Sub Navigation Links

เหมือนอยู่คนละโลก: ปฐมบทสู่รายงานสถานการณ์ความไม่เป็นธรรม

Facebook


เวทีเสวนาเพื่อการกลับมาอยู่โลกเดียวกัน ครั้งที่ ๑
;เหมือนอยู่คนละโลก: ปฐมบทสู่รายงานสถานการณ์ความไม่เป็นธรรม
โดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และเครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕

ผู้ร่วมเสวนา
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ นักวิชาการรัฐศาสตร์
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล พลเมืองเน็ต
ศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
ผู้ดำเนินรายการ นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ สำนักข่าวเนชั่น

ผู้ร่วมเสวนาทั้งสามท่านเห็นว่าความไม่เป็นธรรมอยู่ที่มุมมองของแต่ละคน ทำให้การจัดลำดับความสำคัญต่อประเด็นต่างๆ แตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้คนในสังคมได้มีส่วนร่วมในการช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหานิยามของความเหลื่อมล้ำก่อนที่จะไปสู่ระดับการแก้ปัญหา
ในส่วนของเนื้อหาของหนังสือ “เหมือนอยู่คนละโลก” ทำให้เห็นรูปธรรมของความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งไม่แตกต่างจากอดีต และคงจะดำเนินต่อไปในอนาคต แต่ในขณะเดียวกันรูปแบบการเขียนก็ยังคงเป็นการนำเสนอข้อมูลด้านต่างๆ ที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วม แต่ไม่มีการวิเคราะห์ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาเหล่านั้น จึงทำให้ยังไม่มีพลังพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งยังไม่ได้บอกว่าเหตุใดเราจึงควรกลับมาสู่โลกเดียวกัน เมื่อทลายความเป็นคนละโลกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น นอกจากนั้น เนื้อหาบางส่วนยังสะท้อนถึงทัศนคติตายตัวของผู้เขียน เช่น การเหมารวมว่าสาเหตุของปัญหาทางสังคมเกิดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การเล่นเกมส์ ทั้งๆที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน หรือการมองว่าให้กลับมาอยู่โลกเดียวกัน จริงๆแล้วเราอาจจะอยู่คนละโลกก็ได้ แต่ทำอย่างไรให้ไม่ขัดแย้งกัน
อ.ชลิดาภรณ์ กล่าวว่า สังคมทุกสังคมคนถูกแบ่งประเภทด้วยสิ่งต่างๆ เช่น อายุ เพศสภาพ ชนชั้นทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้คนแต่ละประเภทในมิติเดียวกันแต่กลับไม่เท่ากันใน ๓ ประเด็น คือ มาตรฐานความถูกต้องทางพฤติกรรมไม่เท่ากัน การเข้าถึงสิ่งที่สังคมให้คุณค่า และการเข้าถึงสิ่งที่จะทำให้เราเป็นสุขได้ ในหนังสือเล่มนี้ได้พูดถึง ๓ เรื่อง คือ ชนชั้น เพศสภาพ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ คือ เมืองกับชนบท แต่ ๓ เรื่องนี้ซ้อนทับกันไปมา ปัญหาของหนังสือคือพาเราก้าวกระโดดไปถึงมิติที่เรื่องเหล่านี้ซ้อนทับกัน และการที่หนังสือบอกเรา ๒ เรื่องพร้อมๆกัน คือ การเข้าถึงสิ่งที่สังคมให้คุณค่า และการเข้าถึงสิ่งที่จะทำให้เราเป็นสุขได้ ทำให้มี ๒ ปัญหาผสมกันอยู่
สังคมไทยเองยังไม่รู้ว่าความเท่าเทียมเป็นอย่างไร ไม่มีการเก็บสถิติต่างๆ ที่จำเป็นและสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำให้เห็นชัดเจน และสิ่งที่สำคัญนอกจากการให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมที่ต้องเชื่อมโยงกับมิติอื่นๆแล้ว ยังต้องมีความเอื้ออาทร เพราะความเป็นธรรมเพียงอย่างเดียวก็ทำร้ายมนุษย์ได้ ดังนั้น SIRnet ควรทำผลการศึกษาให้อยู่ในรูปแบบที่ประชาชนเข้าใจ แล้วนำเสนอให้สังคมได้ดูทุกปี ทำให้เห็นว่าคนต่างกันในเรื่องไหน แล้วทำให้เข้าไม่ถึง 3 ข้อข้างต้นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ อย่างไรก็ตามงานของ SIRnet จะต้องไม่ยึดว่าสิ่งใดที่คิดว่าเป็นคุณค่าแล้วก็ไม่ต้องตั้งคำถาม รวมทั้งไม่เหมารวมว่าสิ่งที่คนชนชั้นกลางให้คุณค่าจะเป็นคุณค่าของสังคมโดยรวม
คุณศศิน เห็นว่าหนังสือเล่มนี้ ได้ใช้กรอบการมองความเป็นธรรมทางสังคมในมิติเดียวกับองค์การสหประชาชาติ เช่น ชนชาติ หญิงชาย เด็ก การศึกษา การเข้าถึงทรัพยากร เพียงแต่มองกันคนละระดับ แต่ควรวิเคราะห์ให้ชัดเจน และนำเสนอคำตอบที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ผู้เขียนได้ใช้กรอบความคิดของคนเมือง คนมีการศึกษาไปมองเรื่องต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากการมองของกลุ่มคนอื่นๆในสังคม
ในส่วนของการแก้ปัญหาความแตกต่างทางสังคมนั้น ควรต้องมีคนทำงานเพื่อสังคมไปจัดการความขัดแย้งที่สามารถหาทางออกอย่างลงตัวให้แก่ทุกฝ่าย เช่น ปัญหาป่าไม้ ที่มีฝ่ายชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รัฐ มิเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาอีก
คุณอาทิตย์ กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำเกิดจากการมองว่ามีคนจำนวนหนึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับความเป็นธรรม เช่น นักโทษไม่มีสิทธิ์จะเรียกร้องอะไร เพราะคุณทำผิด ต้องโดนลงโทษ ถูกทารุณ ถูกซ้อม ต้องยอมรับสภาพ ความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ถ้าเรามองไม่เห็นก็ทำอะไรต่อไม่ได้ หรืออย่างเช่นการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อระบบขนส่งมวลชน ถ้าเรามองว่าเป็นเรื่องความธรรมของสังคม จะเห็นว่าระบบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้คนเข้าถึงอาชีพและยกระดับชีวิตได้ แนวทางการปฏิบัติก็จะเปลี่ยนไป
ในส่วนของอินเทอร์เน็ตที่เองก็สามารถมีส่วนช่วยเรื่องความเป็นธรรมในสังคมโดยการเป็นพื้นที่ที่ควรมีทั้งความรู้และความเห็น เพราะก่อนจะเป็นความรู้ ครั้งหนึ่งสิ่งเหล่านั้นก็เคยเป็นความเห็นมาก่อน ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้มีความเห็น อนาคตก็จะไม่มีความรู้ใหม่ๆ ซึ่งการเคลื่อนไหวทางสังคมหลายเรื่องก็เริ่มจากในอินเทอร์เน็ต เช่น การรณรงค์ให้มีทางจักรยาน แต่ขณะเดียวกันก็มีคนบางกลุ่มที่คิดว่าการช่วยส่งต่อข้อมูลต่างๆในอินเทอร์เน็ตคือการได้ช่วยโลก ทำให้ตนเองรู้สึกดี แต่กลับไม่ได้ทำความเข้าใจกับสาเหตุและประเด็นปัญหาที่แท้จริง
ในช่วงท้ายของการเสวนามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ร่วมฟัง ซึ่งผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วก็แสดงความเห็นว่า รู้สึกชื่นชอบ เข้าใจความเหลื่อมล้ำมากขึ้นและเห็นว่าแม้จะเป็นประเด็นที่รับรู้อยู่แล้ว แต่ก็เป็นการดีที่มีข้อมูลที่ทันสมัย และอยากให้มีข้อมูลตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำให้เห็นได้มากกว่าที่มีอยู่ ผู้ร่วมฟังบางท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า ชื่อของ SIRnet คือ เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม แต่กลับยังมองไม่เห็นว่าช่องว่างเหล่านั้นคืออะไรบ้าง และที่พูดถึงเรื่องความเป็นธรรมนั้นเรากำลังข้ามขั้นตอนไปหรือไม่ บางท่านได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นธรรมกับความยุติธรรม โดย อ.ชลิดาภรณ์และคุณศศิน ต่างก็เห็นตรงกันว่า เราไม่ควรขีดเส้นอย่างชัดเจน เพราะโลกนี้ไม่มีจุดยุติหรือจุดสิ้นสุดของความเป็นธรรม สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ดังนั้น เราไม่ควรหาข้อยุติ แต่ควรพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน หาจุดที่เราอยู่ร่วมกันได้ เช่นเดียวกับการเสวนาเปิดตัวหนังสือ “เหมือนอยู่คนละโลก” ในวันนี้ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้คนสนใจและเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

เรียบเรียงโดย มณฑินี เอี่ยมบำรุงสกุล

login to rate

0 ความนิยม

แจ้งวีดีโอไม่เหมาะสม

เพิ่มวีดีโอที่ชื่นชอบ

จำนวนผู้เข้าชม:  3041

ความคิดเห็น:  0

เพิ่มวีดีโอที่ชื่นชอบแล้ว:  0

Links:0

ไม่พบวีดีโอที่ค้นหา

join INDIA MAFIA CYBER for a free account, or ล็อคอิน if you are already a member

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่:   23 พฤษภาคม 2555

หมวด:   เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม (SIRNet)



เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง อภิปรายและให้ข้อเสนอต่อ การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ตอนที่ 3/3

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข ้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง อภิปรายและให้ข้อเสนอต่อ การใช้สื่อสังคมออน ไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของ บุคคล ตอนที่ 3/3

30:07

โดย: webmaster

จำนวนผู้ชม: 2805

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง อภิปรายและให้ข้อเสนอต่อ การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ตอนที่ 2/3

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข ้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง อภิปรายและให้ข้อเสนอต่อ การใช้สื่อสังคมออน ไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของ บุคคล ตอนที่ 2/3

30:25

โดย: webmaster

จำนวนผู้ชม: 2675

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง  อภิปรายและให้ข้อเสนอต่อ การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ตอนที่ 1/3

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข ้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง อภิปรายและให้ข้อเสนอต่อ การใช้สื่อสังคมออน ไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของ บุคคล ตอนที่ 1/3

35:43

โดย: webmaster

จำนวนผู้ชม: 2840

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง โซเซี่ยลมีเดีย คุ้มครอง หรือ คุกคาม ข้อมูลด้านสุขภาพบุคคล ตอนที่ 3/3

เวที จุดประกาย การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการคุ้มครองข ้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ช่วง โซเซี่ยลมีเดีย คุ้มครอง หรือ คุกคาม ข้อมูลด้านสุขภาพบุคคล ตอนที่ 3/3

30:34

โดย: webmaster

จำนวนผู้ชม: 2706