Sub Navigation Links

webmaster's News

“นมแม่” สุดยอดอาหารสมองพัฒนา



“นมแม่” สุดยอดอาหารสมองพัฒนา



“นมแม่” สุดยอดอาหารสมองพัฒนา
การศึกษาจากประเทศสเปน เมื่อปี ค.ศ. 2014 เปรียบเทียบระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการพัฒนาด้านจิตประสาทของลูกเมื่ออายุ 4 ขวบ พบว่าเด็กทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวนานมากกว่า 6 เดือน

เมื่อโตขึ้นจะมีพัฒนาการด้าน Executive Functions (EF) และพัฒนาการด้านอื่นๆ ดีกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่แบบระยะสั้นๆ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับลูกแล้ว ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในของสมองแม่ ทำให้แม่มีพฤติกรรมของความเป็นแม่ซึ่งส่งผลดีต่อการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกด้วย

ความรักความผูกพัน ช่วยลดความเครียด ทำให้แม่ผ่อนคลายและมีความสุขกับการเลี้ยงลูก ขณะเดียวกัน Oxytocin จากน้ำนมแม่ยังถูกส่งต่อไปยังลูกน้อยไปช่วยสร้างสมองของลูกให้พร้อมต่อการมี

พัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้ง IQ, EQ และ EF

Executive Functions (EF) เป็นการทำงานระดับสูงของสมองที่ควบคุมความคิด การตัดสินใจ และการกระทำส่งผลให้บุคคลมุ่งมั่นทำสิ่งต่างๆ จนสำเร็จตามเป้าหมาย ในเด็กเล็กทักษะสำคัญที่

เป็นองค์ประกอบหลักของ EF คือ ความจำขณะทำงาน การยับยั้งอารมณ์ความคิดและการกระทำ การเปลี่ยนความคิดเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป / ความยืดหยุ่นทางความคิด การควบคุมอารมณ์ และการวางแผนการ

จัดการ ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญในการที่บุคคลจะกำหนดเป้าหมาย วางแผนการทำงาน เริ่มลงมือทำโดยไม่ต้องมีคนบอก มุ่งมั่นกับงาน รวมทั้งการประเมินปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น เด็กที่มีทักษะ EF ที่ดีจะ

ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

EF เป็นตัวบ่งบอกถึงความพร้อมทางการเรียนมากกว่าระดับสติปัญญา (IQ) ส่งผลต่อการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคณิตศาสตร์และการอ่าน ผู้ที่มี EF ดีจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำงาน มีสุขภาพ

กายและสุขภาพจิตที่ดี

พัฒนาการของ EF จะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวัยรุ่น โดยทักษะด้านความจำขณะทำงานจะพัฒนาเร็วกว่าด้านอื่น คือจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ช่วงปลายขวบปีแรกและจะพัฒนาดีขึ้น

เรื่อยๆ เมื่อเด็กโตขึ้น ในช่วงปฐมวัยเด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะด้านการยับยั้งพฤติกรรมและการควบคุมอารมณ์ เริ่มคิดแบบยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนความคิดได้ดีขึ้นเรื่อยๆ EF จะพัฒนาเต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จากนั้น

เมื่อเข้าสู่วัยชราก็จะเริ่มเสื่อมลงตามวัย

การพัฒนา EF นอกจากจะขึ้นกับการพัฒนาสมองส่วนหน้าสุดแล้ว ยังขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน สิ่งแวดล้อมในครอบครัวและวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ 

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th Sep 15

จำนวนผู้ชม:  34695

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง