Sub Navigation Links

webmaster's News

เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กลาง/ตอ. วางยุทธศาสตร์ 3 ปี 3 แนวทาง สู่สังคมสุขภาวะ “คนดี เครือข่ายดี กลไกดี มีประสิทธิภาพ”



เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กลาง/ตอ. วางยุทธศาสตร์ 3 ปี 3 แนวทาง สู่สังคมสุขภาวะ “คนดี เครือข่ายดี กลไกดี มีประสิทธิภาพ”



เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กลาง/ตอ. วางยุทธศาสตร์ 3 ปี 3 แนวทาง สู่สังคมสุขภาวะ “คนดี เครือข่ายดี กลไกดี มีประสิทธิภาพ”

เวทีเชื่อมเครือข่ายสานพลังขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ของเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ภาคกลาง/ตะวันออก จัดไปเมื่อปลายเดือนมีนาคม โดยความสำคัญของเวทีดังกล่าวนี้ จัดขึ้นเพื่อระดมความคิด ในการวางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่จะประกาศใช้ร่วมกันในอีก 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2558 – 2560) ทั้งนี้กระบวนการในการวางยุทธศาสตร์ร่วมกันนั้น จะเริ่มจากการร่วมกันคิดภายในแต่ละพื้นที่ จากนั้นจะสรุปสาระสำคัญออกมาเป็นยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค ก่อนจะนำยุทธศาสตร์ของแต่ละภาค มาหลอมรวมกันเป็นยุทธศาสตร์ระดับประเทศ และประกาศใช้

สำหรับเวทีภาคกลาง/ตะวันออก วันนี้ บรรยากาศของเวทีเชื่อมเครือข่ายสานพลังฯ เต็มไปด้วยความคึกคัก วงคุยของเรา เริ่มต้นเวทีด้วยการแบ่งกลุ่มระดมสมองเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มโซน 6 จังหวัดภาคกลาง กลุ่มโซน 8 จังหวัดภาคตะวันตก กลุ่มโซนจังหวัดภาคตะวันออก และกลุ่มโซนกรุงเทพ และปริมณฑล ระดมสมองกันกว่าครึ่งวัน จากนั้นเป็นการเปิดเวทีให้แต่ละพื้นที่ส่งตัวแทนมานำเสนอแนวคิด และข้อเสนอในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนานโยบายฯ

ดังเช่น โซน 8 จังหวัดภาคตะวันตก นำเสนอผลสรุปจากการระดมสมองโดยคุณสุนทร สุริโย นักสานพลังจากจังหวัดกาญจนบุรี รุ่น 2557 กล่าวว่า ในอนาคตหากจะทำให้สังคมภาคตะวันตกน่าอยู่ และอยู่ได้นั้น มีประเด็นสำคัญที่ต้องช่วยกันดูแล ประกอบด้วย เรื่องสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหาร การสร้างสังคมที่เป็นธรรม การการมีส่วนร่วม และการวางยุทธศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ประเด็นเหล่านี้ขับเคลื่อนไปได้นั้น จำเป็นต้องทำให้ประชาชน มีบทบาทในฐานะพลเมือง จึงต้องมียุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นเจ้าของในการพัฒนานโยบายสาธารณะ นอกจากนี้ต้องมียุทธศาสตร์การเสริมสร้างกลไกในการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ กำหนดพื้นที่เป้นหมายเพื่อขยายผลพื้ นที่รูปธรรม ยุทธศาสตร์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยมองว่าจะต้องสร้าง และเปิดพื้นที่สื่อเป็นภาคีร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน และให้ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่สื่อสาร และเป็นการสื่อสารเพื่อจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์สุดท้ายคือการบริหารยุทธศาสตร์ ต้องมีการสร้างยุทธศาสตร์ มีแผนที่นักยุทธศาสตร์ในพื้นที่ตะวันตก ตั้งแต่ระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับภาค และวางแผนการขับเคลื่อนเพื่อให้ยุทธศาสตร์เป็นจริงได้

ส่วนโซนจังหวัดภาคตะวันออก นำเสนอผลสรุปจากการระดมสมอง โดยนายบุญสืบ จันทร์เจริญ สมัชชาสุขภาพฉะเชิงเทราว่า เป้าหมายร่วมในการระดมความคิดเห็นมี 6 เป้าหมาย เป้าหมายแรกคือบูรณาการภาคีเครือข่าย ใช้ยุทธศาสตร์เน้นเรื่องการสร้าง ผลึกกำลังของภาคีเครือข่ายที่เสมือนเพื่อร่วมงาน กลยุทธ์ คือการสร้าง สนับสนุนให้กลุ่มภาคีทำงานเป็นภาคีมากขึ้น และขยายเครือข่าย

สร้างกระบวนการพัฒนาเครือข่าย สร้างเครือข่ายได้อย่างไร กระบวนการอย่างไรที่จะเกิดการมีส่วนร่วมจากฐานล่าง เพื่อเป็นแถวปฏิบัติร่วมกัน ทั้งระดับส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่าง

เป้าหมายที่ 2 คือการสร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของร่วม โดยยุทธศาสตร์คือให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะร่วมกัน พร้อมจัดทำฐานข้อมูลนโยบายสาธารณะฯ โดยทำการพัฒนาฐานข้อมูลระดับพื้นที่ และทำผังเมืองจังหวัดร่วมกัน

เป้าหมายที่ 3 คือให้สมัชชาเป็นที่รู้จัก วางยุทธศาสตร์ให้เน้นการทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เน้นเรื่องการใช้สื่อมวลชน และสื่อเครือข่ายสังคม (Social Media) นอกจากนี้ใช้สื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้ผลิตสื่อไปยังกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และสุดท้ายคือการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบที่ทันสมัย เข้าถึงวัยรุ่น

เป้าหมายที่ 4 เป็นเรื่องการสร้างความเข้าใจเรื่องสมัชชาสุขภาพ มียุทธศาสตร์หลักเรื่องการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย การสร้างสภาพลเมือง การสร้างครู ก ครู ข ยุทธสาสตร์การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พัฒนากลไกการขับเคลื่อกระบวนการเรียนรู้สมัชชาสุขภาพ

เป้าหมายที่ห้า เรื่องการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาค มียุทธศาสตร์คือการพัฒนาตามอัตลักษณ์ที่สำคัญของคนภาคตะวันออก กลยุทธ์คือจัดเวทีวางอัตลักษณ์แบบมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางอาหาร เรื่องของการสร้างเกษตรอินทรียร์ การจัดการเกษตรที่ครบวงจร มีกลยุทธ์คือการประกาศนโยบาย การสร้างเครือข่ายเกษตรอินเทรีย์ และการเชื่อมโยงเครือข่าย และสุดท้ายเป้าหมายร่วมที่ 6 เรื่องการประเมินผลกระทบ CHIA ยุทธศาสตร์คือการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน

โดยหลังจากการนำเสนอของแต่ทั้ง 4 โซนจบลง คุณวันพิพัฒน์ คมภักดี ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพโซนภาคกลาง/ตะวันตก ได้ขึ้นกล่าวสรุปสาระสำคัญของแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับประชาชนภาคกลางประจำปี พ.ศ. 2558 – 2560 ที่เครือข่ายแต่ละพื้นที่ได้ระดมความคิดร่วมกันว่า จากการประมวลข้อมูล สรุปได้ 3 แนวทางหลักคือ คนดีมีประสิทธิภาพ เครือข่ายดีมีประสิทธิภาพ และกระบวนการดี มีประสิทธิภาพ กระบวนการในที่นี้หมายถึงการทำกระบวนการนโยบายสาธารณะ รวมถึงการผลักดันนโยบาย ทั้งหมด โดยประเด็นจากการระดมความคิดนั้นสามารถนำ 3 แนวทางนี้มากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ดังนี้

แนวทาง “คนทำงานดีมีประสิทธิภาพ” ยุทธศาสตร์คือการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้เชิงนโยบานสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่นร่วมภาคีเครือข่าย กลยุทธ์คือการสร้างความเข้าในในการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย บูรณาการ ใช้เครื่องมือของทุกภาคีเครื่อข่าย ไม่ยึดโยงเฉพาะ พรบ.สุขภาพ 2550 เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนานักสานพลัง และการพัฒนาคนในพื้นที่ในทุกภาคส่วน

แนวทาง “เครือข่ายดี มีประสิทธิภาพ” ยุทธศาสตร์คือ การพัฒนาระบบการอภิบาลเครือข่าย หรือการบริหารจัดการเครือข่ายในรูปแบบของการเป็นเพื่อน ทำอย่างไรถึงจะเจอเพื่อน เราต้องวิเคราะห์ และค้นหาภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวช้อง และสร้างภาคีเครือข่ายที่เสมือนเพื่อนร่วมงาน และทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของนโยบายสาธารณะร่วมกัน

แนวทาง “กลไกการทำงานดี มีประสิทธิภาพ” ยุทธศาสตร์คือ สร้างกลไกการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์คือการจัดทำฐานข้อมูลระดับพื้นที่ และพัฒนาระบบกลไกการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์กลไกการหนุนเสริมการจัดทำนโยบายเชิงพื้นที่/เชิงประเด็น กลยุทธ์คือการจัดทำนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทพื้นที่ ยุทธศาสต์สามคือกกไกการหนุนเสริมกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสถขภาพแบบมีส่วนร่วม

โดยทั้ง 3 แนวทางเหล่านี้เป็นภาพรวมของ 4 กลุ่ม ซึ่งคุณวิจิตต์ สีมา รอง สสจ. จังหวัดสระแก้ว ได้เสริมว่า ไม่อยากให้แยกระหว่างนักสานพลังกับคนทำงาน ดังนั้นจึงต้องตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรคนทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะจะสามารถได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเรื่องของเครือข่าย ทำอย่างไรเราจึงจะรักษาเครือข่ายเดืมที่มีอยู่ และเพิ่มเครือข่ายหน้าใหม่เข้ามาเป็นเพื่อน เป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเดิมเราอาจจะมองเรื่องของการพัฒนาระดับจังหวัด หรือในภาพใหญ่ แต่ทำอย่างไรเราจึงสามารถทำงานลงลึกในระดับชุมชนได้ด้วย นอกจากนี้ที่อยากเน้นคือเรื่องประสิทธิภาพของการสื่อสาร สช. (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) มีสื่อสิ่งพิมพ์เยอะมาก แต่ทำอย่างไร ที่จะใช้สื่อเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อให้ให้เกิดเป็นการขับเคลื่องงานในระบบประชาธิปไตยทางตรงที่เป็นความต้องการของประชาชนที่แท้จริง ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การเกิดเป็นกระแสขึ้นทั่วประเทศ

จากนั้นในเวทีได้เปิดพื้นที่ให้เครือข่ายได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากการสรุปเวทีอีกครั้ง ซึ่งมีผู้ยกมือเสริมข้อมูลในประเด็นเครือข่ายจะม ีการขยาดภาคีเครือข่าย และประเด็นการสร้างองค์ความรู้ จะมีการพัฒนาโครงสร้างตามหลักธรรมาภิบาล มีประเด็นกลไกการทำงาน เพิ่มเข้ามาว่า ต้องมีการส่งเสริมเครือข่าย การสร้างผังเมืองร่วมกัน การหนุนเสริมการบริหารยุทธศาสตร์ โดยการการเชื่อมโยงเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม รวมถึงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ทั้งในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีกระบวนการประเมินผลแบบเสริมพลัง ทั้งในระดับแกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย

โดยภายในงานครั้งนี้ มีเครือข่ายผู้พิการเข้าร่วมแสดงความเห็นด้วย และได้ยกมือเพิ่มเติมประเด็นเรียกร้องขอความเป็นธรรมเรื่องเบี้ยสวัสดิการคนพิการ ที่แม้ขึ้นทะเบียนคนพิการแล้ว แต่ยังต้องรอไปอีก 1 ปีจึงจะได้เบี้ยคนพิการ จึงอยากเรียกร้องให้เครือข่าย หากเห็นความสำคัญของคนพิการ ก็ให้ช่วยกันส่งเรื่องไปยัง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลของแต่ละจังหวัด เพื่อปลดล๊อคให้กับคนพิการได้รับเบี้ยทันที ซึ่งในการนี้เครือข่ายสมัชชาภาคกลางต่างยกมือเป็นมติให้สนับสนุนปลดล๊อคเบี้ยคนพิการ

ทั้งนี้นอกจากการสรุปประเด็นภาพรวม และประเด็นเสริมแล้ว ในระยะต่อไ ปจะมีการนำแนวทางการระดมสมองพัฒนายุทธศาสตร์ในเวทีครั้งนี้ ไปจัดทำข้อมูลโดยคณะทำงานเพื่อทำให้ประเด็นแหลมคมมากยิ่งขึ้น

ก่อนปิดเวทีพัฒนายุทธศาสตร์ฯ อาจารย์กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้กับเครือข่ายสมัช ชาสุขภาพภาคกลาง/ตะวันตกไว้ว่า หัวใจของการเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ต้องสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะรากเหง้าของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการร่วมมือร่วมใจกันของคนในหลากหลายภาคส่วน หลากหลายพื้นที่ ที่ใช้เวลา 7 ปีในการร่วมกันกำหนด พรบ.ร่วมกันทั้งประเทศ การเริ่มต้นของเรา เป็นการจัดกระบวนการกับแบบเรียนรู้ไปทำไป จนกลายเป็นระบบที่ชัดเจนขึ้น ใน พ.ศ. 2550 เราเริ่มมีการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดสมัชชาสุขภาพระดับพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ที่สำคัญเราเชื่อมร้อยภาคีเครือข่ายด้วยหัวใจ

สำหรับภาคกลางเมื่อย้อนวันเวลากลับไปที่ครั้งแรกของการตั้งวงคุยกันนั้น เป็นการร่วมกันคุยอย่างต่อเนื่อง เราคุยกันบนเรือระหว่างล่องเรือไปด้วยกัน ว่าเราอยากจะเห็นอะไรใน พรบ.สุขภาพบ้าง ร่วมคิดร่วมทำกันมาจนมาถึงวันนี้ วันที่เราได้มาวางยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดอนาคตคนภาคกลางร่วมกันในอีก 3 ปีข้างหน้านับจากนี้

ดังนั้นเมื่อจบจากเวทีนี้ไป ความมุ่งหมายคืออยากให้แต่ละพื้นที่หยิบเอายุทธศาสตร์ที่เราตกลงร่วมกันในวันนี้ ไปคุยกัน วิเคราะห์ตัวเอง จังหวัดของเรา เครอข่ายของเรา ว่ายังขาดอะไร ยังจะเติมเต็มอะไรได้บ้าง วันนี้เราได้ประเด็นร่วมในระดับภูมิภาค แต่ในระดับจังหวัด เราต้องการอะไร และจะเคลื่อนต่ออย่างไร ต้องการการสนับสนุนจากเพื่อนเครือข่ายอย่างไร พิจารณาดูว่ากลไกระดับจังหวัดของเรามีหรือไม่ 5 ตัวจี๊ดของจังหวัดมีแล้วหรือยัง เหล่านี้จะทำให้การคุยกันทั้งสองวันนี้ไม่เสียเปล่า

ส่วน สช.ขอปวรณาตัวเป็นหน่วยสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพในทุกประเภท กระบวนการก็เป็นการจัดไปเรียนรู้ไป ในช่วงเริ่มต้นก็อาจจะสมบูรณ์บ้าง บกพร่องบ้าง แต่กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้เราได้ให้ความสำคัญกับการยึดโยงกันเป็นเครือข่ายร่วมกัน เป็นลมใต้ปีกของกันและกัน ที่จะพากันไปสู่สังคมสุขภาวะ

และหวนให้ย้ำอีกซักครั้ง…

If you want to go fast You go alone “ถ้าคุณคิดจะไปให้เร็ว คุณจะต้องเดินไปคนเดียว”

if you want to go far we go together “ถ้าคุณคิดจะไปให้ไกล เราจะไปด้วยกัน”

ที่มา http://www.samatcha.org/areahpp

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  2nd Jun 15

จำนวนผู้ชม:  34536

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง