Sub Navigation Links

webmaster's News

ติดอาวุธ…เสริมพลัง “คุณลิขิต” ผู้บอกเล่าเรื่องราวธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่”



ติดอาวุธ…เสริมพลัง “คุณลิขิต” ผู้บอกเล่าเรื่องราวธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่”




ติดอาวุธ…เสริมพลัง “คุณลิขิต” ผู้บอกเล่าเรื่องราวธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่”

การร้อยเรียงและบันทึกเรื่องราวขบวนการและกระบวนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพระดับพื้นที่เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการเสริมพลังให้ก ับคณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่ ได้รวบรวมองค์ความรู้ประสบการณ์การจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่ในตำบลของตนเอง รวมทั้งมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องราวความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่ในตำบลของตนเองกับตำบลอื่นๆ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และเทคนิควิธีการในการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้ นที่ร่วมกัน

สมาคมรักษ์ชุมชนคนแปดริ้ว ในฐานะแกนประสานระดับเขต และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต ๖ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “คุณลิขิต” ผู้บันทึก “เรื่องเล่าการจัดธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพของแต่ละตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก รวม ๖ จังหวัด คือ สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา (ยกเว้นจังหวัดตราดและชลบุรี ไม่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้) มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบันทึกเรื่องเล่า และสามารถบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่ในตำบลของตนเองเพื่อสื่อสาร ถ่ายทอด และเผยแพร่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้

โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คุณลิขิต” ผู้บันทึก “เรื่องเล่าการจัดธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่” ได้เชิญคณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพของแต่ละตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีการประกาศใช้ธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลแล้ว ตำบลละ ๒ คน และแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น ๒ รุ่น ซึ่งรุ่นแรก คือ คณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ส่วนรุ่นที่ ๒ มีคณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ  ระยอง จันทบุรี และฉะเชิงเทรา รวมจำนวนทั้ง ๒ รุ่น กว่า ๙๐ คน

สำหรับกระบวนการเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงควบคู่กับหลักการแนวคิดสำคัญของการบันทึกเรื่องเล่า โดยเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจความรู้ ๒ ประเภท โดยเฉพาะความรู้ที่เรียกว่า “ความรู้แฝงฝัง” หรือ Tacit Knowledge  การเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ของการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management (KM)  หลักการบันทึกเรื่องเล่า ซึ่งได้มีการฝึกปฏิบัติการเล่าเรื่องและการบันทึกเรื่องเล่าความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพในพื้นที่ตำบลของตนเองด้วย รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพในพื้นที่ระหว่างตำบลอื่นๆ ร่วมกัน

ผลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทำให้คณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพของแต่ละตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก รวม ๖ จังหวัด ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการแนวทางการเขียนเรื่องเล่า ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งนอกจากจะได้ผลงานการเขียนเพื่อบอกเล่าเรื่องราวการจัดทำธรรมนูญฯ สุขภาพของตำบลตนเองแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพในพื้นที่ระหว่าง ตำบลอื่นๆ ได้รับรู้ถึงเรื่องราว ความเป็นมา การก่อตัว ยุทธศาสตร์ที่ใช้ เทคนิควิธีการที่หลากหลายของกระบวนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพในพื้นที่ต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม ทุนทางสังคม และองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละแห่งล้วนมีเสน่ห์ความน่าสนใจใคร่เรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเช่นนี้ ก่อให้เกิดการเติมเต็มความรู้ ถักทอสายใย ผสานกำลังใจ เสริมพลังคนทำงานบนเส้นทางธรรมนูญฯ สุขภาพในระดับพื้นที่ได้เป็นอย่างดียิ่ง อาทิ

    ตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว แกนหลักในพื้นที่ คือ ผู้บริหารท้องถิ่น และเน้นการเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในทุกกระบวนการ มีกลไกการขับเคลื่อนและกลไกคนทำงานในแต่ละหมวดของธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลทับพริก ที่สำคัญมีการบูรณาการหลากหลายเครื่องมือ หลากหลายกองทุนและแหล่งทรัพยากรรวมไปถึงงบประมาณ โดยยึดหลักที่ว่า “ทำอะไรก็ได้ที่กฎหมายให้อำนาจ และทำอะไรก็ได้ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย”
    ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยบริบทพื้นที่มีความขัดแย้งทางการเมืองค่อนข้างสูง มีการแบ่งขั้วการเมืองอย่างชัดเจน แต่ “พี่แหลม” แกนนำคนสำคัญของการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลเขาไม้แก้ว ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการทำให้แต่ละฝ่ายก้าวข้ามความขัดแย้งและมามีส่วนร่วมกันขับเคลื่อนผลักดันความอยู่ดีกินดี สุขภาพด ี โดยใช้กลยุทธ์ “ชวนกันกินข้าวหม้อเดียวกันบ่อยๆ”

    ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี แม้จะยังไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลดงขี้เหล็กอย่างเป็นทางการ แต่ทาง อบต. ได้มีการนำเนื้อหาสาระที่ชาวตำบลดงขี้เหล็กร่วมกันร่างขึ้นมา ไปใช้จริงในเชิงนโยบายของ อบต. แล้ว
    ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุมชนที่มีประชากร ๒ ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดี มีความรักใคร่กลมเกลียวเหนียวแน่น โดยภาคประชาชนในนาม อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีบทบาทหลักในการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลดอนฉิมพลี แม้ว่าจะขับเคลื่อนไปได้ช้าและมีความยากยิ่ง เพราะไม่มีอำนาจใดๆ ในมือนอกจากจิตใจที่เข้มข็งและความมุ่งมั่นตั้งใจจริง แต่ผลที่ได้ในแต่ละเป้าหมายความสำเร็จคือความเป็นเจ้าของโดยชุมชนและจะเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

    ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี เริ่มต้นด้วยการรวมกลุ่มของผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. กลุ่มสตรี อสม. โดยมีสภาองค์กรชุมชน เป็นแกนนำหลัก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก เพื่อมาคิดร่วมกันว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องสุขภาพตำบลของตนเอง และได้มีการกำหนดประเด็นสุขภาพของตำบลหนองชิ่ม ๔ ประเด็น คือ แพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี และเกษตรอินทรีย์อาหารปลอดภัย
    ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี มีสภาองค์กรชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ เปิดเป็นเวทีพูดคุย โดยเชิญตัวแทนท้องที่ เทศบาล อสม. อพปร. เครือข่ายวนเกษตร กลุ่มสตรี เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงสภาพปัญหาของชุมชน ซึ่งมี ๔ เรื่อง คือ อาหารปลอดภัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และการป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันร่างธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล และมีกรรมการดูแลรับผิดชอบงานของแต่ละเรื่อง  โดยปัจจุบันมีการร่างธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการนำไปปฏิบัติจริงบ้างแล้ว แม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการก็ตาม เช่น ด้านการป้องกันควบคุมโรค มีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เป็นแกนหลัก ด้านสิ่งแวดล้อม มีแกนนำป่าชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อน มีการทำข้อตกลงร่วมกันในการรักษาป่าไม้ของชุมชน มาตรการป้องกันไฟป่า กิจกรรมทำบุญป่าประจำปี ซึ่งเชื่อมโยงไปกับเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนด้วย การบริหารจัดการน้ำ การใช้น้ำจากอ่างน้ำของชุมชน เป็นต้น และต่อมามีการผลักดันไปสู่อำเภอสุขภาวะ และมีการร่างธรรมนูญฯ สุขภาพระดับอำเภออีกด้วย

    ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เริ่มต้นด้วยความไม่รู้ว่าธรรมนูญฯ สุขภาพคืออะไร แต่เมื่อแกนนำมีการเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องของธรรมนูญฯ สุขภาพแล้ว จึงได้มีการพูดคุยหารือกันในชุมชน และได้มีการนำเรื่องสิ่งแวดล้อม อาหารปลอดภัย และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นประเด็นหลักในการขับเคลื่อน โดยมีสภาองค์กรชุมชน ซึ่งมีตัวแทนครบทั้ง ๑๘ หมู่บ้านเป็นแกนนำ โดยมีการสำรวจสภาพปัญหาและบริบทของชุมชน มีการประชุมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นใน ๓ ประเด็นหลัก และเสนอเป็นข้อตกลงร่วม เพื่อยกเป็นร่างธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล และมีคณะทำงานพิจารณาร่างธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล โดยมีการประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้ธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลในที่สุด

    ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มต้นคณะทำงานธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล ซึ่งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เป็นแกนนำหลัก โดยได้ไปศึกษาดูงานที่ รพ.สต. บางปูใหม่ และมีการนำเนื้อหาและแนวทางดังกล่าวมาพูดคุยกันภายใน รพ.สต.เทพารักษ์ มีการเชิญตัวแทนของชุมชนมาพูดคุย ชี้แจงทำความเข้าใจ และตั้งเป็นคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบจากประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันยกร่างธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล และมีการนำร่างไปทำประชา-พิจารณ์ในแต่ละหมู่บ้าน โดยใช้กลยุทธ์ “หอยทาก” คือ “เข้าไปช้าๆ แต่ครบทุกครัวเรือน” หลังจากนั้นจึงการประชุมกรรมการอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล และประกาศใช้ธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลร่วมกัน นอกจากนั้น ยังได้มีการวางเป้าหมายว่าจะขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลเทพารักษ์ให้สำเร็จภายในปี ๒๕๕๙ อีกด้วย

    ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ บริบทของตำบลคลองด่าน คือ “มี ๓ อนามัย ๒ ท้องถิ่น” จึงค่อนข้างทำงานลำบาก เพราะมีการแบ่งออกเป็น ๒ ขั้น ๒ ท้องถิ่น ในขณะที่แกนนำ คือ บุคลากรจากศูนย์อนามัยฯ โดยมีต้นทุนสำคัญคือ การเริ่มจากการเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพ มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ และขยับมาเป็นตำบลจัดการสุขภาพ จนในที่สุดยกระดับมาเป็นธรรมนูญฯ สุขภาพตำบล แต่เนื่องจากมี ๒ ท้องถิ่น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วม ทีมแกนนำจึงแก้ไขปัญหาด้วยการเชิญผู้บริหารท้องถิ่นทั้ง ๒ แห่งเป็นที่ปรึกษา และให้ปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นประธานคณะทำงานฯ แทน ซึ่งปรากฏว่า เป็นคณะทำงานที่ได้รับการยอมรับและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชนเป็นอย่างดี โดยมีการจัดเวทีทำความเข้าใจในพื้นที่ มีการรับฟังความคิดเห็น การทำประชา-พิจารณ์จนได้ออกมาเป็นธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลคลองด่าน และมีการนำสาระสำคัญของธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลคลองด่านไปขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของตำบลแล้ว แม้จะยังไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญฯ สุขภาพตำบลอย่างเป็นทางการก็ตาม

 & nbsp;  ตำบลชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง มี อสม. เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยมีเป้าหมายในการจัดทำธรรมนูญฯ สุขภาพที่เป็นของชาวบ้านจริงๆ เน้นทำเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว  โดยมีการพูดคุยทำความเข้าใจ และมีการตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการที่มาจากผู้นำชุมชน ปัจจุบันตำบลชำฆ้อ ยกร่าง ธรรมนูญฯ สุขภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว

จากตัวอย่างความสำเร็จของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าแต่ละพื้นที่มีบริบท มีต้นทุน มีกลไกการขับเคลื่อน มีเงื่อนไขปัจจัย อุปสรรคปัญหา     ที่พานพบไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนยิ่ง คือ ธรรมนูญฯ สุขภาพระดับพื้นที่ เป็นเครื่องมือทางสังคมที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้คิด ได้กำหนด ได้วางแผน ได้ลงมือปฏิบัติ และรับผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะเนื้อหาสาระธรรมนูญฯ สุขภาพของแต่ละตำบลเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ศักยภาพและความสามารถในการจัดการและพัฒนากลไกระบบสุขภาพชุมชนและท้องถิ่นของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจนยิ่งนัก

นภินทร ศิริไทย สำนักพัฒนาวิชาการและการจัดการความรู้ (สวค.)
ที่มา http://www.samatcha.org/areahpp/

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  22nd Jan 15

จำนวนผู้ชม:  34966

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว