Sub Navigation Links

webmaster's News

กำหนดทำเว็บไซต์ราคากลางรพ.เอกชน



กำหนดทำเว็บไซต์ราคากลางรพ.เอกชน



กรุงเทพฯ * สบส.ประชุม รพ.เอกชนแก้ปัญหาค่ารักษาแพงเกินจริง มีมติต้องมีจุดแสดงค่ารักษาพยาบาลอย่างชัดเจน ส่วนกรณีป่วยฉุกเฉินยังต้องมีการหารือกันใหม่ ด้านกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพออกแถลงการณ์เสนอรัฐแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
           ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระ ทรวงสาธารณสุข วันที่ 18 พฤษภาคมนี้ มีการประชุมร่วมกันระหว่าง สบส. สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และตัวแทนสถานพยาบาลเอกชนจากพื้นที่ กทม.ทั้งหมด 104 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนแพงเกินจริง โดยมี นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส., ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สบส., นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคม รพ.เอกชน, นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช เลขาธิการสมาคม รพ.เอกชน รวมถึงตัวแทน รพ.เอกชนจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ รพ.กรุงเทพและในเครือ รพ.วิภาราม รพ.วิชัยยุทธ รพ.บางประกอก 9 รพ.ในเครือนวมินทร์ รพ.รามคำแหง รพ.กรุงเทพคริสเตียน รพ.บางนา รพ.ยันฮี รพ. บำรุงราษฎร์ รพ.เกษมราษฎร์ รพ.กล้วยน้ำไท รพ. ธนบุรี รพ.บางนา และ รพ.ศรีวิชัย เป็นต้น โดยใช้เวลาในการประชุมกว่า 2 ชั่วโมง
          นพ.ธเรศกล่าวภายหลังประชุมว่า เป็นการหารือในประเด็นข้อร้องเรียนค่ารักษาพยาบาลตามกรอบกฎหมายที่มีอยู่คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งที่ประชุมมีมติร่วมกันคือ 1.รพ.เอกชนทุกแห่งต้องมีจุดแสดงค่ารักษาพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการแล้ว แต่อาจจะต้องทำให้เข้มงวดมากขึ้น คือขอให้มีการตั้งจุดในการซักถามเพิ่มเติม หรือมีการติดสัญลักษณ์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงในการซักถามข้อมูลมากขึ้น นอกจากนี้ หากผู้ป่วยสงสัยสามารถขอดูค่ารักษาได้ 2.การทำเว็บไซต์กลาง เพื่อแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการของ รพ.เอกชน จะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของ สบส. คือ www.thailandmedicalhub.net เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบราคาและพิจารณาตัดสินใจในการเลือกรับบริการ ซึ่งเบื้องต้นจะใส่ค่าหัตถการ 80 รายการในกลุ่มโรคที่พบบ่อย ซึ่งอ้างอิงตามกรมบัญชีกลาง และจะให้ รพ.เอกชนเป็นผู้แจงราคาของแต่ละแห่งลงในเว็บไซต์
          3.กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน รพ.เอกชนทุกแห่งยินดีช่วยเหลือเข้าร่วมตามโครงการนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่จะต้องมีการพัฒนาเรื่องระบบเบิกจ่ายร่วมกัน เพื่อให้เกิดการบริการที่ดี ไม่เป็นภาระทั้งผู้ป่วยและ รพ.เอกชน ซึ่งเรื่องนี้จะมีการหารืออีกคณะทำงานหนึ่งในวันที่ 19 พ.ค.2558 สำหรับเรื่องค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชนในภาพรวมจะนำข้อสรุปเบื้องต้นและข้อเสนอแนะของ รพ.เอกชนเข้าสู่คณะทำงานชุดที่ รมว.สธ.แต่งตั้งขึ้น
          ด้านกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้ออกแถลงการณ์ว่า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพขอแสดงความขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในขั้นต้น ต่อข้อเรียกร้องที่ต้องการให้รัฐบาลพัฒนากลไกควบคุมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน อย่างไรก็ตาม ขอย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพิ่มเติมที่สามารถตอบสนองต่อปัญหาอย่างชัดเจนและทันต่อกาล ในการนี้ ขอสนับสนุนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงตามข้อเสนอของชมรมแพทย์ชนบท และกลุ่มผู้เสียหายทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ดังนี้
          ข้อเสนอระยะสั้น 1.ให้ รมว.สธ.ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามมาตรา 35 (4) ประกอบมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
          1.1 ให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน ยุติการเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยและญาติในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินภายในเวลา 72 ชั่วโมง หรือจนกว่าสัญญาณชีพจะอยู่ในภาวะคงที่ หรือปลอดภัยเพียงพอที่จะนำส่งไปรับการรักษาพยาบาลต่อในโรงพยา บาลต้นสังกัดตามสิทธิ์ของผู้ป่วย ยืนยันขอให้ดำเนินกระบวนการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
          1.2 ให้โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมีหน้าที่ในการส่งต่อผู้ป่วยไปยัง รพ.ตามสิทธิ์
          1.3 ให้ 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพ (สปสช. สปส. กรมบัญชีกลาง) ดำเนินการจัดหาเตียงสำรองให้เพียงพอ หากจัดหาให้ไม่ได้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
        &nbs p; 1.4 ให้ภาครัฐดำเนินการทำข้อตกลงกับ รพ. เอกชน เกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินของ 3 กองทุน และให้มีบทลงโทษสำหรับ รพ.เอกชนที่ไม่ทำตามเงื่อนไขดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
          2.กระทรวงสาธารณสุขต้องประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทราบว่า โรงพยาบาลไม่มีสิทธิ์บังคับผู้ป่วยและญาติให้เซ็นรับสภาพหนี้ เพราะเป็นสิทธิ์ของประชาชนในการใช้บริการ รพ.เอกชน ในกรณีฉุกเฉิน ตามมาตรา 36 และตามประกาศว่าด้วยการใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน 3 กองทุน
          3.ห้ามสถานพยาบาลกักตัวผู้ป่วยหากไม่เป็นเหตุอันก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิต หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดทางอาญา
          ข้อเสนอระยะกลาง (ภายในเวลา 3 เดือน)1.ให้กระทรวงสาธารณสุขออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการหนึ่งชุดที่มีองค์ประกอบจากทุกฝ่าย และมีสัดส่วนภาคประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน เพื่อติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสถานพยาบาลตามข้อ 1 และให้คณะกรรมการสถานพยาบาลรายงานผลดำเนินการต่อกรรมการชุดนี้ทุก 2 เดือน และดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานผ่านสื่อสาธารณะทุกครั้ง
          2.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขปรับคณะกรรมการสถานพยาบาลในมาตรา 7 (2) ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวน 5 คน ให้เป็นผู้แทนจากภาคประชาชนที่เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์และภาคีเครือข่ายเป็นผู้เสนอ
        &nb sp; 3.ให้คณะกรรมการสถานพยาบาลทำหน้าที่ ตามมาตรา 11 (4) ในการควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานพยาบาล ให้รวมถึงการวินิจฉัย การรักษา ที่มากเกินความจำเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา หรือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อื่นๆ ที่แพงเกินจริง
          4.การดำเนินการเรื่องราคายา ให้มีการบังคับใช้ clinical practice guideline อย่างเคร่งครัด และการให้มีการใช้ยาชื่อสามัญ (generic) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วย
          5.ขอให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดการออกพระราชบัญญัติยาที่มีการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยภาคประชาชน ทั้งนี้ ต้องยืนยันไม่ให้มีการตัดเรื่องกลไกการควบคุมราคายาตามที่กลุ่มบริษัทยาคัดค้านไว้
          6.เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบและลดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและการปฏิรูปประเทศ จึงควรให้มีการเปิดเผยข้อมูลประโยชน์ทับซ้อนของแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องในรัฐบาล สนช. สปช. และแพทยสภา
          ข้อเสนอระยะยาวใน 1 ปี1.ควบคุมการทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ไม่ให้มุ่งเน้นผลกำไร แต่มุ่งเน้นการดำเนินการทางมนุษยธรรม ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้มีการสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยคนไทยในทุกสิทธิ์ ทั้งในกรณีฉุกเฉินและการรับส่งต่อจากโรงพยาบาลภาครัฐในกรณีอื่นๆ โดยให้กองทุนหลักประกันสุขภาพร่วมกับตัวแทนโรงพยาบาลเอกชน ในการกำหนดราคาในการรักษาพยาบาลที่เป็นธรรม ไม่ค้ากำไรเกินควรและไม่โกงราคา
          2.ยกเลิกการสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจโรง พยาบาล และเร่งรัดการออกกฎหมายควบคุมการควบรวมกิจการการแข่งขันทางการค้า
          3.เปิดให้มีการสมัครใจของโรงพยาบาลเอกชน ที่จะดำเนินการด้านบริการสาธารณะให้เป็นการดำ เนินการแบบองค์กรสาธารณประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น
          ทั้งนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเห็นด้วยในการปรับปรุงคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ระบบสาธารณสุข ระบบวิชาชีพการสาธารณสุขต่างๆ โดยดำเนินการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่เห็นด้วยที่จะดำเนินการโดยใช้มาตรการ ม.44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 โดยควรเป็นไปแบบประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน.

ที่มา ไทยโพสต์

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  22nd May 15

จำนวนผู้ชม:  35266

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง