Sub Navigation Links

การจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย สุขใจไม่คิดสั้น ตอนที่ 1/4

Facebook


การประชุมเชิงปฎิบัติการติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2554 มติที่ 2 การจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย สุขใจไม่คิดสั้น ในวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธาณสุข

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๔
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น)
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่สี่
ได้พิจารณารายงานเรื่อง การจัดการปัญหาฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น)
กังวล ต่อสถานการณ์การเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ย ๑๐ คนต่อวัน ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว และชุมชนอย่างรุนแรง
ห่วงใย ว่าการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความไม่แน่นอนของชีวิต ตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ตระหนัก ว่าการฆ่าตัวตายเป็นผลปลายทางที่ไม่พึงประสงค์ของปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลาย แต่เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ อีกทั้งประเทศไทยมีตัวอย่างความสำเร็จที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะกลไกภายในชุมชนและระบบบริการ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ
เห็นว่า การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย ควรมุ่งเน้นทั้งด้านการป้องกัน คือ การสร้างความสุขและความเข้มแข็งทางใจให้กับประชากรทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง การจัดการปัจจัยเสี่ยง เพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยทางจิตเวชและการช่วยเหลือผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายและผู้ที่ได้รับผลกระทบ

จึงมีมติดังต่อไปนี้
๑. ขอให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดนโยบาย มาตรการ และกลไกในด้านต่างๆ ดังนี้
๑.๑ การดำเนินการเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยทางจิตเวช เพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
๑.๒ การลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอุปสรรคทางสังคมที่เกิดจากอคติต่อการเจ็บป่วยทางจิตเวช โดยการสนับสนุนการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความเจ็บป่วยทางจิตเวช
๑.๓ การพัฒนาระบบบริการปรึกษาและระบบส่งต่อในชุมชน สำหรับผู้มีปัญหาชีวิตและสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพ มีการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยการบูรณาการความร่วมมือของครอบครัว สถานศึกษา สถาบันและองค์กรทางศาสนา ชุมชน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชน
๑.๔ การผลักดันให้ อัตราการฆ่าตัวตาย เป็นตัวชี้วัดด้านการพัฒนาสังคมระดับชาติ
๑.๕ การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว ชุมชนและสังคม ที่มีสมาชิกฆ่าตัวตาย เพื่อป้องกันปัญหาที่ตามมา
๑.๖ พัฒนาและสนับสนุน ระบบและกลไกการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดการปัญหาการฆ่าตัวตายอย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ขอให้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประสานขอความร่วมมือให้องค์กรสื่อสารมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒.๑ พัฒนามาตรการควบคุมลักษณะการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายระหว่างสื่อมวลชนกันเอง โดยอาศัยมาตรการทางจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยสนับสนุนการนำเสนอข่าวสารด้านการสร้างความสุขใจ และสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพจิต การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว รวมทั้งชี้ช่องทางการเข้าถึงแหล่งให้บริการปรึกษาภายหลังที่มีการนำเสนอข่าว
๒.๒ งดเว้นการนำเสนอภาพหรือเนื้อหา ที่สื่อถึงความรุนแรงและวิธีในการฆ่าตัวตายในสื่อโทรทัศน์โดยเฉพาะละคร สื่อภาพยนตร์ สื่อออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
๒.๓ ส่งเสริมกระบวนการชื่นชมและเชิดชูเกียรติการทำงานของสื่อมวลชนที่ดี ในการส่งเสริมการสร้างความสุขใจ แก้ไขปัญหาสุขภาพจิต และการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย
๓. ขอให้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สถาบันการศึกษา ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันทางศาสนา และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด รับผิดชอบการพัฒนาระบบช่วยเหลือเกื้อกูลภายในครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย และส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมประกอบด้วย
๓.๑ สร้างกลไกการสร้างความสุขใจและการเกื้อกูลกันภายในครอบครัวและชุมชน สร้างระบบบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ เตรียมความพร้อมทางจิตใจต่อภัยพิบัติและวิกฤตชีวิต โดยครอบคลุมถึงการเผยแพร่หลักคำสอนทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี พัฒนาทักษะชีวิต สำหรับเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลจิตใจ และสร้างความสุข ตลอดจนกำหนดมาตรการทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยปกป้องต่อการฆ่าตัวตาย
๓.๒ จัดให้มีระบบฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยปกป้องและปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มผู้ป่วยสุขภาพจิต เพื่อการค้นหา วางแผน เฝ้าระวังและช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก เยาวชน ครอบครัว ผู้พิการ และผู้สูงอายุทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่จำเป็นต้องเข้าถึงและให้ความช่วยเหลืออย่างทันการณ์
๓.๓ สนับสนุนให้เกิดองค์กรสาธารณะประโยชน์/เครือข่ายของผู้รอดชีวิตหรือผู้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และผู้ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มให้การปรึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น
๔. ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖

login to rate

0 ความนิยม

แจ้งวีดีโอไม่เหมาะสม

เพิ่มวีดีโอที่ชื่นชอบ

จำนวนผู้เข้าชม:  1997

ความคิดเห็น:  0

เพิ่มวีดีโอที่ชื่นชอบแล้ว:  0

Links:0

ไม่พบวีดีโอที่ค้นหา

join INDIA MAFIA CYBER for a free account, or ล็อคอิน if you are already a member