Sub Navigation Links

webmaster's News

คอลัมน์ ความลับสีชมพู: มะเร็งเยื่อหุ้มปอดมหันตภัยร้ายใกล้ตัว!



คอลัมน์ ความลับสีชมพู: มะเร็งเยื่อหุ้มปอดมหันตภัยร้ายใกล้ตัว!



  แนวหน้า ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปังปอนด์ : หลายๆ คนแปลความหมายของคำว่า “บ้าน” ไว้แตกต่างกัน เช่น 1. “บ้าน” คือ ที่ที่ทำให้ครอบครัวเรานั้นสมบูรณ์แบบ หรือ 2. “บ้าน” คือ สถานที่ที่เราอยู่กับครอบครัวของเราด้วยความรักความอบอุ่น สถานที่ที่มีความเข้าใจมีน้ำใจให้อภัย รู้ใจกันมีเมตตากรุณา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม “บ้าน”ยังตีความหมายไปได้อีกมากมายแล้วแต่ว่าท่านจะนำไปตีความกันอย่างไร… สัปดาห์นี้เราได้รับข้อมูลๆ
&nb sp; หนึ่งที่ให้แง่คิดเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยมานำเสนอ แต่ทั้งนี้แม้ว่าจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับบ้านในทางตรงๆ แต่ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นไปแล้วสำหรับบ้านหลายๆ หลัง ซึ่งสิ่งนั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องราวของ”กระเบื้องมุงหลังคา” นั่นเอง คุณองอาจ เตชะมหพันธ์ กรรมการบริหารกลุ่มมหพันธ์ผู้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาตราห้าห่วง ฉลากเขียวปราศจากการใช้แร่ใยหินสะท้อนมุมมองกับคอลัมน์ “ความลับสีชมพู” ว่า
  “การผลิตกระเบื้องมุงหลังคาที่ปราศจากแร่ใยหินถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการ ยกระดับของอุตสาหกรรมทำให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีไปสู่ สิ่งที่ดี และเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้แต่ที่สำคัญที่สุด คือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคซึ่งถือเป็น ความรับผิดชอบที่บริษัทมีต่อสังคม” คุณองอาจ ยังระบุอีกว่า “ที่สำคัญแม้จะมีข้อกังวลเกี่ยวกับความแข็งแรง ทนทานของสินค้าก็พบว่าจากการทดสอบทั้งจากสถานการณ์จำลอง และจากการติดตั้งทดสอบในสภาพการใช้งานจริงทั้งกับที่อยู่อาศัย โกดังสินค้า โรงงานรวมทั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นเวลานานกว่า 2 ปี
   ซึ่งยืนยันได้ว่าคุณภาพของกระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหิน มีความแข็งแรงสามารถใช้งานได้ไม่มีปัญหา” “ทั้งนี้ ทางบริษัทได้รับการรับรองภายใต้ มอก.1407-2540 และมีคุณสมบัติความเหนียวของเนื้อกระเบื้องสูงขึ้นกว่าแบบใช้ใยหินถึง 3 เท่า ทำให้แตกยากกว่ารุ่นเดิม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ใช้ในพื้นที่ที่ต้องเจอกับพายุลูกเห็บทุก ปีจึงมีความมั่นใจด้วยนวัตกรรมใหม่จะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยมากยิ่งขึ้น” “สำหรับการติดฉลาก หรือสัญลักษณ์ที่วัสดุหรือสินค้าที่ยังมีส่วนผสมของแร่ใยหิน จะมีสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาติดตามในเรื่องนี้รวมทั้งการประสานงาน กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่จะมารณรงค์เรื่องความรู้ของแร่ใยหินเป็นสำคัญ โดยจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจ และจำแนกได้ว่าในการเลือกซื้อควรจะเลือกชนิดที่มีแร่ใยหินแล้วได้ลุ้นกับโรค มะเร็ง หรือจะเลือกสินค้าปลอดแร่ใยหิน ปลอดจากความเสี่ยงกับโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด” คุณองอาจ กล่าวในตอนท้ายว่า “ทั้งนี้จึงเป็นทางเลือกที่ไม่น่าจะยากเกินไป สำหรับรัฐบาลที่จะผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรม และผู้บริโภคที่รับทราบข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ ์ที่ปลอดภัยเสมอ” - แร่ใยหิน สร้างปัญหาอะไร? สัปดาห์นี้เราเปิดประเด็น
  และบทสัมภาษณ์คุณองอาจเตชะมหพันธ์ กรรมการบริหารกลุ่มมหพันธ์ ผู้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาตราห้าห่วง ฉลากเขียวปราศจากการใช้แร่ใยหิน ที่สะท้อนมุมมองกับคอลัมน์ “ความลับสีชมพู” ในช่วงแรก หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่าแล้วขณะนี้เกิดปัญหาอะไรขึ้นกับเจ้า “แร่ใยหิน” หรือไม่? อย่างไร? แล้วจะกระทบกับคุณภาพชีวิตของเราๆ ท่านอย่างไร? โดยเรื่องนี้ พญ.พิชญา พรรคทองสุข หัวหน้าหน่วยอาชีวอนามัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวกับเราว่า”หลังจาก ครม.มีมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมาซึ่งได้ให้ความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเดือนก.พ. 2554 ให้กระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมแร่ใยหินไครโซไทล์เป็นวัตถุดิบอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งได้เริ่มห้ามให้มีการผลิต
  การนำเข้า การส่งออก หรือห้ามมีไว้ในการครอบครองรวมทั้งกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่มีสารทดแทนแร่ใยหินไปแล้วนั้น” “เรื่องนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้บริโภค ที่ผ่านมาจากประสบการณ์นานาชาติที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมในทวีปยุโรปและ อเมริกา ที่ใช้แร่ใยหินมาก่อนไทย ก็พบการป่วยด้วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหินจำนวนมาก เช่น อังกฤษพบผู้ป่วยประมาณปีละ 1,600 คน สหรัฐอเมริกาปีละ 2,800 คน ฝรั่งเศสปีละ 750 คนเช่นเดียวกับประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นพบมะเร็งเยื่อหุ้มปอดประมาณปีละ 800 ราย และแม้ประเทศเหล่านี้จะยกเลิกการใช้แร่ใยหินไปแล้วก็ยังมีรายงานการเกิดโรค มะเร็งเยื่อหุ้มปอดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการบริโภคในอดีตมายาวนาน” พญ.พิชญา ยังกล่าวอีกว่า “สำหรับประเทศไทย จากที่เคยพบผู้ป่วยรายแรกที่เป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากสารแร่ใยหินเมื่อ 2 ปีก่อนโดยผู้ป่วยรายนี้ มีประวัติทำงานสัมผัสแร่ใยหินเป็นเวลานาน และมีอาการ และภาพรังสีปอด รวมทั้งพยาธิวิทยาเข้าได้กับมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหิน จากนี้ทางเครือข่ายแพทย์ด้านอาชีวอนามัย และทางกรมการแพทย์
  กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนเครือข่ายแพทย์ในมหาวิทยาลัย จะตระหนักในเรื่องของโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหินเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกฝ่ายรวมทั้งรัฐบาลเห็นแล้วว่า มะเร็งจากแร่ใยหินอาจจะกลายเป็นปัญหาสำคัญขึ้นมาได้” พญ.พิชญา กล่าวกับเราในตอนท้ายว่า “ต้องยอมรับว่าตอนนี้ต้องรอภาพความช ัดเจนของรัฐบาล ส่วนตัวเชื่อว่าทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมการแพทย์ จะผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเพราะจากข้อมูลต่างๆ ทำให้เห็นแล้วว่าเรามีทางเลือกที่ดีกว่าการใช้แร่ใยหิน และที่ผ่านมามีการใช้แร่ใยหินมาเป็นระยะเวลา 30-40 ปีจึงต้องเฝ้าระวังเรื่องของผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบ เพราะกลุ่มเสี่ยงอยู่ในระยะฟักตัว 30-40 ปิ “ซึ่งทางเครือข่ายแพทย์ได้พร้อมแล้วที่จะร่วมมือกันบูรณาการการตรวจ วินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดที่สืบเนื่องมาจากการสัมผัสแร่ใยหิน ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะให้ความรู้แก่คนงานด้วยว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไร และสังเกตอาการป่วยได้อย่างไรต่อไปด้วย” - วิธีเฝ้าระวังโรคมะเร็งปอด ขณะเดียวกัน ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยความคืบหน้าการผลักดันการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปอดที่ เกิดจากแร่ใยหินว่า “เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั่วโลก และมีเอกสารหลักฐานจากแวดวงวิชาการยืนยันตรงกันว่า แร่ใยหินเป็นสารอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แต่ในประเทศไทยแม้จะมีมติครม.เรื่องการควบคุม และห้ามใช้เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา
  แต่ยังไม่มีการผลักดันเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ทุกฝ่ายกำลังเฝ้ามองรัฐบาลใหม่ว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร” “ทั้งนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักในเรื่องดังกล่าวจึงได้มีการสร้างเครือข่าย ทางการแพทย์เพื่อร่วมกันรณรงค์การตรวจค้นหาผู้ป่วย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างแพทย์โรคปอด พยาธิแพทย์และแพทย์ด้านอาชีวอนามัยที่จะร่วมมือกันในการค้นหาผู้ป่วย” ดร.นพ.สมเกียรติ ยังกล่าวอีกว่า “ที่ผ่านมาได้มีการฝึกอบรมเรื่องของการอ่านฟิล์มเอกซเรย์เฉพ าะโรค การสอบสวนโรค ซึ่งถือเป็นหัวใจของการค้นหาโรคมะเร็งปอดจากแร่ใยหิน หรือโรคแอสเบส-โตลิสที่ใช้เวลานานกว่า 15-35 ปี ที่อาการจะแสดงออก เพราะกลุ่มเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นคนในโรงงานที่ผลิต หรือกลุ่มช่างที่ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีแร่ใยหินส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้ใน เรื่องของโรคจากแร่ใยหิน ดังนั้น ถ้าวินิจฉัยเพียงแค่การเป็นมะเร็งปอดก็จะไม่พบ จึงต้องสอบสวนโรคให้ลงลึกมากขึ้น” “อย่างไรก็ตาม การเข้าไปรณรงค์ยังพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะโรงงานผลิตหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ ยังใช้แร่ใยหินยังทำได้ยากเนื่องจากความเข้าใจของผู้ประกอบการกับทางแพทย์ ยังไม่ตรงกันบางส่วนจึงต้องสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมรณรงค์ในเรื่องนี้ต่อไป” “นอกจากนี้จากการเฝ้าระวังโรคนั้นกรมควบคุมโรคได้ประสานให้โรงพยาบาลทั่ว ประเทศเฝ้าระวังในพ ื้นที่เสี่ยง เน้นไปที่จังหวัดที่มีที่ตั้งของโรงงานผลิตสินค้าที่ใช้แร่ใยหินผลิตรวม 43 แห่ง(ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรม) อาทิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาครนครปฐม ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาลำปาง สระบุรี เพชรบุรีสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา” ดร.นพ.สมเกียรติ กล่าวกับเราในตอนท้ายว่า จากการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในช่วงปลายปี 2553 ที่ผ่านมาได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 4 ประการ ประกอบด้วย 1.การยกเลิกการใช้ ทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน 2.ส่งเสริมสนับสนุนการหาสารทดแทน 3.การเผยแพร่ความรู้ และ 4.การตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ และการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ซึ่งทุกประการจะต้องทำเป็นกระบวนการร่วมกัน ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ รวมถึงกรมโยธาธิการ และผังเมือง รวมทั้งภาคประชาชนที่จะต้องผลักดันร่วมกันต่อไป และนี่ก็คืออีกหนึ่งสาระที่นำมาฝากกันในสัปดาห์นี้ครับ… หน้า: 13(บนซ้าย), 16Ad Value: 155,100 PRValue (x3): 465,300 20110716_1110_HA_Naew Na

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  15th May 12

จำนวนผู้ชม:  35659

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง