Sub Navigation Links

webmaster's News

จับตาเทรนด์ใหม่วัสดุก่อสร้างปลอดแร่ใยหิน



จับตาเทรนด์ใหม่วัสดุก่อสร้างปลอดแร่ใยหิน



ภายหลังกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากแร่ใยหิน มีมติและประกาศว่า"ไครโซไทล์" (แร่ใยหิน) ทุกชนิดเป็นอันตรายต่อมนุษย์ เพราะเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจรวมถึงโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดและมีมติให้เลิกใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 ที่ให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่กลับยังไม่มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง
          ทั้งที่ในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายหันมาใช้วัสดุทดแทนเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า ซึ่งมีคุณภาพดีและมีราคาใกล้เคียงกับวัสดุที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินในปัจจุบัน อาทิ สารทดแทนประเภท PVA ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ ช่างรวมถึงเจ้าของบ้านผู้อยู่อาศัยท่ามกลางข้อเรียกร้องของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และภาคประชาสังคม ผ่านเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย (T-BAN) ซึ่งต้องการให้ภาครัฐหันมาให้ความสนใจกับสุขภาวะอนามัยของคนไทย แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจและการค้า รวมถึงผลกระทบที่ตามมา!!
          ดังนั้น แนวทางการป้องกันความเสี่ยงจากพิษภัยและอันตรายจากแร่ใยหิน โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่คืบคลานเข้ามาใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น จึงเหลือเพียงช่องทางของความรู้เท่าทัน และการรับรู้ข้อมูลด้วยตนเอง ที่ในปัจจุบันคงมีเพียง "ฉลากผลิตภัณฑ์" และ "คำแนะนำ" จากผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ที่จะเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ได้
          สมบุญสี คำดอกแค" แกนนำเครือข่ายรณรงค์ยกเลิกแร่ใยหินแห่งประเทศไทย(T-BAN) กล่าวว่า ที่ผ่านมาแร่ใยหินที่มีใช้กันในอุตสาหกรรมไทยมากว่า 30-40 ปีและมีผสมอยู่ในสินค้าหลากหลายประเภทโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมประเภทวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ทั้งในกระเบื้องมุงหลังคาและท่อซีเมนต์ ซึ่งเมื่อมีการระเหยหรือการตัดเจียร ก็จะเกิดเป็นฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายเมื่อมีการสูดดมเข้าไปก็จะก่อให้เกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอดตามมา รวมถึงโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งเยื้อหุ้มปอด ซึ่งมีข้อมูลผู้ป่วยจำนวนมาก และมีประกาศยืนยันจากองค์การอนามัยโลก หรือWHO โดยกว่า 50 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการใช้ไปแล้วก่อนหน้านี้ ฉะนั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานจึงกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง และกรณีของพิษภัยที่เกิดจากแร่ใยหินนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในข้อเรียกร้องของกลุ่มแรงงานที่ต้องการให้ภาครัฐหันมาบังคับใช้กฎหมายและยกเลิกการใช้แร่ใยหินอย่างเคร่งครัด ในวันแรงงาน 1 พ.ค.นี้ด้วย
          "นอกจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานแล้ว อันตรายและพิษภัยจากแร่ใยหิน ยังมีแนวโน้มลุกลามไปยังกลุ่มผู้บริโภคโดยมีการสำรวจพบผู้ป่วยแล้วหลายรายในประเทศไทย จึงเป็นข้อเรียกร้องต่อภาครัฐเกี่ยวกับการให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 แต่ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร จึงเหลือแต่เพียงการขอความร่วมมือและปลุกจิตสำนึกรับผิดชอบให้กับภาคเอกชน ร้านค้า และผู้บริโภคที่จะร่วมมือกันลดความเสี่ยงของคนไทยต่อโรคร้ายอย่างโรคมะเร็งเยื้อหุ้มปอดที่เกิดจากแร่ใยหิน ผ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่แจ้งเตือนถึงข้อมูลต่างๆ ให้ได้รับทราบ" แกนนำเครือข่าย T-BAN กล่าว
          ขณะที่สถานการณ์การใช้แร่ใยหินในประเทศไทย และแนวทางการสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคเอกชน ร้านค้า และผู้รับเหมา กำลังอยู่ในช่วงของการรณรงค์ผ่านฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อกระจายข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากแร่ใยหิน ให้ลงไปสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
          สมมาตร อ้วนสกุลเสรี" เจ้าของร้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี กล่าวว่าที่ผ่านมาทางร้านก็ได้ให้ข้อมูล และชี้ให้เห็นถึงฉลากแจ้งเตือนบนผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วนผ่านทั้งการปิดป้ายหน้าร้าน และการให้คำแนะนำ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าทดแทนที่ไม่มีส่วนผสมของวัสดุจากแร่ใยหินทั้งในด้านราคาที่มีความแตกต่างกันน้อยมากรวมถึงในด้านความคงทนแข็งแรงที่กลับพบว่ามีความแข ็งแรงมากขึ้น ค่าของความเสียหายจากสินค้าทั้งการขนส่งและการเก็บลดลงเดิม10% เหลือเพียง 2% เท่านั้น
          "ในปัจจุบัน ผู้บริโภคเข้าใจและกลายเป็นกระแส โดยประมาณ 80% ของผู้บริโภค เมื่อเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างก็จะเน้นลงไปเลยว่าจะต้องไม่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ซึ่งในส่วนนี้ก็อยากขอความร่วมมือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ผลิตรายใหญ่ ร่วมกันให้ข้อมูลและรณรงค์ ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อโรคร้าย ที่จะต้องเสียงบประมาณในการรักษา และให้ประชาชนได้ข้อมูลที่ถูกต้อง สำหรับการตัดสินใจในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง"
          ทั้งหมดนี้คือสถานการณ์ล่าสุดของการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยที่เรื่องของการยกเลิกและบังคับใช้กฎหมาย อาจถูกเมินจากภาครัฐแต่จากความพยายามของหลายฝ่ายที่พลิกโฉมจากการเรียกร้องภาครัฐ กลายมาเป็นการขอความร่วมมือ และนำไปสู่กระแสสำนึกแห่งความรับผิดชอบร่วมกัน อาจเป็นส่วนสำคัญที่จะกำหนดอนาคตสุขภาพของคนไทยให้ห่างไกลจากแร่ใยหิน และความเสี่ยงจากโรคร้ายอย่างมะเร็งปอด เพื่อเดินหน้าสู่ยุคใหม่ ยุคที่ภาคอุตสาหกรรมและสังคมไทยจะปลอดจากแร่ใยหินอย่างถาวร

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  28th Apr 15

จำนวนผู้ชม:  35359

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง