Sub Navigation Links

webmaster's News

สั่งระงับขายยาแก้หวัดผสมซูโดอีเฟด



สั่งระงับขายยาแก้หวัดผสมซูโดอีเฟด



   สั่งร้านระงับขายยาแก้หวัดผสมซูโดอีเฟดรินนำเป็นสารตั้งต้นใช้ผลิตยาเสพติด ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มติกรรมการยาสั่งระงับขายยาแก้หวัด สูตรผสมซูโดอีเฟดรินในร้านขายยา หลังพบ มีผู้ลักลอบนำไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติด อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ รพ.รัฐ และเอกชน ที่รับผู้ป่วยค้างคืน พร้อมเสนอยาสูตร ทดแทน “เฟนิลเอฟริน” หากประชาชนจำเป็นต้องใช้ ให้ถาม
  เภสัชกร อย.เตรียมแจ้งมติกรรมการยาไปยังร้านขายยาทุกแห่งที่ถูกกฎหมายแล้ว นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการยา ซึ่งมี นพ.ทนงสรรค์ สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีการปรับสถานะของยาแก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของซู โดอีเฟดรีน (Pseudoephedrin) เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาในการนำยาสูตรผสมชนิดนี้ไปใช้เป็นสารตั้งต้นผลิต ยาเสพติด
  ซึ่งล่าสุดที่ประชุมมีมติให้ปรับสถานะยาแก้หวัดชนิดเม็ด/แคปซูล ที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน 3 สูตร ได้แก่ 1.สูตร Pseudoephedrin กับ Triprolidine 2.สูตร Pseudoephedrinกับ Brompheniramine และ 3.สูตร Pseudoephedrin กับ Chlorpheniramine จากยาอันตราย ที่ต้องจำหน่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น ให้ยกสถานะเป็น “ยาควบคุมพิเศษ” โดยมีเงื่อนไขให้จำหน่ายได้เฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะจัดทำเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คนใหม่ในการออกประกาศ
  และลงนามในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 3-4 เดือน รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า ระหว่างการดำเนินการแก้ไขประกาศกระทรวง อย.จะขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิต/นำเข้ายาให้จำหน่ายยาดังกล่าวเฉพาะสถาน พยาบาลของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนทันที เพื่อควบคุมสถานการณ์ปัญหา ซึ่ง การที่ผู้ผลิตนำเข้าจะฝ่าฝืนกฎดังกล่าว
  ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการผลิตและนำเข้าจะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย. หากไม่ผ่านขั้นตอนการรับรองก็จะไม่ได้รับการอนุญาตโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ อย.จะเพิ่มการเข้าถึงยาทดแทนในการบรรเทาอาการคัดจมูก คือ ยาที่มีส่วนประกอบของเฟนิลเอฟริน โดยคณะกรรมการยา มีมติให้ปรับสถานะของยาที่มียาเฟนิลเอฟรินเป็นส่วนประกอบ เป็นยาที่ได้รับการยกเว้น “ไม่เป็นยาอันตราย” ซึ่งสามารถซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) และร้านขายยาบรรจุเสร็จ (ขย.2) ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น “ประสิทธิภาพของยาเฟนิลเอฟริน ไม่แตกต่างจากยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนเท่าไรนัก สามารถบรรเทาอาการคัดจมูกได้ ที่สำคัญการนำยาเฟนิลเอฟรินไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดยากกว่ามาก ดังนั้น มติดังกล่าวจะเป็นแนวทางหนึ่งในการคลี่คลายปัญหา ขณะที่ระหว่างรอประกาศกระทรวงนั้น คาดว่ายาดังกล่าวในท้องตลาดจะค่อยๆลดลง เพราะเป็นลอตเก่า ขณะที่ลอตการผลิตใหม่ อย.เป็นผู้ควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่จะนำไปผลิตอยู่แล้ว” รองเลขาธิการ อย.กล่าวและว่า เมื่อปรับสถานะยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนเป็นยาควบคุมพิเศษแล้ว หากร้านขายยามีการฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตาม พ.ร.บ.ยา มาตรา 26 มีโทษปรับ 2,000-10,000 บาท
  ไม่มีโทษจำคุก อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการปรับแก้ใน พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เพื่อให้มีบทลงโทษในกรณีนำยาดังกล่าวไปแปรรูปเป็นยาเสพติดด้วย เพื่อให้ได้รับโทษหนักทางอาญา แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันยาแก้หวัดชนิดเม็ด/ แคปซูลที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ขึ้นทะเบียนกับ อย.มีประมาณ 200 กว่ารายการ ส่วนยาเฟนิลเอฟริน เป็นยาสูตรสำรองซึ่งมีการขึ้นทะเบียนไว้จำนวนมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับประสิทธิภาพของยาเฟนิลเอฟริน การออกฤทธิ์แตกต่างจากยาสูตรซูโดอีเฟดรีนเล็กน้อย ตรงที่ไม่ส่งผลต่อระบบประสาท
  แต่บางรายอาจพบว่ามีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งจะจำกัดปริมาณการใช้ โดยไม่ควรใช้เกิน 10 มิลลิกรัม ขณะเดียวกันยาเฟนิลเอฟริน ยังมีปัญหาในเรื่องของความดัน ซึ่งเรื่องนี้มีฝ่ายที่เห็นว่า อย.ควรดำเนินการปรับปรุงฉลาก เตือนผู้ที่มีปัญหาความดัน และอาจส่งผลต่อหัวใจด้วย สำหรับยาที่มีส่วนผสมของสูโดเอฟิดรีน มีมากกว่า 100 ตำรับ ซึ่งที่รู้จักกันดีและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ตำรับ เช่น แม็กซิเฟด (Maxiphed), ซูโดเซียน (Sudosian) บางสูตรผสมกับยาแก้แพ้ไตรโพรลิดีน (Triprolidine) เช่น แอกติเฟต (Actifed) ซึ่งมีชนิดเม็ด ประกอบด้วย สูโดเอฟิดรีน 60 มก. กับไตรโพรลิดีน 25 มก. และชนิดน้ำ 1 ช้อนชา เท่ากับชนิดเม็ด 1/2 เม็ด, ดีคอลเจนพลัส ซึ่งมีข้อความเขียนไว้ที่ข้างซองว่า
  ดีคอลเจน พลัส ชนิดเม็ด เอกสารกำกับยา สูตรในยา 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ พาราเซตามอล (Paracetamol) 500 mg. สูโดเอฟิดรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Pseudoephedrine HCl) 30 mg. คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlopheniramine Maleate) 2 mg. เป็นต้น ส่วนฟีนีลเลฟริน เป็นยาแก้หวัดที่ออกฤทธิ์ในแบบเดียวกับสูโดเอฟิดรีน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประชาชนหากมีความจำเป็นต้องซื้อยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของสูโดเอฟิด รีน ให้สอบถามทางเภสัชกรก่อน พร้อมกันนี้ทาง อย.ได้แจ้งมติของคณะกรรมการยาไปยังร้านขายยาที่ถูกกฎหมายทุกแห่งแล้ว หน้า: 1(ล่างซ้าย), 11 Ad Value: 161,000 PRValue (x3): 483,000 20110723_1135_CL_Thai Rath (Mid-Day)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  36199

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว