webmaster's News
![]() |
![]() |
![]() |
หนังสือ ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปประชาธิปไตย :นโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง![]() สามารถอ่านเนื้อหาและดาวโหลดได้ที่ คลิ๊กคำนำและกิตติกรรมประกาศ ความผกผันและบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยในช่วงทศวรรษที่ ผ่านมาอาจทำให้ผู้คนเครียด เหนื่อยหน่าย และสิ้นหวังได้ง่ายๆ ตลอดช่วงเวลา กว่า 10 ปีของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรังและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จน กระทั่งเกิดรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 การแสดงออกทางการเมืองส่วนใหญ่ เป็นการชุมนุมทางการเมือง (Demonstration) มากกว่าการอภิปรายถกแถลง (Deliberation) เพื่อหาทางออกร่วมกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างของระบบ การเมืองไทยได้ทำให้เกิดการแบ่งแยกแตกขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรง ปัญหา ความขัดแย้งทางสังคมทวีความรุนแรงมากขึ้นจนทำให้การหาทางออกด้วยการ อภิปราย ถกแถลงหรือแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุและผลเป็นไปไม่ได้ ระบบรัฐสภากลายเป็นกลไกที่เอาชนะคะคานกันด้วยจำน วนคะแนนโหวต มากกว่าที่จะเอาชนะกันด้วยเหตุผลหรือข้อเสนอที่ดีกว่า การแลกเปลี่ยนความ เห็นระหว่างคนที่เห็นต่างในพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ก็แทบจะไม่เหลือพื้นที่สำหรับ สติปัญญาและการไตร่ตรอง ร่วมกัน พื้นที่สื่อเต็มไปด้วยความรุนแรง มีการด่าทอ ประจาน เสียดสี ใช้ข้อความอันเป็นเท็จหรือใส่ความกันซึ่งๆ หน้า ยิ่งความขัด แย้งทวีมากขึ้น คู่กรณีก็ยิ่งทวีความเกลียดชังซึ่งกันและกัน หลายกรณีรุนแรง ลุกลามเกินกว่า ประทุษวาจา ไปถึงขั้นทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน บางราย ลุกลามไปถึงขั้นตามไปคุกคามครอบครัว หรือญาติพี่น้องของคู่ขัดแย้ง การพูด คุยสนทนากันเกิดการแบ่งขั้วกันโดยปริยาย ต่างฝ่ายต่างคุยกันภายในกลุ่มที่คิด เห็นเหมือนๆ กัน คนที่คิดเห็นต่าง หากไม่ทำตัวเงียบลงหรือไม่ปลีกตัวออกจาก วงสนทนานั้นเสีย ก็อาจถูกขับไสไปเสียจากวงสนทนา ถ้าจะถือว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีรากฐานมาจากการรับฟัง ความคิดเห็นของกันและก ัน การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างคนที่มี ความคิดเห็นแตกต่างกันจึงเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ที่ผ่านมา ระบอบประชาธิปไตยที่ใช้ในสังคมไทยให้ความสำคัญกับอำนาจหน้าที่ของผู้ แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในระบอบประชาธิปไตย แต่กระบวนการตัดสินใจต่างๆ ในด้านนโยบายหรือ ทิศทางการพัฒนาประเทศนั้น มีมากกว่าการเดินเข้ามาในห้องประชุมแล้วยกมือ เพื่อนับคะแนนเสียง การใช้สติปัญญาพิจารณาข้อมูล การถกแถลงชี้แจงให้เห็น ถึงมุมมองหรือความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อการไตร่ตรองร่วมกันให้ได้คำตอบหรือ ทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดเป็นอีกหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เราอาจเรียกประชาธิปไตยที่ เน้นกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันนี้ว่า ประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง เป็นประชาธิปไตยที่เน้นให้ทุกฝ่ายที่มีความ เห็นต่างกันได้มาถกแถลง ชี้แจงเหตุผล อภิปรายทางออก และโน้มน้าวกันด้วย ข้อเท็จจริงและข้อมูลความรู้ทางวิชาการ เพื่อที่จะได้ร่วมกันไตร่ตรองหาทางออก ที่ดีที่สุดร่วมกัน ที่ผ่านมา แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรองจะยังไม่ค่อยมีปรากฏ ให้เห็นเป็นรูปธรรมในประเทศไทยมากนัก แต่ในต่างประเทศ สถาบันหลายแห่ง มีการนำแนวคิดดังกล่าวไปทดลองใช้ออกแบบสถาบันทางการเมืองและออกแบบ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างน่าสนใจ ในประเทศไทย การปฏิรูป ระบบสุขภาพได้มีความพยายามสร้างพื้นที่สำหรับการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะมาแล้วระยะหนึ่ง โดยเฉพาะการจัด ทำธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และ กระบวนการสมัชชาสุขภาพ ที่ล้วนแต่เน้นการเชื้อเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมา อภิปรายแลกเปลี่ยนและหาข้อตกลงร่วมกัน แม้ว่าประเด็นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่รูปแบบและกระบวนการที่ใช้ก็อาจเป็นตัวอย่างของ ความพยายามที่จะสร้างพื้นที่ทางการเมืองที่เน้นการถกแถลงและการร่วม ไตร่ตรองของภาคส่วนต่างๆ ตามแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง จึงอาจเป็ นบทเรียนที่มีคุณค่าพอสมควรสำหรับการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยใน ยุคปฏิรูปในปัจจุบัน งานศึกษาชิ้นนี้จะสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ( สช.) โดยเฉพาะคุณทิพิชา โปษยานนท์ และทีมงาน สช. ทุกท่านที่มีความอดทน อ่อนน้อม และพร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกๆ เรื่อง จนทำให้งานชิ้นนี้สำเร็จลงได้ ขอขอบคุณ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ให้ โอกาสในการทำงานวิชาการอย่างเต็มที่ ขอบคุณทีมนักวิจัยโครงการทุกคนที่ ทุ่มเทและอดทนกับการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และแก้ไขงานเขียนรอบแล้วรอบ เล่าจนกลายเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ ขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้อ่านและให้ความ เห็นเพื่อการปรับแก้งานวิจัย ขอขอบคุณทีมงานที่สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ โดยเฉพาะคุณมธุรส ศิริสถิตย์กุล ผู้ประสานงานโครงการ คุณสุภาพร พรภคกุล ที่ช่วยดูแลต้นฉบับและการจัดพิมพ์ คุณภาวิณี สวัสดิมานนท์ และฝ่ายบริหารที่ อำนวยความสะดวกในทุกๆ เรื่อง และขอขอบคุณทีมงานที่สำนักวิจัยสังคมและ สุขภาพทุกท่านที่ให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจนงานเขียนชิ้นนี้เสร็จ สิ้นได้ตามกำหนด โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ มิถุนายน 2558 |
||
|
เข้าสู่ระบบ to rate อันดับความนิยม:![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
อัพโหลดโดย: webmaster วันที่อัพโหลด: 17th Jul 15 จำนวนผู้ชม: 36375 ความคิดเห็น: 0 ข่าวที่ชื่นชอบ: 0 หมวด: หนังสือ |
๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง
|