Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.รุกหนัก 4 ภาคขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ



สช.รุกหนัก 4 ภาคขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ



นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดเผยว่า สช.ตระหนักถึงความสำคัญของการนำธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ไปขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม ที่ส่งผล ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพและคุณค่าอันสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่ น จึงได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกิดจากการมีและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ เพื่อนำข้อเสนอไปปรับใช้ ทั้งในเชิงสาระและกระบวนการเพื่อทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติทุก 5 ปี

“สช.โดยสำนักพัฒนาวิชาการและการจัดการความรู้ (สวค.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนการปฏิบัติการพื้นที่ (สปพ.) จะจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้หัวข้อ “จากธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่สู่การทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย.58 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานผ่านกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ให้นำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดทั้งมีข้อเสนอนโยบายเพื่อการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติในระยะต่อไป”

รองเลขาธิการ สช.กล่าวว่า ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2522 ภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับแรกของประเทศที่เกิดจากความร่วมมือกันของภาคีทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อมุ่งไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างให้เกิดเจตนารมณ์และพันธสัญญาร่วมกันของสังคมต่อภาพอนาคตของระบบสุขภาพ

ทั้งนี้การดำเนินงานตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่ ผ่านมา ได้สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายสามารถจัดทำธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ของตนได้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ แห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ที่จัดทำและประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่หลายระดับ ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และรายประเด็น ซึ่งผลจากการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ที่ผ่านมา พบว่าการพัฒนาและ ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ มีชุดความรู้ ประสบการณ์การทำงาน และองค์ความรู้อย่างมากมาย รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ต่อไป

ก่อนหน้านี้ได้มีการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่หลายแห่งเกิดเป็นรูปธ รรม อาทิ เป็นกติกาหรือข้อตกลงร่วมกับชุมชน จับต้องได้ และตอบสนองความต้องการของพื้นที่ โดยมีแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นเครื่องมือในการใช้งาน ซึ่ง สช.ได้ดำเนินงานในลักษณะกลุ่ม “กระบวนการประชาเสวนาหาทางออก” (Citizen dialogue) เพื่อตอบโจทย์ภาพอนาคตของระบบสุขภาพไทยในมุมมองของประชาชน โดยจัดรับฟังความคิดเห็น 5 เวที 4 ภาค ได้แก่ ภาคกลางที่ จังหวัดกาญจนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเหนือ ที่จังหวัดนครสวรรค์ ภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และเวทีที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังจัด “กระบวนการลูกขุนพลเมือง” รับฟังความคิดเห็นต่อนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ รูปแบบใหม่ ใน 2 ประเด็นคือ เรื่องการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวและเรื่องการบริการสุขภาพ

ที่มา บ้านเมือง

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  16th Apr 15

จำนวนผู้ชม:  34874

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง