Sub Navigation Links

webmaster's News

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ชวน นนส.สร้างเครือข่ายพลเมืองไทย ลบจุดอ่อน สร้างการจัดการที่ดี ทำงานบนฐานความรู้ และกำหนดประเด็นร่วมที่มีพลัง



นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ชวน นนส.สร้างเครือข่ายพลเมืองไทย ลบจุดอ่อน สร้างการจัดการที่ดี ทำงานบนฐานความรู้ และกำหนดประเด็นร่วมที่มีพลัง



เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 สำนักสนับสนุนการปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) จัดเวทีเปิดพื้นที่ทางสังคม (Open public space) “นนส. 55 – 58: สานสัมพันธ์ เชื่อมความคิด สานทิศทาง สู่อนาคต” ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในโอกาสที่สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดงานประชุมวิชชาการ “ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย” ในโอกาส 9 ปี สช. บรรยากาศในเวทีเป็นการรวมตัวของนักสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (นนส.) รุ่น 2555 – 2558 กว่า 100 ชีวิต เพื่อมาพบปะแลกเปลี่ยนเชื่อมความสัมพันธ์ของนักสานพลังฯ ร่วมกัน

ภายในงาน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้เปิดเวทีพูดคุยในหัวข้อ “จุดประกายแรงบันดาลใจ” โดยกล่าวว่า การเชื่อมโยงกันไปมาในธรรมชาติของเครือข่าย นนส. ที่เป็นอยู่นี้นับว่าดีมาก หมายถึงว่า หากเราเหนื่อย เราก็ถอยออกไป แต่ถ้าเราอยากจะกลับเข้ามา เราก็แค่กลับเข้ามาหาเพื่อน มาเชื่อมร้อยการทำงานร่วมกัน ขณะนี้เรามีเป้าหมายที่จะพัฒนา นนส.ให้ครอบคลุมทั่วประเทศรวม 5,000 คน จากปัจจุบันมีอยู่ 368 คน นี่คือฝันใหญ่ แต่เราก็อยากจะทำให้ได้ เรามีฝันร่วมกันเช่นนั้น แล้วให้เครือข่ายของเราไปเชื่อมกันเครือข่ายอื่นๆ เข้าไปอีก

นพ.อำพลยังได้กล่าวถึงรูปแบบของการอภิบาลว่า เรื่องของการอภิบาลระบบมีคนเข้าใจอยู่น้อย จึงอยากจะนำเสนอไว้ในดังนี้ การอภิบาลระบบมี 3 รูปแบบคือ การอภิบาลโดยรัฐ การอภิบาลโดยตลาด และการอภิบาลโดยเครือข่าย ทั้งนี้หากพิจารณาการอภิบาลทีละรูปแบบจะพบว่า การอภิบาลโดยรัฐอย่างเดียว แม้จะสำคัญ แต่เพียงรัฐอย่างเดียวนั่น ยังทำอะไรได้ไม่มาก ซึ่งปัจจุบันเรามักจะเห็นการอภิบาลโดยรัฐ กับอภิบาลโดยเครือข่าย ซึ่งก็คือภาคประชาสังคม มักจะทำงานไปพร้อมกัน แต่ที่ไม่ค่อยเห็นคือการอภิบาลโดยตลาด ซึ่งขยับขยายใหญ่โตมาก ทั้งนี้สิ่งที่ นนส.เป็นคือ เป็นการอภิบาลโดยเครือข่าย ซึ่งความจริงแล้วการอภิบาลทั้งหมด พอรวมกันก็เป็นการอภิบาลโดยเครือข่ายนั่นเอง

จากนั้นกล่าวถึงการเป็นนักสานพลังที่ดีว่า คือการมีเพื่อน มีภาคีเครือข่าย การมาร่วมกันในเวทีนี้ ให้แต่ละท่านตรวจสอบดูว่า เราได้มีเพื่อนเพิ่มขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ต้องมีกึ๋นที่ดี มีปัญญาดี สามคือมีเครดิตทางสังคม เครดิตนี้หมายถึงการมีความน่าเชื่อถือ ไม่ได้อยู่ที่อำนาจ หรือตำแหน่งแต่อยู่ที่เรามีความน่าเชื่อถือ ไว้วางใน ยอมรับนับถือหรือไม่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องสร้าง ประเด็นต่อไป คือการมีศิลปะในการทำงาน เชื่อมคน เชื่อมงาน เชื่อมเครือข่ายสุดท้ายความเป็นมืออาชีพ หมายถึงอะไรที่มีข้อบกพร่อง เราตองทำให้ดีขึ้น และเป็นนักเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตและทำสิ่งที่เราทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

ในการนี้ยังกล่าวถึงการเชื่อมโยงในปัจจุบันว่า ประเด็นแรกคือการเชื่อมโยงกันทางกายภาพ ปัจจุบันเราเดินทางไปมาหาสู่กันได้ทั่วโลกแล้ว เชื่อมสองคือการเชื่อมโยงของมนุษย์ ผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์ค แต่ก่อนเราจากกันกับเพื่อน เราก็จากกันไปเลย แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เราสามารถกลับมาเจอกันได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นเป็นมิตรกันไว้ดีกว่า วันหนึ่งเราอาจจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เชื่อมโยงที่สามคือการเชื่อมโยงขององค์กร ถ้าขังตัวเองอนู่แบบนั้นโลกก็จะแคบลง ทำงานได้ยากขึ้น สี่คือการเชื่อมโยงกับโลกเสมือนจริง ยกตัวอย่างการสื่อสารในเครือข่ายออนไลน์ อย่างโปรแกรมไลน์ (Line) ที่เราใช้สื่อสารกัน

สุดท้าย นพ.อำพลได้ทิ้งประเด็นสำคัญเรื่องการเสริมจุดแข็งเครือข่ายพลเมืองไทยว่า เรากำลังมุ่งไปสู่เป้าหมายของการทำประเด็นนี้ร่วมกัน การที่ตน (นพ.อำพล) เข้าไปเป็นสปช. (สภาปฏิรูปแห่งชาติ) ก็เพื่อทำงานเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายพลเมือง ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องพูดถึงในที่นี้ก็คือ นนส.นับเป็นเครือข่ายหนึ่งของพลเมืองไทย พวกเรามีสำนึกเพื่อบ้านเมือง ไม่นิ่งนอนใจต่อประเด็นสาธารณะ แม้ต้องทำงานหากิน แต่ยังคำนึงถึงสาธารณะ

โดย นพ.อำพลได้ยกแนวคิดของ “คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ได้พูดไว้เมื่อ 13 ธันวาคม 2557 ว่า ต้องเสริมจุดแข็งเครือข่ายพลเมืองไทย 3 เรื่องที่ต้องทำ และขณะนี้ยังเป็นจุดอ่อนคือ หนึ่งเครือข่ายพลเมืองไทยต้องมีต้องมีการจัดการที่ดี ต้องรู้จักการเชื่อมโยงเครือข่ายกันเอง และต้องมีการจัดการร่วมกัน สองต้องทำงานข้อมูล งานวิชาการ ความรู้ ตรงนี้เป็นจุดอ่อน ที่มักจะพูดไปเรื่อย แต่ไม่ทำข้อมูลความรู้ ในสังคมไทยความรู้และข้อมูลไปอยู่ที่ผู้มีอำนาจ เราต้องเอาข้อมูลของเรากลับมาแล้วเราจะสามารถไปต่อกรกับคนอื่นได้ เพราะเรารู้จริงในสิ่งที่เราทำ ในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ และสามกำหนดประเด็นร่วมที่มีพลัง เครือข่ายพลเมืองเหมือนกับน้ำที่ขังอยู่ในแอ่งต่างๆ แต่ถ้าน้ำมารวมกัน มันจะมีพลังมากมาย มองประเด็นทำงานร่วมกัน ไม่ใช่มองประเด็นใครประเด็นมัน พลังจะลดลง หนึ่งเราต้องรู้จักประเด็นที่เราทำ สองต้องรู้จักยกระดับให้ประเด็นใหญ่ขึ้น เชื่อมโยงเข้าหากัน

    อยากจะฝากสามประเด็นนี้ไปร่วมกันคิด หาประเด็นใหญ่แล้วเชื่อมงานเข้าหากัน ซึ่งต้องมีการทำข้อมูลความรู้ด้วย และมีการจัดการร่วมกัน ไม่ใช่อยู่แค่เรารอดูว่าใครจะมีอะไรมาให้เราทำแล้ว เราค่อยทำจากสิ่งที่เขาให้ทำ มันก็จะเป็นแอ่งน้ำแอ่งเดิมที่มีปริมาณ แต่ไม่มีพลัง”


ที่มา http://www.samatcha.org/areahpp

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  29th Jun 15

จำนวนผู้ชม:  35442

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   การประชุมวิชชาการ 9 ปี สช.

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง