Sub Navigation Links

webmaster's News

รายงานสรุป เวทีจุดประกาย “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”



รายงานสรุป เวทีจุดประกาย “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”



รายงานสรุป เวทีจุดประกาย “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”
วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2558 เวลา 09.00 - 15.00 น.
ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

ความเป็นมา ตามที่ประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ให้เป็นประธานการจัดงาน เวทีจุดประกาย : สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เมื่อวัน

อาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2558 ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี นนทบุรี เพื่อระดมพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก อันประกอบด้วย ความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ความมั่นคง ของ

ทรัพยากรและพลังงานชุมชน ความมั่นคงทางการเงินของเกษตรกร ความเข้มแข็งของสังคม และการสื่อสารเพื่อสังคม โดยต้องอาศัยกลไกการขับเคลื่อนทั้งระดับชาติ ระดับส่วนกลาง และระดับพื้นที่ด้วยความร่วม

มือของภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม เข้าร่วมงาน จานวน 7,000 คน

การดาเนินงาน ในการจัดงานดังกล่าว มีสาระสาคัญ ประกอบด้วย
คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานหอการค้าไทยและประธานการจัดงาน กล่าวรายงานการจัดงาน ความสาคัญว่า ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม สาเหตุสาคัญ ความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจฐานราก หากเราได้มาร่วม

ช่วยกันดูแลเรื่องของเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยต้องอาศัยความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ เอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะทาให้

เศรษฐกิจมีความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว อีกทั้งจะมีการน้อมนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานราก ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อประกาศเจตนารมณ์

ของ 3 ภาคส่วน ในการพัฒนาท้องถิ่นและเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างอนาคตของประเทศ จากเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดเวทีจุดประกาย สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ความสาคัญว่า การร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังเพื่อทาความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตน

เอง หรือข้าราชการ แต่ทาเพื่อประชาชนทุกคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทาประชานิยม เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความนิยมต่อภาครัฐ โดยรัฐบาลนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชนในการแก้ไข

ปัญหา ผมเป็นรัฐ ท่านเป็นประชาชน มาสัญญาร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติให้เจริญเติบโตไปข้างหน้าขณะเดียวกัน ประเทศต้องเริ่มสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ฐานรากขึ้นมา วันนี้เราจะต้องร่วมมือกันทาให้เกิด

ความชัดเจนระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน และท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนสาคัญในการสร้างเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนการลดปัญหาความเหลื่อมล้า การเข้าถึงการบริการของรัฐ และกระบวนการทางกฎหมายต่าง ๆ

ทั้งนี้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นสิ่งสาคัญที่เราทุกคนต้องยึดถือไว้ รวมทั้งต้องมีความรู้คู่คุณธรรม โดยเฉพาะผู้ปกครองที่เข้ามาบริหารบ้านเมืองจะต้องมีคุณธรรม

ศีลธรรม มีหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประชาชนเองก็จะต้องมีศีลธรรม วันนี้รัฐบาลพยายามทาทุกอย่าง ให้เกิดความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้า เพื่อให้สังคมมีความมั่นคง และความสงบสุข สิ่งที่สาคัญเราจะต้องสร้าง

ความเข้มแข็งไปด้วยกัน และเตรียมความพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ขณะที่ความรู้ ก็เป็นสิ่งที่สาคัญและ มีความจาเป็น เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ถูกชักจูงไปง่าย ๆ อันจะทาให้

เกิดความแตกแยก ในประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศชาติไม่ใช่ของตน หรือของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของคนทั้ง 70 ล้านคน ที่เรียกว่า “ประชารัฐ” หากฟังเพลงชาติไทยผู้ประพันธ์ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า

ประเทศไทย เป็นประชารัฐ ไม่มีคาว่าประชานิยม ประชารัฐหมายถึง ประชาชนกับรัฐบาล ร่วมกัน รัฐบาลจะเป็นผู้ที่อานวยความสะดวก เปิดช่องทางให้เอกชน ประชาชน เข้ามาร่วมมือกันตามกระบวนการ

ประชาธิปไตย

รัฐบาลนี้มีความห่วงใยทุกคน และมีความตั้งใจที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และสร้างความเข้มแข็งในชุมชุมท้องถิ่นให้ได้ โดยรัฐบาลจะส่งเสริมทางด้านการตลาด ซึ่งมีแนวคิดที่จะเปิดตลาดกลางเพิ่มขึ้น เพื่อ

ให้เกษตรกรมีการเชื่อมต่อและเจอกับผู้ค้าโดยตรง เป็นการสร้างเครือข่ายในท้องถิ่น และสร้างความสมดุล ของราคาสินค้า โดยจะต้องมีการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ตลอดจนการ

ทาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิภาคอาเซียน วันนี้เราต้องพึ่งพลังประชาชน ต้องมีหัวใจที่ทุ่มเท ถ้ารัฐทาดี ก็ต้องส่งเสริม เพราะรัฐทาเพื่อคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยเราเป็นรัฐหนึ่งรัฐเดียวแยกจากกัน

ไม่ได้ ทั้งนิตินัย และพฤตินัย ต้องเท่าเทียมกัน มีการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค ที่สาคัญวันนี้เราต้องเปิดมุมมองใหม่เปิดตาให้กว้างและฟังในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่จะร่วมมือขับเคลื่อน

ประเทศไปให้ได้ ต้องฟังและคิดว่าใครอยากให้ประเทศเดินหน้า ทั้งนี้ รัฐบาลยินดีช่วยเหลือทุกอย่าง แต่ทุกคนจะต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วนด้วย การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ต้องแก้ด้วยการมีรัฐบาลที่มาจากการ

เลือกตั้ง มีธรรมาธิบาล ซึ่งการเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่สร้างปัญหาความขัดแย้ง และความแตกแยก โดยจะต้องสร้างความปลอดภัยให้กับประเทศ และสร้างความสงบสุขให้เกิด

ขึ้น อย่างไรก็ตามเรื่องเหล่านี้ ไม่สามารถทาได้เพียงลาพัง หรือเพียงแค่หน่วยงานรัฐบาล และข้าราชการเท่านั้น แต่ต้องขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคน หากเรารวมพลังและสร้างความเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดก็

สามารถแก้ไขได้อย่างแน่นอน เพื่อร่วมกันทาให้บ้านเมืองเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการ พร้อมกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมงานด้วย

นพ.ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสัมมาชีพ และที่ปรึกษากรรมการการจัดงานฯ ได้กล่าว ถึงยุทธศาสตร์สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ความสาคัญว่า การประกาศรวมตัวเพื่อนาพาประเทศ

ชาติหลุดพ้นจากปัญหาหลุมดาใหญ่ทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง เศรษฐิกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศีลธรรม และการพัฒนาคุณภาพคน ซึงปัญหาดังกล่าว ไม่มีองค์กรใดสามารถแก้ไขได้เพียงกาลังลาพัง ดัง

นั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ที่จะร่วมมือกันนาพาให้ประเทศจากหลุมดานี้ให้ได้ หัวใจหลักของการสร้างเศรษฐกิจฐานรากคือ การสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ วิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะต้องมี 3 ภาคส่วน คือ ภาค

ประชาชน ได้แก่ ปัจเจกบุคคล ชุมชน กลุ่มชมรม มูลนิธิ เป็นต้น ภาคเอกชน ได่แก่ สภาหอการค้า แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น และสุดท้ายคือภาครัฐ ได้แก่

รัฐบาล ระบบราชการ องค์กรอิสระของรัฐ องค์กรกครองส่วนท้องถิ่นและท้องที่ เป็นต้น โดยเรียกแนวคิดความร่วมมือทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าวว่า “สามเหลี่ยมเขยื้อนประเทศ” อย่างไรก็ดี ถ้าหากเราโยงเศรษฐกิจชุมชน

เข้ากับเศรษฐกิจรากฐานให้เกื้อกูลกัน จุดนี้จะเป็นกุญแจสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับมหพภาคด้วย เพราะเมื่อประชาชนทั้งประเทศหายจน รากฐานยึดกันอย่างมั่นคง เศรษฐกิจของประเทศก็จะมั่นคงดร.สมคิด

จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษากรรมการการจัดงานฯ ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ความสาคัญว่า สิ่งที่ท่านทั้งหลาย ได้มารวมพลังกันแสดงบนเวทีที่กล่าวถึงความ

พร้อมของภาคประชาชนที่จะให้ความร่วมมือกับภาคประชาสังคม ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่ อยู่ในใจท่านคือ ต้องการให้ประเทศไทยเป็นเหมือนในอย่างการแสดงบนเวที ไม่มีการทะเลาะแบ่งสีเสื้อซึ่งท่านนายกฯ เอง ก็มี

ความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศ และมีความต้องการให้ประชาชนเข้าใจว่าทาไม ตนต้องเข้ามาทาหน้าที่นี้ ทั้งๆที่ไม่ได้อยากจะมา แต่ถ้าวันนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง บ้านเมืองก็จะไม่สงบ ซึ่งนายกฯมีความ

ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ให้คนไทยได้คิดว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคมเรา ซึ่งท่านเองได้พยายามเต็มที่เพื่อบอกให้ทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การท่องจา ซึ่งใคร ๆ ก็อยากให้มี

การเลือกตั้งอย่างเร็วที่สุด แต่ท่านไม่อยากให้ประเทศกลับสู่วังวนปัญหาเดิม จึงได้ขอเวลาอยู่ต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ ในวันนี้รัฐบาลระกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่าจะต้องสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้มั่นคง เพื่อ

ให้เศรษฐกิจประเทศไทยยืนได้ด้วยสองขาของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยประชาชน และความสามารถ ในการผลิตของประเทศ ในฐานะของรัฐบาล ตนสามารถออกนโยบายได้ แต่ตนรู้ว่าถ้าภาครัฐพยายามครอบงา

วงจรฐานล่าง ก็จะไม่ประสบความสาเร็จ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่าทั้ง 3 ภาคส่วนนั้นล้วนมีจุดแข็งแตกต่างกันไป แต่ก็มีข้อจากัด ซึ่งจุดมุ่งหมายก็คือว่า ทาอย่างไรให้ทั้ง 3 ภาคส่วนเชื่อมโยงกัน ซึ่งส่วนนี้ ก็

จะต้องมีกลไกที่ทาให้ทั้ง 3 ภาคส่วนมีความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

เมื่อวันที่เราประกาศนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้มีนักวิเคราะห์ชาวต่างชาติ เขียนว่า การใช้นโยบายนี้ไม่ได้เป็นการช่วยเศรษฐกิจจริงๆ แต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างหากที่ค่า GDP ถึงจะได้ก้าว

กระโดด จึงขอฝากสื่อมวลชนบอกนักวิเคราะห์ท่านนั้นว่ากลับไปเรียนเสียใหม่ ท่านยังมีความรู้เรื่องสภาพสังคมไทยไม่พอ อย่างไรก็ดีตนและนายกรัฐมนตรีมีเวลาไม่มากในการดาเนินงาน ไม่ได้มีความคิดที่จะเล่น

การเมืองในอนาคต ขอให้ไว้ใจว่าถ้าตนยังมีแรงอยู่จะทาให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานให้ได้โดยปราศจากความคิดถึงอนาคตทางการเมือง ซึ่งอนาคตของตนที่มองเห็นก็คือ สังคมแห่งความสามัคคี
นอกจากนั้น ในงานดังกล่าว ยังมีการกล่าวเจตนารมณ์ร่วมในการสานพลังประชารัฐฯ จากผู้แทนองค์กรและเครือข่าย อาทิ ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนสถานการศึกษา ผู้แทนองค์กรบริหาร

ส่วนท้องถิ่น เป็นต้น และการแสดงนิทรรศการจากองค์กรเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทเรียนและประสบการณ์ระหว่างกัน ผ่านนิทรรศการกรณีศึกษากว่า 50 กรณี

ที่มา : คณะทำงาน เวทีจุดประกาย “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”
ภาพประกอบ : บ้านเมือง


Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  23rd Sep 15

จำนวนผู้ชม:  34834

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง