Sub Navigation Links

webmaster's News

หนังสือ บทเรียนการจัดการชุมชนรับมืออุทกภัยโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง



หนังสือ บทเรียนการจัดการชุมชนรับมืออุทกภัยโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง



หนังสือ บทเรียนการจัดการชุมชนรับมืออุทกภัยโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง

ท่านสามารถ อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ คลิ๊ก


เจตนารมณ์ของมติที่ประชุมใหญ่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4
พ.ศ.2554 เรื่องการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็น
ศูนย์กลางนั้นคือการให้ยึดถือเอาประโยชน์สุขของชุมชนท้องถิ่นเป็นที่ตั้ง
(community-centered) และให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน
(community-driven) แทนที่การใช้หน่วยงานเป็นตัวตั้งแบบเดิมๆ
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในครั้งนั้นได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่
เป็นรูปธรรมหลายประการ โดยประกอบกับ(ร่าง)แผนแม่บทการสนับสนุน
ชุมชนท้องถิ่นในการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้พิจารณาดำเนินการ ทั้งระดับคณะรัฐบาล คณะกรรมการนโยบาย กระทรวง
ทบวง กรม สถาบันวิชาการ องค์กรมหาชนอิสระและองค์กรปกครองท้องถิ่น
อีกด้วย
สสส.ในฐานะองค์กรอิสระมหาชนแห่งหนึ่ง ที่ดูแลกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ ได้ขานรับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติข้อนี้เป็นอย่างดี
ด้วยการสนับสนุนเครือข่ายการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นด้าน
ภัยพิบัติธรรมชาติในหลายรูปแบบ หลายโครงการ หลายพื้นที่ จึงเป็นที่
คาดหวังว่าเมื่อโครงการต่างดำเนินการไป จะมีองค์ความรู้ บทเรียนรู้และ
ประสบการณ์จากพื้นที่ภาคสนามที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์มากขึ้นอัน
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเตรียมค วามพร้อมของสังคมในการรับมือ
กับภัยพิบัติธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงและอัตราความถี่เพิ่มขึ้นในยุค
โลกร้อน

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ
โดยมีชุมชนท้องถิ่ นเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาเป็นองค์กร
ประสานงานนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ สสส.ให้การสนับสนุน มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีเครือข่ายอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ และกลไก
การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติ รวมถึงการประมวลบทเรียน
จัดการภัยพิบัติของชุมชนท้องถิ่ นในพื้นที่รูปธรรม
บทเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็น
ศูนย์กลางที่คณะทำงานของโครงการได้นำเสนอผ่านเรื่องเล่าสามกรณี
ศึกษาและบทสังเคราะห์ปิดท้าย ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ
ผลการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวด้วย
กรณีชุมชนตำบลพุคา ที่อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่
ราบลุ่ม น้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี ทั้งส่วนที่มาจากไหลลาดลงมาตามทุ่ง
เพราะเป็นจุดที่อยู่ต่ำสุดและที่ไหล่เอ่อมาจากลำน้ำเจ้าพระยา น้ำท่วม
เป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งเดือนจนชาวบ้านเคยชินและปรับตัว
กันไปตามวิถี ต่อมาชาวบ้านสังเกตว่าในระยะหลัง น้ำจะท่วมมากขึ้นและ
นานขึ้น จากคันคลองและถนนที่ปิดล้อมชุมชนทุกด้าน ยิ่งเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
ทางหน่วยงานชลประทานก็ยิ่งยกคันคลองให้สูงขึ้นไปอีก โดยที่ชาวบ้าน
ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรเลย นอกจากยอมรับสภาพน้ำท่วมขังเพราะระบาย
ลงคลองไม่ได้และต้องคอยดีดบ้านขึ้นสูงตามไปเรื่อยแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ส่วนในด้านการจัดการตนเองเพื่อรับมืออุทกภัยของชาวชุมชนพุคานั้น
แต่ก่อนต่างคนต่างแก้ป ัญหากันไปเองตามสภาพ พวกเขาเริ่มรวมตัวกัน
คิดและลงมือทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 โดยค่อยๆ เกิดเป็นรูปแบบในการ
ดูแลกันเองของชุมชนที่นั่น นับตั้งแต่เรื่องการใช้ศาลาวัดและโรงเรียน
เป็นศูนย์อพยพ-ที่พักพิงชั่วคราว ต่อมาพัฒนาเป็นระบบขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่า
จะเป็นการเฝ้าระวัง การสื่อสาร แหล่งพักพิง การคมนาคมและการฟื้นฟู

ภายหลังน้ำลด แม้กระทั่งถึงขั้นที่ต้องปรับเปลี่ยนปฏิทินการผลิตของชุมชน
เสียใหม่เพื่อความอยู่รอดก็ทำกันมาแล้ว
นับเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการจัดการตนเอง เรียนรู้และ
สามารถปรับตัวอยู่กับสภาพปัญหาและอยู่กับน้ำได้อย่างกลมกลืน รวมทั้ง
มีความพร้อมรับมือกับอุทกภัยใหญ่ด้วยทุนทางสังคมและความสามัคคี
ภายในระหว่างกลไกคณะกรรมการคุ้มบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อสม. สถานี
อนามัยและอบต.
กรณีชุมชนเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พื้นที่ 7 ตำบลของ
อำเภอเวียงสาเป็นจุดรวมของแม่น้ำสามสายที่ไหล่บ่ามาจากภูเขา จึงเผชิญ
น้ำท่วมทุก 2-3 ปีเป็นปรกติ ที่นี่ไม่มีผลกระทบจากปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
แบบพื้นที่ราบลุ่ม น้ำมาเร็วไปเร็วไม่ท่วมขังอยู่นานนัก ชาวบ้านสามารถ
ปรับตัวอยู่กับธรรมชาติ ทั้งการปลูกบ้านเรือนแบบใต้ถุนสูง มีเรือเตรียม
ไว้ใช้ในยามที่น้ำมา
แต่ในระยะหลัง น้ำท่วมถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้นำท้องถิ่น
และชุมชนต้องปรึกษาหารือกันจริงจังเพื่อเตรียมความพร้อมประชาชนโดย
ไม่รอพึ่งหน่วยงานภายนอก โดยจัดตั้งเป็นศูนย์ดำเนินงานป้องกันภัยพิบัติ
ระดับอำเภอ เพื่อเป็นกลไกประสานสนับสนุนตำบลและอปท.ต่างๆ
ในพื้นที่อำเภอเวียงสา
พวกเขามีแผนงานและมาตรการที่หลากหลาย ทั้งในด้านการเฝ้าระวัง
จุดเสี่ยง การปรับปรุงสภาพบ้านเรือนและขนย้ายสิ่งของ จัดระบบช่วยเหลือ
กันเองโดยกลไกชุมชน การให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ชาวบ้านและวางระบบ
การประสานร่วมมือกันระหว่าง อปท.ในพื้นที่ใกล้เคียง

กรณีชุมชนคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
พื้นที่ลาดเอียงมีต้นน้ำจากภูเขารอบๆไหลลงผ่าน ทั้ง 4 ตำบลมีหมู่บ้านราว
ครึ่งหนึ่งที่เผชิญน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี ปีละ 2-3 เดือน สาเหตุสำคัญจาก
น้ำฝน ยิ่งมีพายุเข้าบ่อยยิ่งเกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน น้ำทุกสายเอ่อล้น
พร้อมๆ กันอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง คลองน้ำถูกปิดกั้นและตื้นเขินจาก
สิ่งปลูกสร้าง ป่าไม้บนเขาถูกเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราเก็บกักน้ำไม่ได้ แต่ที่นี่
ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง
ผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันทุกปีตามฤดูกาล ทำให้แกนนำชุมชน
ต้องขบคิดกันว่าจะเตรียมรับมือร่วมกันอย่างไร ตั้งคำถามถึงสาเหตุของ
น้ำท่วมซ้ำซากและพากันเดินสำรวจทางน้ำเพื่อหาคำตอบ จึงพบว่าลำน้ำ
ตื้นเขิน มีสิ่งปลูกสร้างกีดขวาง พื้นที่เก็บกักน้ำหายไป ฝายหลายแห่งที่เคยมี
ก็พังไปแล้ว จนทำให้เกิดความท้อแท้ แต่ก็ยังคงมีการพูดคุยปรึกษาหารือ
กันเรื่อยมา
ต่อมามีมูลนิธิชุมชนสงขลาเข้ามาช่วยประสาน จนเกิดเป็นเครือข่าย
ภัยพิบัติชุมชนจังหวัดสงขลา กระบวนการทำงานและประชุมปรึกษาหารือ
จึงเป็นไปอย่างเป็นระบบ ใช้ข้อมูล องค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาเสริม
มีการประสานหน่วยงานฝ่ายปกครอง ประชุมหน่วยงานและผู้นำชุมชน-
ท้องถิ่น-ท้องที่อย่างเอาจริงเอาจัง มีการทบทวนแผนอำเภอที่เคยมี จัดให้มี
คณะทำงานย่อยจัดทำแผนที่ทางน้ำ ผังการเดินทางของน้ำ ระดับความสูง
ของน้ำและระยะเวลาเพื่อการเตรียมตัวของชุมชนรายทาง นอกจากนั้นยังมี
แผนชุมชนและแผนตำบลในการจัดการตนเอง ทั้งในช่วงก่อน ระหว่างน้ำท่วม
และการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด จึงมีความมั่นใจและความพร้อมรับมือภัยพิบัติ
ธรรมชาติในทุกด้าน

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
ประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นการจัดการภัยพิบัติ
ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 พ.ศ. 2554

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  26th Mar 15

จำนวนผู้ชม:  35956

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   หนังสือ

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง