Sub Navigation Links

webmaster's News

การปาฐกถาพิเศษ เรียนรู้ติดดินกินได้ ในงานวิชาการ ๔ ภาค



การปาฐกถาพิเศษ เรียนรู้ติดดินกินได้ ในงานวิชาการ ๔ ภาค



การปาฐกถาพิเศษ เรียนรู้ติดดินกินได้ ในงานวิชาการ ๔ ภาค

บรรยากาศของการจัดเวทีวิชชาการ ๔ ภาครูปธรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น ในหัวข้อ เรื่อง ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ติดดินกินได้ ในตอนนี้ ขอเล่าเรื่องราวในช่วงของการปาฐกฐาพิเศษ ของนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

เมื่อวันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมรามากาเด้นท์ กรุงเทพมหานคร เวทีวิชชาการ ๔ ภาครูปธรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น ในหัวข้อ เรื่อง ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ติดดินกินได้ นั้น ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ สช. ในนามของสมัชชาสุขภาพที่คนรู้จักกัน ได้รวบรวมภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพเกือบทั่วประเทศ ทั้ง ๔ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคอีสาน จำนวนคนเข้าร่วมประมาณกว่า ๑ พันคน หลังจากได้มีกระบวนการถอดบทเรียนแบบเสริมพลังของภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในพื้นที่ชุมชน โดยชุมชนที่เกิดรูปธรรมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น เข้าร่วมแลกเปลี่ยนภายในหัวข้อที่ว่า ชุมชนเป็นสุขเรียนรู้ติดดินกินได้   โดยอาศัยภาษาบ้านๆในการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

ซึ่งในวันนี้จะพาท่านไปพบกับการปาฐกถาพิเศษของท่าน นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และมีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ ติดดี กินได้ ผู้เขียนขอนำเสนอใจความสำคัญของการปาฐกถาพิเศษพอคร่าวๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าถึงเนื้อหาของงานให้ลึกมากขึ้น โดยนพ.วิชัยฯ ได้กล่าวว่า ขอย้อนไปถึงคำพูดปรัชญาของมหาตะมะคาธี ที่ว่า “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ซึ่งมหาตะมะคาธี ได้มีการปลุกให้คนอินเดียได้ลุกขึ้นมาต่อสู้จากการกดขี่ประชาชนอินเดีย ต่อการตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ให้ประชาชนได้ช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้ทุกๆอย่างไม่ถูกครอบงำ ของจักรวรรดิอังกฤษในสมัยนั้น

หลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปิดประเทศในปี 2498 จากสนธิสัญญาเบาว์ริงอังกฤษ ทำให้ประเทศไทยต้องหันมาพัฒนาประเทศด้วยระบบอุตสาหกรรมในช่วงสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมข้าว ตรงกับสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์เป็นผู้นำประเทศในขณะนั้น กว่าร้อยละ ๙๐ % ทำการเกษตรกรข้าวเป็นหลักเพื่อการส่งออก จึงได้มองไปถึงระบบชลประทานที่ดีแก่ชาวบ้าน ทำให้เกิดการผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแห่งแรกของไทย คือเขื่อนชัยนาท ในปี 2499 ใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษ แต่ประเทศไทยก็ยังไปไม่ถึงไหน ซึ่งเรากำหนดตนเองอยู่ในความพอเพียงมาโดยตลอด ดังคำที่ว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง จากแนวทางคำสอนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ ทำให้ขัดต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ จนทำให้คณะการปกครองของท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ มีจดหมายถึงคณะสงฆ์ให้เปลี่ยนคำสอนใหม่ ได้มีการเปลี่ยนมาแล้ว กว่า ๕๐ ปี ในตอน ๒๕๐๐ ต้นๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาของทุนนิยมมาจนทุกวันนี้

นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ได้กล่าวต่อว่า โดยจากหัวข้อที่กำหนดไว้ คือ ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ติดดินกินได้ นั้น เกิดคำถามในแนวนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ ขอยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีที่ดินทำกินเพียง ๑๗ % เท่านั้น แต่ก็มีศักยภาพในการเกษตรเป็นอย่างมาก พื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยอีก แต่ประชาชนมากว่าเราหลายเท่า ย้อนไปสมัยจักรพรรดิเมจิ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ตรงกับรัฐสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์ ปี พ.ศ.๒๓๑๑ ญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาประเทศด้วยระบบอุตสาหกรรมมาโดยตลอดจนมีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งศักยภาพกองกำลังทหารมีการขยายพื้นที่อาณานิคมของตนเข้าสู่จีน รัสเซีย และลงทางใต้มาเลเชีย ฟิลิปปิน เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ทางญี่ปุ่นได้มีการแสดงแสงยานุภาพด้วยการส่งกองกำลังทหารไปยึดประเทศฟิลิปิน ในสมัยจอมพลอาเธอ และมีการรุกรานมาถึงประเทศไทย จนทำให้ประเทศไทยยอมให้ผ่านไปยังประเทศพม่า ต่อมาในปี ๒๔๘๕ ญี่ปุ่นถูกต่อต้านด้วยทหารของพันธมิตรรวมตัวกันต่อสู้กับญี่ปุ่นด้วยการใช้ระเบิดปรมาณูที่ ฮิโรซิม่า ๒ ลูกทำให้ญี่ปุ่นยอมยุติสงครามลงด้วยความพ่ายแพ้ ต่อมาในปี ๒๕๐๔ ญี่ปุ่นได้มีการตระหนักในเรื่องของสุขภาพในระดับก้าวหน้า มีระบบการพึ่งอุตสาหกรรม และพึ่งเกษตรกรรมปราณีต มีการปฏิรูปที่ดินของประเทศ คนที่มีที่ดินต้องเป็นเกษตรกรเท่านั้น รวมทั้งมีการจัดกลุ่มเกษตรกรเป็นสหกรณ์ที่เข้มแข็งมีการต่อรองกับรัฐบาลของเขาได้ ชุมชนของเขาเรียนรู้ติดดินกินได้

ขอยกตัวอย่างอีกหนึ่งประเทศคือประเทศฮ่องกง แต่ก่อนฮ่องกงมีการคอรัปชั่น เป็นปัญหาหนักของคนฮ่องกง ซึ่งมีการคอรัปชั่นทุกส่วนงานต่างๆ ต่อมามีการปราบปรามทุกจริตอย่างจริงจังจนทำให้ฮ่องกงติดอันดับประเทศที่ไม่มีคอรัปชั่นอันดับที่ ๙ ของโลก โดยมีการรณรงค์เรื่องการท่องเที่ยวจนกลายเป็นเสือในเอเชียได้


และอีกหนึ่งตัวอย่าง คือประเทศสิงค์โปร มีเนื้อที่กว่า ๗๐๐ ตารางกิโลเมตร น้อยกว่าเกาะภูเก็ตของไทย ซึ่งมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นหลังมีการถมเกาะมากขึ้น สิ่งที่ทำให้สิงค์โปรรุ่งเรืองคือผู้นำเข้มแข็ง มีการใช้เวลาในการพัฒนาประเทศ ๕๐ ปี ถึงเจริญได้ จนไม่มีวิถีชนบทเลย มีแต่ตัวเมืองทั้งหมด ซึ่งมีแต่ตัวเมืองสิงค์โปรใช้วิธีการจัดการพึ่งพากัน อยู่ด้วยกัน เช่น การสร้างรถไฟฟ้าของสิงค์โปร จะไม่มีการไล่ประชาชนของเขาออกจากพื้นที่แต่เขาจะสร้างคอนโดให้คนกลุ่มนั้น คือคนยากจน สามารถไปทำงานได้สะดวก จากแนวคิดดังกล่าวต่อยอดในหลายเรื่อง ตอนนี้สิงค์โปรมีแนวคิดทำเมืองให้เป็นสวน จากแต่ก่อนสวนเป็นเมือง เขาทำกันได้อย่างไร

เมื่อเรามามองบ้านเราประเทศไทย ตอนนี้มีการปฏิรูปที่ดินเป็น สปก.แก่เกษตรกร แต่ก็สูญเสียที่ดินในไม่ช้าให้กับนายทุน การทำเขื่อนเราก็ช้ามาก การเชื่อมต่อคลองค่ายชลประทานก็ทำยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ การบริหารจัดการก็ไม่ได้ เพราะขาดการมีส่วนร่วมจากเกษตรกร ถูกส่งลงมาจากส่วนกลางในการบริหารจัดการน้ำ ทำให้เกิดปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง ล้มเหลว ชาวนาถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ย้อนไปเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขณะนั้นข้าวยากหมากแพงมาก มีการคัดเกรดของข้าว ไปขายต่างประเทศ ปัจจุบันสิ่งที่ยืนเศรษฐกิจยืนอยู่ได้คือเรื่องอ้อยน้ำตาลทรายสามารถดำเนินการไปได้ มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง ๗๐ ต่อ ๓๐ ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ มีโครงการต่างๆเร่งรัดพัฒนาชนบท ทำให้เกิดการอพยพของคนในชนบทเข้ามาอาศัยในเมืองมากขึ้น และการบริหารตัวเมืองก็ไม่ถูกต้อง จราจรในกรุงเทพฯเป็นจราจลแล้ว ถ้ามีการเจ็บป่วยไม่สามารถเรียกใช้รถพยาบาลได้ ทุกคนก็มีความจำเป็นต้องมีรถเป็นของตนเอง ทำให้มีคนซื้อรถมากขึ้น รถเยอะมากขึ้น จอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ ได้มีการตัดถนนมิตรภาพเป็นถนนหลวงเส้นแรกของไทย ต่อจากนั้นทางหลวงก็สร้างถนนเชื่อมกันโยงกันหมด มาในปี ๒๕๔๐ มีแนวคิดที่จะมีการกระจายอำนาจสู่การโอนอำนาจและงบประมาณแผนดินสู่ท้องถิ่นมากขึ้นถึง ๓๕ % แต่ตอนนี้ก็โอนงบประมาณให้ท้องถิ่นจัดการตนเองเพียง ๒๗ % เท่านั้น เป็นปัญหาในการบริหารจัดการลงถึงสู่ปัญหาชาวบ้านได้ทันถ่วงที

ถ้าต้องการให้สังคมเรานำไปสู่การเป็นชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ติดดินกินได้ นั้น ต้องมีการปรับแก้ ดังนี้

๑. เราอย่าทำเป็นเอกเทศ เราต้องทำให้เห็นภาพรวมเชื่อมโยงในทุกระดับ การปฏิรูปโครงสร้าง ปฏิรูปไปสู่ระบบ ๒. เราต้องประมวลเรื่องร่างต่างๆมาประกอบในการตัดสินใจ ปรับโครงสร้างอำนาจ เพิ่มอำนาจภูมิภาค เพิ่มความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมมากขึ้น จัดงบประมาณในการปฏิรูป จัดการความยากจน โดยมีสมัชชาจังหวัดเข้ามาบริหารถึงจะเกิดเป็นจริง ๓. การทำโครงการ ต้องยึดการจัดการเรื่อง การบริหารคนเข้มแข็งมีความรู้ การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการเครือข่ายและการทำให้สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการพัฒนา ๔.ทำอย่างไรให้ส่วนของเมืองและชนบทมีการพึ่งพากัน เกื้อหนุนกัน ต้องเกิดการเชื่อมโยงกันอย่างไร “เกษตรกรพึ่งเครื่องมือการเกษตร ช่างก็พึ่งพาอาหารจากเกษตรกรเช่นกัน”

นี้ก็เป็นการกล่าวปาฐกภาพิเศษของท่านนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เกริ่นนำภายในงานเวทีวิชชาการ ๔ ภาครูปธรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น ในหัวข้อ เรื่อง ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ติดดินกินได้

โดยคุณ รพินทร์ ยืนยาว
ที่มา http://www.samatcha.org/areahpp

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  27th Jan 16

จำนวนผู้ชม:  35531

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   โครงการ 500 ตำบล

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง