Sub Navigation Links

webmaster's News

ผลสำรวจพบคนไทยยังรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี เร่งแก้ไข ป้องกัน 'ตีตรา-เลือกปฏิบัติ'



ผลสำรวจพบคนไทยยังรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี เร่งแก้ไข ป้องกัน 'ตีตรา-เลือกปฏิบัติ'



กรม ควบคุมโรค เผยผลดีดีซีโพล คนไทยยังมีความกลัว รังเกียจและกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีถึงร้อยละ 48.9 ซึ่งสูงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 57 ถึง 14.2% สะท้อนปัญหาตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอดส์ยังคงมีอยู่ ซึ่งอาจจะมาจากความไม่รู้หรือไม่มีข้อมูล กรมควบคุมโรคเร่งแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

วันนี้ (25 สิงหาคม 2558) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อม นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนางสาวจารุณี ศิริพันธุ์ รอง ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  ร่วมแถลงข่าวผลสำรวจความ คิดเห็นของประชาชน ดีดีซีโพล (DDC Poll) และการเสวนา DDC Forum เรื่อง “การตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในสังคมไทย”
นพ.โสภณ กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้สำรวจทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพดีดีซีโพล (DDC Poll) เรื่อง “การตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในสังคมไทย” จากกลุ่ม เป้าหมายทั้งหมด 3,024 ตัวอย่าง ช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค 4 ภาค รวม 24 จังหวัด จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญพบว่า
1.คนไทยยังมีความกลัว รังเกียจ กีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ไม่แสดงอาการ) และไม่แน่ใจ สูงถึงร้อยละ 48.9

2.ในผู้ป่วยเอดส์(แสดงอาการป่วยแล้ว) คนไทยยังมีความกลัว รังเกียจ และกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 43.3 ซึ่งสูงกว่าปี 2557 ถึงร้อยละ 14.2

3.การบังคับให้ตรวจเอชไอวี/เอดส์ ทั้งก่อนเข้าเรียน ก่อนบวช และก่อนสมัครงาน มีแนวโน้มลดลงจากปี 2557 โดยเฉพาะก่อนสมัครงานที่ลดลงจากร้อยละ73.1 เหลือร้อยละ 58.5    

4.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีแนวโน้มที่จะไม่บอกคนในครอบครัวว่าตนเองติดเชื้อหรือป่วยสูงขึ้นเป็นร้อย ละ 28.9 จากเดิมปี 2557 ที่ร้อยละ 9.1  5.คนไทยร้อยละ 56.

5 ไม่รู้ว่าทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการตรวจเอชไอวี/เอดส์ ฟรี ปีละ 2 ครั้ง 

และ 6.คนไทยถึงร้อยละ 80.4 ไม่รู้ว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แล้ว ทุกคนมีสิทธิ์จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ฟรี

ด้าน นพ.ภาณุมาศ กล่าวว่า จากข้อมูลสถานการณ์  ปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับ เอดส์ยังคงมีอยู่จริงในสังคม กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จึงได้กำหนดมาตรการและการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2557–2559 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ มาตรการกลุ่มแรก เน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการตีตรา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ

1.การส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐเป็นตัวอย่างในการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติ แห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ภายใต้แนวคิดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์”

และ 2.การสร้างความเข้าใจเรื่องการตีตราและลดการเลือกปฏิบัติในสถาน บริการสุขภาพ โดยนำร่องอย่างน้อย 1 จังหวัดต่อเขต (สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 เขต)

ส่วนมาตรการกลุ่มที่สอง จะเน้นการปกป้องคุ้มครองสิทธิเมื่อเกิดการละเมิด สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับเอดส์  โดยกรมควบคุมโรคมีแผนดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1.จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับปกป้องคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ให้กับหน่วยงานที่ เป็นจุดรับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้นและส่งต่อได้อย่างเหมาะสม และ 2.จัดประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง เพื่อขับเคลื่อนการจัดวางโครงสร้างการคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
ซึ่งความจริงแล้ว เอชไอวีติดได้เพียง 3 ทางหลัก คือ

 1.จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน

 2.จากแม่สู่ลูก
และ 3.จากการใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกัน การใช้ชีวิตกิจวัตรปกติ ไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี นั่นก็คือ คุณสามารถกินข้าว อาบน้ำ คุย เล่น ฯลฯ กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ หากมีข้อสงสัยสามารถเข้ารับบริการตรวจหาการติด เชื้อเอชไอวีได้ฟรีปีละ2ครั้งที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และหากพบเชื้อมีสิทธิ์ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฟรี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 02 590 3211 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

ส่วนนางสาวจารุณี  ศิริพันธุ์ รองผู้ อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า จากผลโพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ความไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องเอชไอวียังคงมีอยู่  ซึ่งอาจจะมาจากความไม่รู้ หรือไม่มีข้อมูล หรือบางคนอาจจะบอกว่ารู้แต่สิ่งที่รู้กลับไม่ใช่ข้อเท็จจริง ภาพจำหรือความเชื่อเดิมๆ เรื่องเอชไอวีและเอดส์ที่ถูกถ่ายทอดหรือเรียนรู้มาจึงมีอิทธิพลมากกว่า สำหรับทางออกที่สำคัญในเรื่องดังกล่าว ได้แก่

1.การสร้างความเข้าใจเรื่องเอชไอวีและเอดส์ เพื่อเปลี่ยนการรับรู้ใหม่ ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยการสื่อสารผ่านสาธารณะและผ่านหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นเนื้อหาที่เป็นข้อมูลข้อเท็จจริง ไม่ใช่ทัศนคติ 

2.ปฏิบัติการในการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิ์ โดยเน้นการทำให้ตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้าใจเรื่องสิทธิ มีความสามารถในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ และมีกลไกรับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือดำเนินการเมื่อถูกตีตราและเลือก ปฏิบัติหรือถูกละเมิดสิทธิ์อันเนื่องมาจากเอชไอวีและเอดส์  และ 3.การสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตและไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี เช่น การมีแนวปฏิบัติเรื่องเอดส์ในที่ต่างๆ โดยเฉพาะในสถานศึกษา ที่ทำงาน เป็นต้น

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  28th Aug 15

จำนวนผู้ชม:  35332

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง