Sub Navigation Links

webmaster's News

วิชชาการ ๔ ภาค รูปธรรมนโยบายสาธารณะ เรียนรู้ติดดินกินได้



วิชชาการ ๔ ภาค รูปธรรมนโยบายสาธารณะ เรียนรู้ติดดินกินได้



บรรยากาศของการจัดเวทีวิชชาการ ๔ ภาครูปธรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น ในหัวข้อ เรื่อง ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ติดดินกินได้

เมื่อวันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมรามากาเด้นท์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือสช. ในนามของสมัชชาสุขภาพที่คนทั่วประเทศรู้จักกัน ได้รวบรวมภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพเกือบทั่ว ประเทศ ทั้ง ๔ ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคอีสาน จำนวนคนเข้าร่วมประมาณกว่า ๑ พันคน หลังจากได้มีกระบวนการถอดบทเรียนแบบเสริมพลังของภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในพื้นที่ชุมชน โดยชุมชนที่เกิดรูปธรรมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในชุมชนท้อง ถิ่น เข้าร่วมแลกเปลี่ยนภายในหัวข้อที่ว่า ชุมชนเป็นสุขเรียนรู้ติดดินกินได้   โดยอาศัยภาษาบ้านๆในการถ่ายทอดสื่อสารความรู้ซึ่งกันและกันในวันนี้

บรรยากาศ เริ่มต้นด้วยการตกแต่งนิทรรศการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในบุ๊ดนิทรรศการของแต่ละพื้นที่ชุมชน โดยแบ่งออกเป็นภาค รวมแล้วกว่า ๕๐๐ ตำบลทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องราวต่างๆกลั่นกรองออกมาเรียบเรียงเป็นรูปเล่มหนังสือเอกสารประกอบ การประชุมในครั้งนี้ด้วย ทำให้เป็นคุณูปาการให้กับเครือข่ายต่างๆจะได้เรียนรู้เรื่องราวของกันและกัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงวิถีวัฒนธรรมของแต่ละภาค วิถีการดำรงอยู่ วิถีแห่งการกิน วิถีแห่งการดูแลสุขภาพ วิถีแห่งการธรรมะ รวมทั้งการสื่อสารผ่านทางวีดีทัศน์ประกอบการเรียนรู้ภายในบุ๊ดด้วย ต่อด้วยพิธีเปิดการประชุม โดยได้รับเกียรติจากท่าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และมีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง ชุมชนเป็นสุข เรียนรู้ ติดดี กินได้

ต่อ ด้วยเวทีเสวนาหมู่ในหัวข้อ เรียนรู้ ติดดินกินได้ เครื่องมือที่นำไปสู่นโยบายสาธารณะในพื้นที่ โดยตัวแทนจากชุมชนที่เกิดรูปธรรมภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลาง ได้แก่ รองศาตราจารย์วิลาวัลย์ เสนารัตน์ ตัวแทนจากคณะทำงานจัดการประชุม นางสำราญ พูลทอง ตัวแทนจากภาคอิสาน จากจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการนำกระบวนการสมัชชาสุขภาพไปขับเคลื่อนตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เรื่องเหล้าในชุมชนจนทำให้ชุมชนลดละเลิกเหล้า จนกรายเป็นชุมชนปลอดเหล้าในที่สุด ตัวแทนจากภาคเหนือนายอนุพนธ์ ฝั้นสาย จากจังหวัดลำปางที่มีการนำเครื่องมือ การประเมินผลกระทบชุมชนไปใช้ในพื้นที่ตำบลแม่ถอด จังหวัดลำปาง โดยการชักชวนให้ชาวบ้านเก็บข้อมูลของชุมชน สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยข้อมูล นำไปสู่การสร้างแนวคิดต่อการจัดการปัญหาการสร้างเหมืองแร่ อาศัยพลังชุมชนเป็นฐานในการต่อรองกับหน่วยงานเอกชนที่เข้าลงทุนในการตั้งโรง งานเหมืองแร่ในชุมชนจนทำให้ชุมชนหวาดกลัว กังวลในสิ่งที่จะเกิดผลกระทบตามมา จึงรวมตัวกันเก็บรวบรวมข้อมูล จากข้อมูลที่ว่า สิ่งดีๆของชุมชนมีอะไรบ้าง ทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของคนในพื้นที่มีอะไรบ้าง เช่น การค้นหาภูมิปัญญาความรู้เรื่องสมุนไพรในชุมชนมีมาก เป็นต้น และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขมีอะไรบ้าง แล้วนำสิ่งดีๆมาต่อยอดในชุมชนอย่างไรจนเกิดเทศบัญญัติของชุมชนและประกาศคำ สั่งของเทศบาลในการปกป้องพื้นที่ของตนเอง ตัวแทนจากภาคใต้ นายสมยศ ยิ่งยศ ได้นำเครื่องมือธรรมนูญไปใช้ขับเคลื่อนนโยบายในพื้นที่ตำบลนาทอน จังหวัดสตูล จนเกิดธรรมนูญของชุมชนนาทอน หรือซันซีนาทอน จากชุมชนที่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองสูง การแบ่งฝ่าย คนในชุมชนไม่สนใจเข้าร่วมกระบวนการธรรมนูญสุขภาพ จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกขานใหม่ เป็นซันซี เป็นภาษาใต้แปลว่า สัญญาใจของชุมชนร่วมกัน ทำให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมมากยิ่งขึ้น และต่อด้วยตัวแทนจากภาคกลาง นายศิวโรฒ จิตนิยม จังหวัดกาญจนบุรี ได้นำเครื่องมือแผนแม่บทชุมชนมาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในชุมชนหนอง สาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี จากสภาพชุมชนที่ล้มสลายทางการเกษตรหันไปพึ่งพิงสารเคมีเป็นหลักจนทำให้แผน ดินที่เคยอุดมสมบูรณ์จนกลายเป็นแผนดินอาบยาพิษ ดังคำพูดที่ว่า “ในน้ำมียา ในนามีหนี้” ซึ่งเกษตรกรยิ่งหันไปใช้สารเคมีมากเท่าไหร่ ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพิงสารเคมีมากขึ้นเท่านั้น และส่งผลให้เกษตรกรเจ็บป่วยกันมาก ในภาวะวิกฤติก็ยังมีโอกาสเสมอ ชุมชนตั้งต้นมาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกันใหม่อีกครั้ง ด้วยการสร้างเป้าหมายร่วมจากดัชนีตัวชี้วัดด้วยความสุขมวลรวมของคนในชุมชน เป็นเกณฑ์ โดยใช้เครื่อง การทำ KPIความสุข กฎกติกาคนในชุมชน เกิดแผนชุมชน แผนชีวิต และแผนแม่บทชุมชน นำไปสู่การจัดการในหลายเรื่องตามมา ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุนของเกษตรกร ด้วยการทำธนาคารชุมชน โดยการเอาความดีค้ำประกัน การจัดการเรื่องขยะ มาทำเป็นนำมัน การพึ่งพาตนเองด้วยการทำโรงสีข้าวชุมชน การศึกษาอุณหภูมิในพื้นที่เพื่อพยากรณ์อากาศด้วยคนในชุมชน การใช้เครื่องโดนในการพ่นสารอินทรีย์ในนาข้าว เป็นต้น ทุกสิ่งทุกจะไม่เกิดถ้าขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การจัดการตนเองของชุมชน การจัดการเรื่องคนให้ได้ การมีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นคณะทำงานร่วมกันมากที่สุด

หลัง จากนั้นในช่วงบ่ายก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องย่อย ด้วยการกระบวนการเปลี่ยนกลุ่ม หมุนเวียนในการเรียนรู้ กับพื้นที่รูปธรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยได้แบ่งออกเป็น ๔ ห้องย่อยในการแลกเปลี่ยนคละเคล้ากันไปทั้ง ๔ ภาค และจะมีการนำเอาข้อมูล รายละเอียดการแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อยแต่ละห้องมาแลกเปลี่ยนกันอีกในห้องใหญ่ ในวันถัดไป

โดยคุณ รพินทร์ ยืนยาว
ที่มา http://www.samatcha.org/areahpp

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  27th Jan 16

จำนวนผู้ชม:  35423

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   โครงการ 500 ตำบล

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง