Sub Navigation Links

webmaster's News

รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ตอน เดินหน้าสมานฉันท์ เดินหน้าเขตสุขภาพเพื่อประชาชน โดย นฤเทพ พรหมเทศน์ : ลำพูน



รายงานข่าวสุขภาวะสานใจสานพลังภาคเหนือ ตอน เดินหน้าสมานฉันท์ เดินหน้าเขตสุขภาพเพื่อประชาชน  โดย นฤเทพ พรหมเทศน์   : ลำพูน



เดินหน้าสมานฉันท์ เดินหน้าเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

ภายใต้กระแสการทำงานแบบมีส่วนร่วม ประชาธิปไตยแบบเครือข่าย หรือการทำงานแบบแนวราบ จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ที่กำลังเข้มข้นขึ้น เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นอีก model ที่ผมมีโอกาสนได้เข้าไปเรียนรู้ ซึ่งกำลังเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากสังคม ที่จะเข้ามาสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น แก่สังคมสุขภาวะ

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมาครับ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพได้จัดการประชุมพัฒนาแนวคิดเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (นำร่อง) ซึ่งถือเป็นพื้นที่บุกเบิกสำคัญในการสร้างกระบวนการมีส่วน ทดสอบการทำงานแบบแนวราบ หรือการทำงานแบบเครือข่าย โดยที่ผ่านมาได้เกิดการประชุมแล้วครั้งหนึ่งวันที่ 3 ธันวาคม ซึ่งครั้งนั้นเป็นเสมือนการทดสอบโครงสร้าง ความพร้อมของภาคีเสมือนจริง ที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบาย หรือการสร้างเข็มทิศทางสุขภาพร่วมกัน ภายใต้แนวคิดเขตสุขภาพเพื่อประชาชน โดยการพูดคุยอย่างกว้างขวางต่างได้เห็นมุมมอง และทิศทางการทำงานที่ต้องการมุ่งสร้างรูปธรรมความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

ในครั้งนี้จึงเป็นการประชุมแบบกลุ่มเล็กลงมาอีกระดับครับ มีตัวแทนจากแต่ละจังหวัด นักสานพลัง และองค์ประกอบอื่นที่สนใจการเคลื่อนไหวเขตสุขภาพเพื่อประชุม โดยเริ่มต้นที่การนำเสนอพัฒนาการความคืบหน้าจาก ผศ.ดร.เดชา  ทำดี นักสานพลัง และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจากจังหวัดเชียงใหม่ โดยข้อเสนอส่วนใหญ่ประกอบด้วย  1)ประเด็นเชิงวัฒนธรรมร่วมเป็นสิ่งสำคัญ ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน  2)โครงสร้างคณะกรรมการต้องครบ: สถาบันการศึกษาทุกรูปแบบ ท้องที่ ท้องถิ่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องครบนั่นคือตัวแทนกลุ่มต่างๆ 3)กรรมการดำเนินการมีความสำคัญ / หน่วยเลขานุการกิจจะจัดตั้งอย่างไร 4)ศูนย์รวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลทั่วไป ข้อมูลปัญหา ประเด็นต่างๆ 5)กลไกการขับเคลื่อนประเด็นร่วมจะเชื่อมพื้นที่อย่างไร 6)การรวบรวมจัดทำ Mapping ทุน เช่น สื่อพื้นบ้าน คนเก่ง ทุนทางสังคม 7)วิธีการทำงานและการเชื่อมประสานงานของตัวแทนจังหวัดต้องชัดเจน 8)เริ่มจากนำประเด็นสมัชชาจังหวัดมาเคลื่อน หาพื้นที่รูปธรรม คนต้นแบบ ชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็ง กระจายความรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ยึดเป็นเจ้าของคนเดียว 9)การดำเนินการต้องค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกันนั้นต้องประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนร่วมด้วย 10)การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนและคนทำงานในพื้นที่สำคัญที่สุด

นอกจากนั้นยังมีข้อมูลอีกหลายประเด็นที่ต้องศึกษา โดยมีการรวบรวมจากแต่ละจังหวัดเพื่อวางแผนนำร่องและเสนอต่อ คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในวันที่ 26 ธันวาคม ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 แต่โดยภาพรวมแล้วครับ การประชุมครั้งนี้เสมือนการมาร่วมกันทำร่าง สำหรับนำร่อง การเดินทางด้านสุขภาพแบบ เครือข่าย ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งทางคณะมองเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้าง และส่วนการจัดการ ซึ่งด้านโครงสร้างมองถึงชื่อว่าควรเป็น “เครือข่ายสุขภาพเพื่อประชาชน” และจัดสรรคณะทำงาน เป็น 46 คน(ตามเอกสารเดิมเพิ่มเติมเล็กน้อย) และระบุคน จากแหล่งที่ต้องการ ส่วนด้านการจัดการ มองถึงบทบาท งบประมาณ และทิศทาง ที่จะต้องมุ่งสร้างคลังปัญญาเพื่อเป็นฐานการคิด ตัดสินใจ ติดตาม และนำเสนอ ให้แก่คณะกรรมการ โดยควรจะมีรอบการทบทวนในระยะ 5-6 ปี ตามรอบวาระการทำงานของคระกรรมการ เพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีในการจัดการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
    ทั้งหมดนี้ คงยังไม่ใช่บทสรุปครับ เพราะเป็นเพียงการมาร่วมกันเขียน Guideline สำหรับทิศทางของผู้ที่จะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดทิศทางเพื่อสุขภาพ ซึ่งนับเป็นการสร้างการทำงานใหม่ บนฐานศัยภาพเดิม ทุนเดิม ของคน องค์กร หน่วยงาน ที่ทำงานด้านสุขภาพอยู่แล้ว แต่จัดความสัมพันธ์ใหม่ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างสูงสุด ซึ่งต้องจับตาในระยะเตรียมอีกขั้นหนึ่งในวันที่ 26 ธันวานี้ครับ ที่เวทีสมัชชาชาติ ถึงกระแสตอบรับ และข้อคิดเพิ่มเติมที่จะเกิดขึ้นที่ชวนติดตามเช่นกัน

นฤเทพ พรหมเทศน์ นักสานพลังสร้างสังคมสุขภาวะ
ขอบคุณภาพการสรุปจากเตชิตครับ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  8th Jan 15

จำนวนผู้ชม:  35866

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   รายงานข่าวสุขภาวะ สานใจสานพลัง

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง