง่สิทธิประโยชน์ในการรับบริการปรึกษาและบริการให้คำปรึกษาเป็นบริการที่ เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบ UC ที่ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น เอชไอวี มะเร็ง สุขภาพกายและสุขภาพ
จิตอยู่แล้ว เช่น ในปัจจุบัน ผู้ป่วยเอชไอวีได้รับบริการให้คำปรึกษาโดยอาสาสมัคร (VCT : Volunteer Counselingand Testing) จากความร่วมมือของ สปสช.และกรมสุขภาพจิตในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนหรือผู้ป่วยระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าสามารถจะเข้าถึง
บริการปรึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้นรวมทั้งยังสามารถที่จะช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายจากโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชอื่นๆ ได้
|