Sub Navigation Links

webmaster's News

ลำปางผุด'โรงเรียนชาวนา'นำร่องปั้น40ทายาทเกษตร



ลำปางผุด'โรงเรียนชาวนา'นำร่องปั้น40ทายาทเกษตร



อัศวิน วงศ์หน่อแก้ว
          จังหวัดลำปางนอกจากที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อสร้างรายได้ทั้งในและต่างประเทศแล้ว ประชากรชาวลำปางยังมีรายได้จากอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการทำสวน ทำไร่ ทำนา และปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ โดยมีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมกว่า 102,179 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 41 ของจำนวนครัวเรือนใน จ.ลำปางทั้งหมด

          จ.ลำปางมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ทำนามากที่สุด จำนวน 555,210 ไร่ นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำหลักของภาคเหนือก็ว่าได้ แต่จากยุคโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะชาวนาได้เริ่มหายไป จากคนทำนาผันเปลี่ยนชีวิตเข้าสู่ เมืองใหญ่ เพื่อประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ขณะที่เยาวชนลูกหลานคนรุ่นหลังก็ไม่สนใจจะสืบทอดอาชีพการทำนา จึงทำให้ในอนาคตอาชีพการทำนาคงจะหาดูได้ยากในชีวิตประจำวัน
     &nb sp;    ด้วยความเป็นห่วงว่าอาชีพการทำนาจะสูญหายไป ทาง จ.ลำปางจึงจับมือกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง สมาคมส่งเสริมการพัฒนาสตรีและเยาวชนลำปาง สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง และสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ผุดโรงเรียนชาวนาของ จ.ลำปางขึ้นแห่งแรก ณ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวนาและเกษตรพื้นบ้าน บ้านใหม่พัฒนา ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง หรือ "โรงเรียนชาวนาพิชัย" เพื่อหวังที่จะให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเรียนรู้ และเกิดการสร้างทายาทเกษตรกรในอาชีพชาวนาคนรุ่นใหม่ขึ้น

       & nbsp;  ทั้งนี้ โรงเรียนชาวนาแห่งนี้เริ่มเปิดและลงทำนาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดย ธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวนาและเกษตรพื้นบ้าน ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง มี ศ.พญ.เกียรติคุณ สยมพร ศิรินาวิน ประธานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง สมาคมส่งเสริมการพัฒนาสตรีและเยาวชนลำปาง สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง และสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ร่วมกิจกรรมปลูกดำนาแบบดั้งเดิม ร่วมกับเยาวชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นรุ่นแรก 40 คน ตามที่คาดหวังว่าจะให้เป็นทายาทเกษตรรุ่นแรก โดยผู้ที่จบหลักสูตรจะได้เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของครอบครัวเกษตรกร และการทำการเกษตรที่บ้าน ไม่ต้องอพยพย้ายไปทำงานต่างถิ่นอีกต่อไป

          "ธานินทร์" ระบุว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไม่ได้ให้ความสนใจอาชีพทำงานด้านเกษตรกรรมมากนัก โดยเฉพาะอาชีพชาวนา ซึ่งภายหลังเรียนจบการศึกษาก็จะเข้าไปทำงานในภาคบริการและอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ และมุ่งเน้นวัตถุนิยม โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ ดังนั้นเพื่อขัดเกลาบ่มเพาะให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การใช้ชีวิต โดยเฉพาะจากการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพพื้นฐานของประเทศ ทาง จ.ลำปางโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง จึงได้ริเริ่มผนึกกำลังกับเครือข่ายภาคีเปิดศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวนาและเกษตรพื้นบ้าน ต.พิชัย เพื่อหวังดำเนินโครงการสร้างทายาทเกษตรขึ้น เพื่อเสริมสร้างทัศนคติของเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ความภาคภูมิใจในคุณค่าของการเป็นครอบครัวเกษตรและทำการเกษตรพื้นบ้านโดยการปฏิบัติจริง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะจากปราชญ์ชาวบ้านสู่ลูกหลานให้มีความชำนาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

     & nbsp;    "อาชีพชาวนาสามารถที่จะเป็นอาชีพที่เลี้ยงชีวิตและครอบครัวได้ หากเด็กๆ หรือคนรุ่นใหม่ได้นำไปใช้ได้จริงในปัจจุบัน จากเศรษฐกิจไม่ดีมีการเลิกจ้างงานกันมาก ส่วนค่าจ้างก็ไม่แพงและอาจจะไม่สามารถเลี้ยงชีวิตได้ การอยู่กับพ่อแม่ อยู่กับไร่กับนา จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ เช่น อยากกินอะไรก็ได้กิน ในบ้านเราเอง จึงอยากให้เกิดการเรียนรู้สืบทอดอาชีพนี้ต่อไป"
          ด้าน ศิริพร ปัญญาเสน ผู้อำนวยการโรงเรียนชาวนาพิชัย เสริมว่า โครงการทายาทเกษตรรุ่นแรกที่เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนมีทายาทเกษตรตัวน้อยอายุระหว่าง 5-14 ปีเข้าร่วมด้วย โดยการดำเนินงานฝึกให้ความรู้และสร้างแรงปลูกฝังด้านเกษตรกรรมจะดำเนินการระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม-30 กันยายน 2558 โดยจัดให้มีฐานการเรียนรู้ 6 ฐาน ได้แก่ การทำนาแบบดั้งเดิม, การแปรรูปข้าว ข้าวกล้อง, การปลูกผักปลอดภัยเพื่อใช้บริโภค, การทำปุ๋ยหมัก, การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำขนมพื้นบ้าน และกลุ่มจักสาน ซึ่งจะดำเนินการเฉพาะวันอาทิตย์ เพื่อให้สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กและเยาวชน ภายหลังการจบหลักสูตรเชื่อว่าทายาทเกษตรกรเหล่านี้จะได้นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
      &nbs p;   "โรงเรียนชาวนาพิชัยหวังปลูกฝังให้เยาวชนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้เสริมสร้างทัศนคติของเด็กและเยาวชนให้มีความภาคภูมิใจในคุณค่าของการเป็นครอ บครัวชาวนาและครอบครัวเกษตรพื้นบ้าน มุ่งหวังให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติจริงให้มีความรู้กรรมวิธีการทำนา ปลูกผักอนามัย และการผลิตอาหารปลอดภัย ทำปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี"

          ส่วน "สมพร เจียรประวัติ" เกษตรจังหวัดลำปาง ตบท้ายว่า โครงการทายาทเกษตรในโรงเรียนชาวนาแห่งนี้จะสร้างแรงภูมิใจและปรับทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพการเกษตร มีความภูมิใจในการทำอาชีพเกษตรกรรมที่หล่อเลี้ยงชาวไทยมาช้านาน และสร้างรากฐานการดำรงชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้ อยากให้เด็กและเยาวชนสนใจ และอยากให้ลองมาศึกษาสัมผัสสักครั้งในชีวิต เพื่อลดการมุ่งแต่ด้านวัตถุนิยม ได้รับการขัดเกลาบ่มเพาะ ได้เรียนรู้การใช้ชีวิต เพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา ยังคงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ที่มา มติชน

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  20th Jul 15

จำนวนผู้ชม:  34639

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง