Sub Navigation Links

webmaster's News

ระดมทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน "สังคมผู้สูงอายุไทย"



ระดมทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน "สังคมผู้สูงอายุไทย"



ระดมทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน "สังคมผู้สูงอายุไทย"

กระทรวงแรงงานประชุมคณะทำงานจัดทำแผนส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพ คนสูงวัย ร่วมกันคิด-ช่วยขับเคลื่อนแผนฯ เน้นความหลากหลายของทางเลือกให้เหมาะ "สังคมผู้สูงอายุไทย"

ระดมทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน นายอารักษ์ พรหมณี ปลัดกระทรวงแรงงานและโฆษกกระทรวงแรงงาน เป็นประธานคณะทำงานจัดทำแผนส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพและการทำงานสำหรับผู้สูงอายุ ครั้งที่

1/2558 ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณที่ผ่านมาพบว่าการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านแรงงานสูงอายุ มีบางโครงการ/กิจกรรมยังไม่มีผลที่ชัดเจน

เนื่องจากไม่สอดคล้องกับภารกิจหน่วยงาน รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายบุคลากรทำให้การดำเนินการไม่ต่อเนื่องและไม่เป็นไปตามที่กำหนด จึงเห็นควรที่จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาจัดทำแผนขึ้น

ใหม่ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ต้องเป็นแนวทางที่สามารถรองรับไปสู่อนาคตได้ด้วย จึงเป็นที่มาของการประชุมในครั้งนี้

สำหรับคณะทำงานจัดทำแผนส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพและการทำงานสำหรับผู้สูงอายุ ได้รับการแต่งตั้ง โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพการทำงานสำหรับผู้สูงอายุ ได้มีคำสั่งที่ 1

/2558 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 มีจำนวน 15 คน ประกอบด้วย นายบรรลุ ศิริพานิช เป็นที่ปรึกษาฯ มีรองปลัดกระทรวงแรงงานที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายและอำนวยการของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

เป็นประธานคณะทำงาน และที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน เป็นรองประธาน มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงานฯ ดังนี้ ผู้แทนกระทรงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, เกษตรและ

สหกรณ์,มหาดไทย,ศึกษาธิการ, อุตสาหกรรม,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา,สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ผู้

อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้อำนวยการกลุ่มงานเศรษฐกิจแรงงานมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นคณะทำงานและ

เลขานุการ ให้มีอำนาจหน้าที่หลักในการจัดทำแผนส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ให้สอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1

พ.ศ. 2552

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รวมกันพิจารณา (ร่าง) แผนส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพฯ ตามที่ฝ่ายเลขานุการได้รวบรวมข้อเสนอรูปแบบ/วิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการส่งเสริมการขยายโอกาสฯจากรายงานการ

ศึกษาของนักบริหารแรงงานระดับสูง (นบรส.) รุ่นที่ 1 กลุ่มที่4 กระทรวงแรงงาน สำนักงานสภาปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ มูลนิธิสถาบันและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุน

การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานฯและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจัดทำข้อมูล แผนงาน โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ซึ่งที่ประชุมได้มีข้อเสนอ

แนะเพิ่มเติมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภารกิจผู้สูงอายุได้นำข้อเสนอรูปแบบ/วิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการส่งเสริมการขยายโอกาสด้านอาชีพฯ ไปผลักดันให้เกิดการป ฏิบัติอย่างแท้จริงผ่านการกำหนดเป็น

แผนงานของหน่วยงาน เช่น การจ้างงานแบบสมัครใจ (แรงงานในระบบ) เป็นมาตรการในด้านการจูงใจไม่ใช่การบังคับ โดยส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและเอกชนมีระบบการจ้างงานผู้สูงอายุโดยภาครัฐควรมีการ

จ้างงานเพื่อเป็นตัวอย่างของการดำเนินการ, การส่งเสริมการทำงานในกลุ่มอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) โดยให้สอดคล้องกับทักษะ สมรรถนะทางร่างกาย และความต้องการของผู้สูงอายุ, การจ้างงานแบบยืดหยุ่น เช่น

การทำงานบางช่วงเวลา (Part-time) การจ้างงานเหมาตามฤดูกาล การจ้างเหมาตามชิ้นงาน และควรมีการศึกษาเพื่อสร้าง Platform หรือการทำต้นแบบของสถานประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบ

การสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม ควรมีการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาทักษะฝีมือแก่ผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ เช่น อาชีพนักบริหาร วิทยากร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ส่ง

เสริมการทำงานของผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งกลุ่มอาชีพและรายบุคคล โดยอาจดำเนินการทดลองหารูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับความต้องการบริบทของพื้นที่ เป็นต้น

ที่มา : เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  25th Aug 15

จำนวนผู้ชม:  34477

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง