Sub Navigation Links

webmaster's News

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ค้นความสุขบนทางสายกลาง



นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ค้นความสุขบนทางสายกลาง



คำว่าทางสายกลาง เป็นสิ่งที่ถูกพร่ำสอนมาโดยตลอดในหลักศาสนาพุทธ แต่คงมีน้อยคนนักที่จะพบกับ "ความสุข" จากการปฏิบัติตามหลักนี้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหนึ่งในน้อยคนที่ว่านี้ก็คือ  "นพ.อำพล จินดาวัฒนะ" หรือที่หลายคนมักเรียกกันว่า "หมออำพล"  ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านสังคม ชุมชนเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งในวันนี้"รื่นรมย์คนการเมือง"จะได้มาถามถึงหลักการใช้ทางสายกลางของหมออำพล เพื่อถ่ายทอดมุมมอง แนวคิด ในมิติที่น่าสนใจ
          เปิดเส้นทางสู่เก้าอี้ "สปช."
          เมื่อเริ่มบทสัมภาษณ์ หมออำพล ได้เล่าถึงที่มาที่ไป ว่าเหตุใดจึงได้มาเป็น สปช.โดยเริ่มตั้งแต่ตอนทำหน้าที่เป็นหมออยู่ในชนบท รักษาคนมาเกือบ 10 ปี และได้เข้ามาทำงานในกระทรวงสาธารณสุขในเวลาต่อมา และเมื่อ 17 ปีก่อนหมออำพลก็เข้ามามีบทบาทเรื่องของการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ในการทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเรื่องสุขภาพไม่ได้อยู่แค่ที่โรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว และเมื่อมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ขึ้นมาในสมัยของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ซึ่งหมออำพล ก็ได้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการเป็นคนแรกด้วย
          มาถึงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะระเบียบสำนักนายกฯ ในขณะนั้นได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการที่หมออำพลดูแลอยู่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการให้กับคณะกรรมการปฏิรูปและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปที่มี"อานันท์ ปันยารชุน" อดีตนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานคณะกรรมการและมี นพ.ประเวศ วะสีราษฎรอาวุโส ทำหน้าที่เป็นประธานสมัชชา ในช่วงเวลานั้นหมออำพลจึงได้ตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการปฏิรูปขึ้นมา โดยส่งทีมงานไปทำงานในฝ่ายเลขาฯ ต่อมาในปี พ.ศ.2556 ระเบียบสำนักนายกฯนั้นก็จบไป แต่ก็ยังมีการตั้งหน่วยงานขับเคลื่อนด้านการปฏิรูปต่อ ดังนั้นก็จึงได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิรูปมาโดยตลอด
    &n bsp;     จนกระทั่งถึงเวลาที่กระแสการปฏิรูป ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง ในเวลาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เข้ามา ทางสำนักงานคณะกรรมการจึงเห็นว่าควรส่งบุคคลเข้ามามีส่วนตรงนี้จึงได้ส่งชื่อหมออำพลเข้ามา พร้อมกับ "ศิรินาปวโรฬารวิทยา" เข้ามารับการคัดสรรเป็น สปช.ด้านสังคม ซึ่งรับการคัดเลือกเข้ามาทั้ง 2 คนซึ่งเหตุผลที่มาเป็น สปช.ในด้านสังคมแทนที่จะเป็นในด้านของสาธารณสุขนั้นก็เป็นเพราะว่าเรื่องของสุขภาพนั้นไม่ใช่แค่ด้านสาธารณสุขอย่างเดียวแต่ยังเกี่ยวข้องกับด้านสังคมด้วย ประกอบกับประสบการณ์การทำงานช่วยเหลือคณะกรรมการปฏิรูปฯซึ่งต้องปฏิรูปหลายด้าน จึงคิดว่าเข้ามาเป็น สปช.ในด้านสังคมน่าจะมีความเหมาะสมมากกว่า อีกทั้งการเคยทำงานด้านการปฏิรูปมาก่อนนั้นก็ถือว่าเป็นต้นทุนอย่างดีทีเดียวในการทำงานเป็น สปช. เพราะไม่ต้องเริ่มศึกษางานด้านการปฏิรูปใหม่ทั้งหมด
          "พลังงาน-พลังเล่น" ต้องสอดคล้องกัน
          การเข้ามาทำหน้าที่ สปช. ของหมออำพลนั้นในห้วงแรก ก็ต้องเจอเสียงทัดทานจากครอบครัวอยู่บ้าง โดยเฉพาะ ทั้ง ลูกชาย และลูกสาวที่มองว่าพ่ออายุมากแล้ว ไม่น่าที่จะต้องทำงานหนัก  แต่ทั้งลูกและภรรยาก็เข้าใจหมออำพลว่าต้องการทำงานเพื่อประเทศชาติ ซึ่งภายหลังจากที่มาเป็น สปช.แล้วก็ต้องยอมรับว่าเวลาที่จะอยู่กับครอบครัวนั้นก็น้อยลงไปด้วย แต่แม้จะไม่มีเวลาอยู่ใกล้กัน ก็ยังโชคดีที่ปัจจุบันนั้นมีเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้ได้มีโอกาสพูดคุยกับครอบครัวและญาติพี่น้องได้ โดยไม่รู้สึกห่างเหินเท่าไรนัก
          หมออำพล เปิดใจว่า ตั้งแต่ทำงานมาจนถึงบัดนี้ ก็มีภารกิจงานปฏิรูปในหลายเรื่องที่ทำไม่เสร็จ อาทิ การสร้างสวัสดิการสังคม สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น การเตรียมความพร้อมกับการเป็นสังคมสูงวัยในอนาคต ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังไม่ประสบความสำเร็จในเชิงปฏิบัตินักดังนั้นการผลักดันเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นงานที่หนักสำหรับหมออำพล ที่ขณะนี้อายุเข้าวัย 63 ปีแล้วแต่ก็ถือว่าการได้เข้ามาทำตรงนี้นั้นเป็นโอกาสสำคัญที่ได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติดังนั้นจึงควรทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
           "ทุกวันนี้ใช้หลักคิดในการทำงานโดยต้องอาศัย 2 พลังด้วยกัน คือพลังงานและพลังเล่น ซึ่งเคล็ดลับนี้นั้นมีที่มาจากอาจารย์บุญธรรมเทิดเกียรติชาติ ปราชญ์ชาวบ้านที่ จ.นครศรีธรรมราช ที่สอนว่าพลังเล่นนั้นต้องสอดแทรกอยู่ในการทำงาน บางครั้งการทำงานนั้นไม่สามารถตัดออกจากการพักผ่อนได้
          ซึ่งบางคนนั้นไปคิดแบบแยกส่วน แต่จริงๆแล้วทั้ง 2 อย่างต้องอยู่ด้วยกัน ถ้ามีโอกาสควรจะเก็บเกี่ยวการผ่อนคลาย เก็บเกี่ยวการพักผ่อนในเวลาปกติ และถ้ามีเวลาก็จะไปพักผ่อนกับครอบครัวบ้าง"
        ;   "สุขภาพดี" ต้องสร้างด้วยตัวเอง
          เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น หมออำพล จึงเลยยกตัวอย่างการประสานคำว่าพลังงานและพลังเล่นไว้ด้วยกัน ว่าตลอดการทำงานเป็นระยะเวลา30 ปีที่ผ่านมานั้น  ต้องวิ่งออกกำลังกายเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เฉลี่ยวิ่ง 150 ครั้ง ต่อ 1 ปีโดย ที่ไปที่มานั้นก็เริ่มมาจากการที่หมออำพลได้เปลี่ยน จากสายงานที่เป็นหมอรักษาโรคตามชนบท มาเป็นงานของหมอส่งเสริมการป้องกันโรคที่มีหน้าที่สอนคนอื่นว่า สุขภาพที่ดีนั้นต้องสร้างจากตนเอง จะไปรอผู้อื่นหรือจะมารอหมอสร้างให้ไม่ได้
          ด้วยเหตุนี้ หมออำพล จึงเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่สมัยเป็นหมออยู่ที่ จ.ลพบุรี และต่อมาพอเป็น รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดที่ จ.พิษณุโลก เมื่อ 30 ปีก่อน พบว่าการวิ่งเพื่อสุขภาพเป็นกิจกรรมที่ยังไม่ค่อยเฟื่องฟูในประเทศไทย หมอจึงชักชวนชาวบ้าน และเพื่อนฝูงในจังหวัดมาวิ่งด้วยกัน โดยมีตั้งแต่การวิ่งระยะสั้น 5 กิโลเมตรไปจนถึงการวิ่งมาราธอน
          เมื่อได้ลองมาวิ่งแล้ว ทำให้เปลี่ยนความคิดจากตอนแรกที่คิดว่านักกีฬาเท่านั้นที่สามารถวิ่งได้มาเป็นคิดว่าทุกคนสามารถวิ่งได้หมด และเมื่อวิ่งนานๆเข้าก็จะกลายเป็นนิสัยการวิ่งถือได้ว่าเป็นการรีเซตและพักจิตใจจากความเหนื่อยล้าในการทำงานเป็นอย่างดีส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบไหลเวียนต่างๆ รวมไปถึงการนอนหลับดีขึ้น อีกทั้งการวิ่งก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและถูกที่สุด ใช้แค่รองเท้าที่เหมาะสมและพื้นที่เพียงแค่ 20 เมตรก็สามารถวิ่งได้
          แม้สมัยที่หมออำพลยังเป็นเลขานุการรัฐมนตรีสาธารณสุขเมื่อปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ.2550 งานจะเริ่มหนักขึ้น แต่หมออำพลก็ยังไม่ละทิ้งจากการวิ่ง หากมีเวลาหลังเสร็จงานก็จะวิ่งวนรอบระเบียงที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นประจำทั้งนี้หมออำพลยังฝากไปถึงผู้อ่านด้วยว่าการออกกำลังกายนั้น ไม่ควรจะอ้างว่าไม่มีเวลา การวิ่งใช้พื้นที่ที่แค่ 20 เมตรก็วิ่งได้แล้ว ถ้าอ้างว่าไม่มีเวลาก็แสดงว่าโกหกกับตัวเองและไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเอง
        &nb sp; เมื่อได้ถามต่อถึงเรื่องการรักษาสุขภาพ  หมออำพลเผยว่าเรื่องอาหารการกินนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญถ้าหากมีโอกาสก็ต้องกินอาหารที่มีผักให้มากขึ้นสิ่งที่ต้องระวังในอาหารก็มีเรื่องของน้ำตาล ที่ทำให้อ้วนและต้องระวังการบริโภคแป้งในปัจจุบันนั้นเครื่องดื่มประเภทกาแฟ เป็นสิ่งที่แพร่ หลายมากเมืองไทยส่วนมากคนไทยนิยมดื่มกาแฟเย็นและหวานทำให้น้ำหนักขึ้นอย่างรุนแรง ดังนั้นหมออำพลจึงแนะนำว่าทุกวันนี้ถ้าจะบริโภค กาแฟ ควรจะเป็นกาแฟดำ น้ำตาลไม่ควรจะใส่ ส่วนเรื่องคอฟฟีเมตนั้น ก็ยิ่งไม่ควรใส่เข้าไปใหญ่ เพราะเป็นไขมัน ที่อันตรายต่อสุขภาพและก็ยังมีเรื่องไขมันทรานซ์ที่ต้องระวังด้วย และเรื่องปริมาณการกินอาหารให้เหมาะสมนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญหากมื้อใดกินเยอะมื้อต่อไปก็ควรกินให้น้อยลง
        & nbsp; ทำสวน ในวันว่าง
          นอกจากเรื่องกินอาหารและเรื่องการออกกำลังกายแล้ว หมออำพลเปิดเผยว่ายังมีกิจกรรมยามว่างก็คือการทำสวน โดยมีที่ดินขนาดเล็กของหมออำพล อยู่ที่ปทุมธานี ซึ่งมีต้นไม้อยู่หลายประเภท ถ้าหากมีเวลาว่างก็จะไปสูดอากาศ ไปทำสวนที่นั่น ซึ่งก็เป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจที่ไม่ต้องใช้เงินอีกเช่นกัน ถ้าเป็นเรื่องของศูนย์ การค้า หมออำพลเปิดเผยว่าจะเข้าไปน้อยมากถ้า ไม่จำเป็น เพราะถือว่าศูนย์การค้าถือเป็นทางตรงข้ามกับชีวิตที่ควรจะเป็น เพราะไม่ใช่แหล่งที่ทำให้มีสุขภาพดีและทำให้เกิดการบริโภคที่มากเกินไป การบ ริโภคนั้นควรจะอยู่บนทางสายกลางไม่ควรใช้สิ่งของที่มีความฟุ้งเฟ้อมากเกินไป
          ทว่าขณะเดียวกัน  และก็ไม่ควรเคร่งครัดกับตัวเองมากเกินไป ควรใช้หลักทางสายกลางตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะดีที่สุด ซึ่งนี่ก็เป็นหลักง่ายๆ ที่หมออำพลใช้มาโดยตลอด เรื่องพักผ่อนก็เช่นกันต้องแบ่งให้เหมาะสม ไม่ควรใช้การพักผ่อนมาทำลายตัวเอง เช่นการไปพักผ่อนด้วยการดื่มเหล้าหรือเอ็นเตอร์เทนมากเกินไป  หมออำพลเปิดเผยว่าถ้าเรื่องพวกนี้ถ้าหากเลี่ยงได้ ก็จะเลี่ยง ถ้าหากจำเป็นต้องเข้าไปร่วม หรือมีนัดกันไปกับหมู่เพื่อนก็จะไปบ้างแต่น้อยมาก
          ยึดหลักธรรมในชีวิตประจำวัน
          นอกเหนือจากการใช้ชีวิตบนทางสายกลางที่หมออำพลได้ยึดถือแล้ว หมออำพลก็ยังถือว่าเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์พุทธทาสภิกขุ โดยเคยไปบวชเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2528 ก็ได้หลักธรรมสำคัญมาก็คือการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ถ้าเป็นพ่อ ก็ควรเป็นพ่อที่ดี เป็นหัวหน้าก็ต้องเป็นหัวหน้าที่ดีของลูกน้อง เป็น สปช. ก็ต้องปฏิรูปประเทศให้ดี ถ้าหากจากพ้นตำแหน่ง สปช. ไปแล้ว ถ้าถูกมอบหมายอะไรให้ทำอะไรก็ทำให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ นี่ก็คือการปฏิบัติธรรมแล้วเพราะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามธรรมชาติ ธรรมะก็คือหลักตามธรรมชาติ แล้วก็จะได้ผลออกมาตามหลักธรรมชาติที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากได้รับงานไหนที่ไม่ เหมาะ ก็คงจะปฏิเสธงานนั้นไป อีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของการลดความอยาก หมออำพลเผยว่าเห็นคนที่ยึดติดอยากเป็นตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ แล้วก็รู้สึกไม่สบายใจ ดังนั้นถ้าไม่คิดว่าจะเป็นอะไร ลดความอยาก ตัวเองก็สบายใจ
          ท้ายที่สุดแล้วหมออำพลก็ได้ฝากไปถึงผู้อ่านว่า อยากให้คนไทยทุกคนรักษาตัวเองทั้งเรื่องของสุขภาพกายและสุขภาพใจ ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอดี พอประมาณ ไม่ต้องฟุ้งเฟ้อจนเกินจำเป็นยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทางสายกลางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามหลักศาสนาพุทธ ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ชาติและสังคมเคารพศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เมื่อนั้นประเทศชาติก็จะพบกับความสงบสุข ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพสังคม

ที่มา  สยามรัฐ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  20th Jul 15

จำนวนผู้ชม:  37574

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง