Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ พินิจการเมือง: ว่าด้วยสมัชชาพลเมือง



คอลัมน์ พินิจการเมือง: ว่าด้วยสมัชชาพลเมือง



 พลเดช ปิ่นประทีป ประธานสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาwww.ldinet.org

          การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาวิกฤตและการออกแบบแนวทางการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีความคืบหน้าไปตามโรดแมปที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นในทุกประการ
          สาระสำคัญของข้อเสนอการปฏิรูปของ สปช. จำนวน 63 มติ ซึ่งครอบคลุมวาระการปฏิรูป 37 วาระ กำลังถูกลำเลียงต่อคิว เข้าสู่วาระการพิจารณาและลงมติอย่างไม่ขาดสาย

          เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่า การออกแบบในขั้นกรอบแนวคิดรวบยอดนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วอย่างครบถ้วนในทุกประเด็น ส่วนการออกแบบในขั้นกระบวนการและการจัดองค์กร กำลังจะทยอยผ่านการพิจารณาและคาดว่าจะสามารถลงมติได้ทั้งหมดภายใน 22 ส.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะส่งมอบ (ร่าง) รัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ให้กับประธาน สปช.

          ในรอบสองเดือนที่ผ่านมา ควรบันทึกไว้ว่าคำประกาศเจตนารมณ์ 4 ประการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มุ่ง 1) สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ 2) การเมืองใสสะอาดสมดุล 3) สังคมเป็นธรรม และ 4) นำชาติสู่สันติสุข นั้นเป็นที่พึงพอใจอย่างมากของเครือข่ายภาคประชาสังคมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่เรียกว่า "สมัชชาพลเมือง"อันที่จริงเครือข่ายภาคประชาสังคมเขารู้จักคุ้นเคยกับรูปแบบสมัชชาเช่นที่ว่านี้มานานกว่า 15 ปีแล้ว เพราะได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ครั้งเริ่มการขับเคลื่อนขบวนปฏิรูประบบสุขภาพในปี 2543
        &nbs p; ดังนั้น ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดออกมากำหนดกรอบข้อบังคับ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในเวทีภาคีพัฒนาประเทศไทย 4 องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องมาประชุมหารือกัน คือ สภาพัฒนาการเมือง สภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสถาบันชุมชน ท้องถิ่นพัฒนา รวมทั้งเครือข่ายประชาคมจังหวัด 77 จังหวัดทั่วประเทศ ในที่สุดได้ประเมินความพร้อมของข่ายงานภาคประชาสังคมเป็นรายจังหวัด และตัดสินใจร่วมกันว่าจะลงมือสร้างสรรค์รูปธรรมของสมัชชาพลเมืองระดับจังหวัดขึ้นมาสักจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นการสาธิต

      &nb sp;   1.ความหมายและคุณค่า
          สมัชชาพลเมืองเป็นเวทีกลางสำหรับการประชุมอย่างสม่ำเสมอของกลุ่ม องค์กรและเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วน ในการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และตัดสินใจร่วมกันในเรื่องที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม
          ในแง่ของการสร้างความเข้มแข็ง สมัชชาพลเมืองจึงเป็นเวทีฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพในการจัดการปัญหาของภาคประชาชน ส่วนในแง่ของการบริหารกิจการบ้านเมือง ก็ถือได้ว่าเป็นเวทีสร้างเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพในงานพัฒนาประเทศและชุมชนท้องถิ่น
          ; 2.วัตถุประสงค์ของสมัชชาพลเมือง
          สมัชชาพลเมืองมีวัตถุประสงค์ในการจัดการตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
          สมัชชาพลเมืองมีหน้าที่ในเชิงบวกแบบสร้างสรรค์และหนุนเสริมการทำงาน มากกว่าจะแสดงบทบาทในด้านการเรียกร้องกดดัน จับผิดหรือตรวจสอบหน่วยงานอย่างมีอคติ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเรียกหาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแต่อย่างใด
       &n bsp;  3.กระบวนการริเริ่มและก่อตั้ง
          ผู้สนใจก่อตั้งสมัชชาพลเมืองสามารถทำได้อย่างง่ายๆ โดยการรวมกลุ่ม องค์กรและเครือข่ายที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน จัดให้มีเวทีการประชุมพบปะกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองอย่างมีสาระและระเบียบวาระที่ชัดเจน เป็นกิจจะลักษณะ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะบ่อยแค่ไหนก็สุดแต่สภาพปัญหาและความขยันขันแข็งของบรรดาสมาชิก หากทำได้เช่นนี้ก็เกิดจิตวิญญาณความเป็นสมัชชาพลเมืองแล้ว ไม่ว่าจะเรียกชื่อเวทีนั้นว่าสมัชชาพลเมืองหรือไม่ก็ตาม
      &n bsp;   สมัชชาพลเมืองอาจเป็นสมัชชาในเชิงพื้นที่ เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบล ลุ่มแม่น้ำ หรือสมัชชาในเชิงประเด็น เช่น สมัชชาสุขภาพ สมัชชาคุณธรรม สมัชชาการศึกษา สมัชชาศิลปวัฒนธรรม ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเฉพาะใดๆ มาตีกรอบ
          ผู้เข้าร่วมเวทีสมัชชาพลเมืองส่วนใหญ่ควรเป็นตัวแทนของกลุ่ม องค์กรและภาคีเครือข่ายหลากหลายที่เป็นสมาชิก แต่ก็ไม่ควรปิดกั้นผู้สนใจและผู้สังเกตการณ์จากภายนอกที่ต้องการเข้าร่วม โดยกำหนดบทบาทแสดงที่ชัดเจน
          4.วิธีการดำเนินงาน
          สมัชชาพลเมืองที่มีคุณภาพควรดำเนินกระบวนการประชุมโดยกำหนดวาระหรือประเด็นหารือที่ชัดเจน และต้องใช้องค์ความรู้ ข้อมูลและข้อเท็จจริง ไม่ใช่เอาแต่ความคิดเห็นและอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวมาแลกเปลี่ยนกันโดยไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นงานระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาองค์ความรู้จึงเป็นหัวใจของเวทีสมัชชาพลเมือง
  &nbs p;       เทคนิคและกระบวนการประชุมที่เหมาะสม สร้างการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนกันอย่างกัลยาณมิตร การมีวิธีหาข้อสรุปแบบฉันทามติ ก็เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับเวทีสมัชชาพลเมือง
      &nb sp;   นอกจากนั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน คือ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการความสัมพันธ์ภายในเครือข่าย การสื่อสารติดต่อให้รู้ทั่วถึง และการแสดงบทบาทที่เหมาะสมของศูนย์ประสานงาน
          5.ข้อพึงระวัง
          สมัชชาพลเมืองไม่ควรเป็นรูปแบบ การจัดองค์กรที่แข็งกระด้างตายตัว ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นเรียกร้องให้เป็นองค์กร ในเชิงอำนาจ ควรสร้างเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และจิตอาสา ต้องปลูกฝังจิตสำนึก วิธีคิดและระบบคุณค่าความเป็นพลเมือง ไปพร้อมกัน

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  20th Jul 15

จำนวนผู้ชม:  34453

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง