Sub Navigation Links

webmaster's News

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเวทีทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติโดยใช้กระบวนการประชาเสวนาหาทางออก



คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเวทีทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติโดยใช้กระบวนการประชาเสวนาหาทางออก



เมื่อวันที่ ๒๒ และวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมกิจตรงวิล รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และภาคีเครือข่ายในพื้นที่อิสานตอนล่างได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเวทีทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติด้วยการประชาเสวนาหาทางออก โดยมีผู้เข้าร่วมเวทีประกอบด้วย ประชาชนที่ได้สุ่มตัวอย่างมาจาก ๔ จังหวัดอิสานตอนล่าง และกลุ่มเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส คนไร้รัฐ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำศาสนา เป็นต้น รวมทั้งหมดจำนวนกว่า ๑๐๐ คน เพื่อให้ภาคีเครือข่ายประชาชนทุกกลุ่มได้ร่วมกันเสนอแนะและทบทวนธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ตามที่เขียนไว้ให้มีการทบทวนทุก ๕ ปี สู่การเสนอปรับปรุงใหม่ ต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือคสช.

บรรยากาศเวทีเริ่มต้นด้วยการสันทนาการคลายความกังวลใจแก่ผู้เข้าร่วมเวที มีการซักซ้อมวิธีการแสดงความคิดเห็นโดยการประชาเสวนาหาทางออ ก เพื่อให้คนเข้าร่วมเกิดความคุ้นเคยกับบรรยากาศของเวที ต่อด้วยการชวนมองสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบสุขภาพไทยในอนาคต และการแบ่งกลุ่มในการประชาเสวนาหาทางออกตามลำดับ

ทั้งนี้ได้ใช้เวลากว่าหนึ่งวันเต็ม รวมกว่า 8 ชั่วโมง ทุกคนได้ร่วมกันมองอนาคตสุขภาพของคนไทยใน ๑๐ ปีข้างหน้าอยากเป็นเป็นอย่างไร  และมีการจัดลำดับความสำคัญ  พร้อมการวางแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงได้อย่างไร  อีกส่วนก็ได้มองถึงภาคส่วนภาคีต่างๆที่จะร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่ภาคฝันนั้นจะประกอบด้วยใครบ้าง หน่วยงาน หรือองค์ภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การทำให้คนไทยมีระบบสุขภาพของคนไทยดีขึ้นในอนาคต

หลังจากมีการเปิดเวทีและมีการนำเสนอในแต่ละกลุ่มทำให้เห็นความต้องการหรือภาพฝันของประชาชนในพื้นที่อิสานตอนล่าง ได้แก่ ต้องการความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในการบริการสุขภาพ มีระบบการรักษาที่มีประสิทธิภาพทั่วถึง การกำหนดเบี้ยยังชีพให้แก่คนพิการอย่างเป็นธรรม การเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ และมีความเชี่ยวชาญให้ตรงตามตำแหน่ง  มีการสนับสนุนให้อสม.มีความสามารถมากยิ่งขึ้น  มีการสนับสนุนให้เด็กเยาวชนในชุมชนเรียนแพทย์มากขึ้น ส่งเสริมให้มีโครงการหนึ่งชุมชนหนึ่งแพทย์อาสา รณรงค์และส่งเสริมให้คนมาสนใจสุขภาพโดยเฉพาะในเรื่องของการกินอาหารปลอดภัย ใส่ใจชุมชน พร้อมกฎกติกาในชุมชนการดูแลสุขภาพโดยใช้ธรรมนูญระดับพื้นที่ ใช้ภูมิปัญหาในการดูแลรักษาเพิ่มเติม ดูแล กำจัดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น ขยะ น้ำเสีย อาหาร อุสาหกรรม ยาเสพติด  เป็นต้น พร้อมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีการใช้กองทุนเดียวกันทั้งหมด และที่สำคัญคือการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆในชุมชน ในเรื่องของการโฆษณายา หรือสารเคมีต่างๆ โดยมีการตั้งศูนย์ให้ความรู้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรพ.สต.ทุกแห่ง เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้องสมบูรณ์

ต่อจากนี้จะมีการรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นต่างๆจากเวทีส่วนภูมิภาค นำเสนอในเวทีส่วนกลางกรุงเทพมหานครต่อไป

บทความจาก นายรพินทร์ ยืนยาว เลขานุการกิจสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี
 และนนส. ปี 56

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  27th Feb 15

จำนวนผู้ชม:  35306

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง