Sub Navigation Links

webmaster's News

ชาวลำพูนร่วมคิดร่วมทำ ทบทวนก้าวแรกสู่ก้าวที่สองอย่างมั่นคง บนหลักการ 3 ระดับสมัชชาสุขภาพ 4 มิติภาคีขับเคลื่อน



ชาวลำพูนร่วมคิดร่วมทำ ทบทวนก้าวแรกสู่ก้าวที่สองอย่างมั่นคง บนหลักการ 3 ระดับสมัชชาสุขภาพ 4 มิติภาคีขับเคลื่อน



กระบวนการสมัชชาสุขภาพลำพูน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นควบคู่กับระบบประกันสุขภาพ นับตั้งแต่แนวคิดการจัดการสุขภาพผ่านบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย จนกระทั่งการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมีกลไกหลายภาคส่วนที่ร่วมขับเคลื่อน และเติบโตควบคู่กัน โดยกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ.2556 – ปัจจุบัน เป็นการยกระดับศักยภาพของเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ซึ่งมีการหนุนเสริมจากสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้แต่ละจังหวัดมีการผลักดัน ถกแกลง และยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายนำไปสู่การจัดทำเป็น “มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” ภายใต้กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 บัญญัติไว้ให้จัดขึ้นปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง

ที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน (สสจ.ลำพูน) รับผิดชอบเป็นหน่วยเลขา ทำหน้าที่บริหารจัดการ และอำนวยความสะดวกให้เกิดกระบวนการสมัชชาสุขภาพได้เป็นอย่างดี ฟูมฟักกระบวนการสมัชชาสุขภาพคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้าสู่กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจำนวน 6 ครั้ง อีกทั้งได้ร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพในกลุ่มจังหวัดล้านนา (ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด) ผลักดันมติที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม เช่น น้ำมันทอดซ้ำ ผักปลอดภัย ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปัญหาการฆ่าตัวตาย(สุขใจไม่คิดสั้น) ปัญหาการท้องไม่พร้อม(คุณแม่วัยใส) เป็นต้น  โดยใช้กระบวนการสมัชชาฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับ ไตรภาคี โดยยึด ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ภาควิชาการ ภาครัฐหรือผู้กำหนดนโยบาย และภาคประชาชน ร่วมถกแถลง และนำไปสู่การผลักดันมติสมัชชาในระดับชาติในแต่ละครั้ง ที่มีการจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติขึ้น

จนกระทั้งปี 2556 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้มีแนวทางการจัดการกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ รูปแบบใหม่ กล่าวคือได้สนับสนุนให้ประชาชนในแต่ละจังหวัดมีสิทธิในการกำหนดนโยบายทางสุขภาพของตนเอง ผ่านการะบวนการ “สมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูน” ซึ่งเป็นกระบวนการ 3 ภาคส่วน ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชน โดยมีหน่วยงานหนุนเสริมเรียก หน่วยเลขานุการกิจ ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กลไก คณะกรรมการบริหาร ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละจังหวัดมีรูปแบบการจัดการที่แตกต่างกัน โดยได้รับการสนับสนุน และคำแนะนำจาก สำนักปฏิบัติการพื้นที่ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ อย่างใกล้ชิดจนทำให้เกิดกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูนขึ้นในปี 2557 ภายใต้วาระร่วมด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเกิด 3 ระเบียบวาระของคนลำพูนในได้แก่

1) ความมั่นคงด้านอาหาร            ผู้เกี่ยวข้องหลัก สถาบันวิจัยหริภุญชัย

2) น้ำมันทอดซ้ำ               &nbs p;         ผู้เกี่ยวข้องหลัก งานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

3) ผักปลอดภัย               &nbs p;           ผู้เกี่ยวข้องหลัก งานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

โดยในปีแรกนับเป็นกระบวนการเรียนรู้การตั้งต้นขึ้นรูประเบียบวาระของสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูน และเป็นการวางรากฐานของกระบวนการสมัชชาในสภาวะ ที่มีข้อจำกัดที่หลากหลาย ทั้งบุคลากร งบประมาณ ความชัดเจนของการปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นกลไกที่ยืดหยุ่นสูง (คิดเป็นระบบ ทำงานเป็นธรรมชาติ) ทำให้หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานภาคประชาสังคมเกิดความสับสน ลังเล ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการสร้างความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับสภาวะบ้านเมืองที่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการบริหารประเทศ แต่ท้ายที่สุดก็สามารถทำให้เกิดกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูน และผลักดันประเด็นสุขภาพของคนลำพูนเป็นเสมือนแบบฝึกหัดประชาธิปไตยด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ร่วมกระบวนการ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นวาระร่วม (หน้าหมู่) ซึ่งท้ายที่สุดกระบวนการดังกล่าวได้ถูกพัฒนาแนวคิด วิธีการให้มีความสมบูรณ์ขึ้นโดยลำดับ

จากการได้ร่วมดำเนินโครงการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพตามแนวคิดวิถีวัฒนธรรม จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2556 โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วย 3 ภาคส่วนได้แก่ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม นำไปสู่การเชื่อมองค์กรภาคสังคมที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำพูนอันได้แก่ สมาคมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาบันวิจัยหริภุญชัย และเครือข่ายองค์กรชุมชน ซึ่งนับเป็นพัฒนาการในการเริ่มสานงานอย่างหลวมๆ เพื่อทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมลงมือ ร่วมรับผลประโยชน์ ภายใต้กระบวนการ “สมัชชาสุขภาพ” ซึ่งนำไปสู่การออกข้อมติ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมต่อมติ โดยมีรากฐานที่สำคัญจากภาครัฐ และภาควิชาการ นำโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำพูน ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถึงบทบาท ข้อจำกัด ตลอดจนช่องทางในการทำงานร่วมกันในอนาคต เพื่อขยายผลของนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างประโยชน์แก่ประชาชน

นอกจากการได้ร่วมคิด และปฏิบัติงานบนความหลากหลายขององค์กร คณะทำงานและภาคีได้รับประสบการณ์ และแนวคิดเพื่อขยายผลต่อในอนาคตได้ โดยสรุปเป็น 3 ระดับสมัชชาสุขภาพ 4 มิติภาคีขับเคลื่อน

 

3 ระดับสมัชชาสุขภาพ

            ภายใต้การทำงานของสมัชชาสุขภาพก่อให้เกิดกระบวนการทำงาน ความเข้าใจมากขึ้น  ได้แก่
          สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เกิดความเข้าใจถึงกระบวนการพัฒนานโยบาย การส่งต่อ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมติสมัชชาในแต่ละครั้ง ซึ่งหลังจากสมาชิกได้ลงมือทำและหาช่องทางส่งต่อมติจังหวัดนำไปสู่ความเข้าใจตลอดจนช่องทางการขับเคลื่อนมติในระดับชาติ ระดับ จังหวัดมากขึ้น

          สมัชชาสุขภาพล้านนา เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด(กลุ่มจังหวัด) ส่งผลถึงความเข้มแข็งในระดับภาค หรือเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนแนวคิด พัฒนาการ และวิธีการทำงานในแต่ละจังหวัด ให้เข้าใจวิธีการทำงาน ความสำเร็จ ข้อจำกัด ได้รู้ทุกข์ สุข ของแต่จังหวัด เพื่อหนุนเสริมกับเสมือนลมใต้ปีกของกันและกัน

          สมัชชาสุขภาพจังหวัด เกิดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ซึ่งปีแรกถือว่ามีข้อจำกัด ความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ในหลายด้านที่เป็นปัญหา แต่ภายใต้จุดอ่อน กลับค้นพบโอกาสในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีทั้ง 3 ภาคส่วน อีกทั้งได้พัฒนาบุคลากรของจังหวัดให้มีคุณภาพเพื่อก้าวเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ในวาระต่างๆ

 

  4 มิติภาคีขับเคลื่อน

            ในการทำงานนอกจาก 3 ภาคนส่วนข้างต้นกลับค้นพบพลังสำคัญอีกด้านคือ ภาคเอกชน และเกิดกระบวนการทำความเข้าใจตลอดจนจัดความสัมพันธ์ภายในภาคี ได้แก่

          ภาคีภาครัฐ/ท้องถิ่น เกิดความเข้าใจในวิธีการทำงานระหว่างภาคประชาชน และภาครัฐ ซึ่งภาครัฐต้องอาศัยคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่สนใจร่วมกระบวนการสมัชชาได้มีช่องทางร่วมกระบวนการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องเป็นการยกระดับงานที่ทำประจำให้เป็นศักยภาพใหม่ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่หน่วยงานต้นสังกัดจะได้รับ

       &nb sp;  ภาคีภาควิชาการ เกิดการต่อยอดแนวคิดจากกระบวนการทางวิชาการ การสอน การวิจัย นำมาสู่การยกระดับวิชาการสู่นโยบาย ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการเสริมประสิทธิภาพผลงานวิชาการให้มีความสำเร็จมากขึ้น ชัดเจน แหลมคม และส่งผลไปสู่การเปิดหัวข้อใหม่ในการผลิตงานวิชาการ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงออกทางวิชาการ นิทรรศการ ผลงานที่เกิดขึ้นของกลุ่มเครือข่าย โรงเรียน สถานบันการศึกษา ที่ต้องการพื้นที่นำเสนอผลงาน ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานเหล่านั้น

          ภาคีภาคประชาสังคม เกิดกระบวนการเรียนรู้จากภายใน ก่อให้เกิดการยอมรับ จัดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดทัศนะคติที่ดีต่อกระบวนการสมัชชาสุขภาพอย่างเข้มข้น และเห็นความสำคัญของช่องทางการยกระดับกิจกรรมที่ทำสู่แนวทางนโยบายสาธารณะ แบบมีส่วนร่วม

           ภาคีภาคเอกชน/ภาคธุรกิจ ภายในกระบวนการสมัชชาจังหวัด ภาคธุรกิจ ภาคเอกชนให้ความสนใจต่อกระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นอย่างมาก ทั้งการเข้าร่วมกิจกรรม การแสดงความคิดเห็นตลอดจนการสนับสนุนในมิติต่างๆ เนื่องจากเป็นการสร้างช่องทางในการสื่อสารระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน โดยมีภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจเกษตรอินทรี เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เข้าร่วมกระบวนการและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

จากภาพรวมตลอดโครงการ และการจัดงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูนนับเป็นพัฒนาการสำคัญ อันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจของสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่จะเป็นเสมือนพื้นที่ฝึกฝนบุคลากร พัฒนาศักยภาพ และยกระดับสิ่งที่ทำภายในจังหวัดให้เกิดกระบวนการยอมรับแบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายหลังจากข้อมติได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือประโยชน์ที่สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ได้รับภายใต้โครงการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูน

ที่มา http://www.samatcha.org/areahpp/

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  2nd Jun 15

จำนวนผู้ชม:  35291

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

หนังสือ ก่อ – ร่าง – สร้าง – เคลื่อน บทเรียนธรรมนูญสุขภาพ 6 พื้นที่ เล่ม 5 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

หนังสือ ก่อ – ร่าง – สร้าง – เคลื่อน บทเรียนธรรมนูญสุขภาพ 6 พื้นที่ เล่ม 5 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553

จาก: webmaster

Views: 36019

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ( ลำพูน ) ตอน ก้าวที่สองสมัชชา กระบวนการสุขภาพจังหวัดลำพูน : นฤเทพ พรหมเทศน์

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ( ลำพูน ) ตอน ก้าวที่สองสมัชชา กระบวนการสุขภาพ จังหวัดลำพูน : นฤเทพ พรหมเทศน์

จาก: webmaster

Views: 35482

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ตอน เดินหน้าสมานฉันท์ เดินหน้าเขตสุขภาพเพื่อประชาชน  โดย นฤเทพ พรหมเทศน์   : ลำพูน

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ตอน เดินหน้าสมานฉันท์ เดินหน้าเขตสุขภาพ เพื่อประชาชน โดย นฤเทพ พรหมเทศน์ : ลำพูน

จาก: webmaster

Views: 35871

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ( ลำพูน ) ตอน ลำพูนจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 : นฤเทพ พรหมเทศน์

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ( ลำพูน ) ตอน ลำพูนจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างมติส มัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 : นฤเทพ พรหมเทศน์

จาก: webmaster

Views: 35423

...More