Sub Navigation Links

webmaster's News

ธรรมนูญสุขภาพจุดแข็งจากกองทุนสวัสดิการชุมชน



ธรรมนูญสุขภาพจุดแข็งจากกองทุนสวัสดิการชุมชน



“ธรรมนูญสุขภาพตำบล”มุ่งให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองจากการกินอยู่ที่ถูกต้อง เกิดสุขภาพที่ดีทั่วหน้า คือข้อมูลจาก นุกูล สินอ่อน รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชากบก ที่บอกเล่าถึงเป้าหมาย ของการจัดตั้ง กองทุนสวัสดิการชุมชน ที่มีรัฐบาลให้การสนับสนุน โดยผ่านทาง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

นุกูล เล่าให้ฟังว่าตำบลชากบก มีประชาการจำนวน 7,549 คน ประมาณ 2,374 ครัวเรือน พื้นที่ปกครองเทศบาลตำบลชากบก มีเนื้อที่ประมาณ 40.02 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 24,698 ไร่ มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตในวิถีเกษตรกรรม แม้ว่าการตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ขยายฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผลกระทบ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม การย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชนเพื่อการประกอบอาชีพยังมีอยู่ ทั้งนี้ ยังมีกลุ่มองค์กรชุมชน ผู้นำชุมชน ที่ต้องการรักษาพื้นที่ไว้ให้ลูกหลานภายใต้บริบทฐานทรัพยากรวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน รวมถึงกลุ่มสถาบันการเงิน วิสาหกิจชุมชน ภายใต้กองทุนสวัสดิการชุมชน

นุกูล ให้ข้อมูลว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลชากบกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2552 โดยมีแนวคิดต้องการขยายผลจากธนาคารหมู่บ้านตามแนวทางพระราชดำริคลองมะงั่ว รวมถึงในตำบลชากบกมีกลุ่มองค์กรมากมายในตำบล แต่ละองค์กรได้ดำเนินกิจกรรมและได้จัดสวัสดิการให้กับสมาชิก แต่การจัดสวัสดิการยังอยู่ในวงจำกัดไม่ทั่วถึง ขณะที่เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดระยอง ได้นำแนวคิดนี้มาส่งเสริมให้มีการจัดการด้านสวัสดิการให้กับชุมชน จึงได้มีการรวบรวมสวัสดิการต่างๆในชุมชนที่มีอยู่แล้ว และจัดเป็นสวัสดิการชุมชนตำบลชากบก แรกเริ่ม นั้นมีสมาชิกจานวน 100 คน ปัจจุบัน มีจำนวน 2,670 คน มีคณะกรรมการจำนวน 40 คน

รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล ชากบก บอกว่าคำขวัญของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลชาก บก คือ “รู้พอเพียง รู้แบ่งปัน รู้ความสุข” เพราะกองทุนนี้เกิดขึ้นเพียงให้การช่วยเหลือสวัสดิการด้านต่างๆ ของสมาชิกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมการออมการสมทบเพื่ออนาคตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม การสมทบนี้ได้รับการสมทบแบบสามส่วน คือ รัฐบาล โดยผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. เทศบาลและสมาชิก ทั้งนี้รูปแบบสวัสดิการที่สมาชิกควรได้รับนั้นมี 10 ประเภท การเกิด ผู้สูงอายุ การรักษาพยาบาล เสียชีวิต การศึกษา การส่งเสริมวัฒนธรรม การพัฒนา อาชีพสิ่งแวดล้อม ผู้ด้อยโอกาส และอื่นๆ

นุกูล วิเคราะห์ถึงจุดแข็งของกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลชากบกว่า กองทุนสวัสดิการตำบลเรา ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ ที่ผ่านมากองทุนเรามีสมาชิกเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้นำทุกหมู่บ้านนำเรื่องกองทุนสวัสดิการเข้าไป พูดคุยกับชาวบ้านทั้งที่เป็นสมาชิก และ ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุน โดยเฉพาะท่านนายกเทศมนตรี จะเป็นสื่อบุคคลที่ดีในการพูดวาระโอกาสต่างๆ พูดถึงกองทุนว่าเป็นกองบุญ ในการร่วมกันเป็นต้น

รองนายกเทศมนตรี เล่าว่ากองทุนสวัสดิการชากบกให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนมากกว่าตัวเงิน การที่คนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง รู้จักดูแลสุขภาพตนเองได้ คือสวัสดิการอีกรูปแบบหนึ่ง ในชุมชนเราโชคดีมีผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่หลากหลาย และเรื่องการดูแลสุขภาพก็มี ดร.วัฒนา บันเทิงสุข เป็นผู้นำด้านนี้ และทำงาน เชื่อมโยงกับกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างเข้มข้น โดยการเริ่มต้นจากการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ซึ่งล้วนเป็นพืชอาหารทั้งสิ้น จากนั้นขยายสู่ชุมชนซึ่งได้รับ ความสนใจจากคนในชุมชน จนสามารถเปิดเป็นตลาดสีเขียวหน้าเทศบาลขายให้คนอื่นๆ ทำให้ได้รับความสนใจจากคนนอกตำบลอีกด้วย เพราะความเชื่อว่าจะได้ปลอดจากสารพิษ กินแล้วปลอดภัยความสำคัญของการรักษาสุขภาพแบบธรรมชาติ ต้องผสานระหว่างธรรมะกับประสบการณ์ คือ ใช้ อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ส่วนประสบการณ์ ที่ว่า โง่ จน เจ็บ เราต้องสร้างกระบวนการไม่ไง่ ไม่จน ไม่เจ็บ ให้เป็นรูปธรรม กินอยู่ ให้เป็น กลับคืนสู่ธรรมชาติ หวนหาสมุนไพรพืชผัก ปลูกกินเองแล้วขยายผล สู่ตลาดนัดสีเขียว

“สิ่งสำคัญคือ การสร้างศรัทธากับคนในครอบครัวให้ได้ ดึงผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เข้ามาช่วยใช้งานวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ ด้วยเพราะพืชอาหารของไทยที่ปลูกในบ้านเองล้วนเป็นสมุนไพรป้องกันและรักษาโรคได้ หากเกิดขึ้นในทุกบ้านในชุมชนบ่อยๆ จะเป็นการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนมากกว่าการไปพบหมอหรือรักษาตัวในโรงพยาบาลศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพระบบธรรมชาติ นับเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการแพทย์ทางเลือกเพื่อการดูแลสุข ภาพแบบไม่ใช้ยา แม้เริ่มต้นจากคน 12 คน จากคนในครอบครัวของดร.วัฒนา และผู้มีปัญหาสุขภาพ ปัจจุบันสามารถขยายเครือข่ายทั่วทั้งตำบลรวมถึง ภายในจังหวัดระยองจนมีสมาชิกที่ หลากหลาย ซึ่งทำให้มีผลิตภัณฑ์วัตถุดิบมาแลกเปลี่ยนหมุนเวียนเสริมความรู้ ต่อยอดสู่ความยั่งยืน”

“ธรรมนูญสุขภาพระดับตำบล” เป็นเป้าหมายที่คนชากบกให้ความสำคัญภายใน 5 ปีนี้ จากการที่ได้มีการนำความรู้ เรื่องสุขภาพและให้ประชาชนได้ทำจริงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง จากการกินอยู่ที่ถูกต้องเกิดสุขภาพดี ถ้วนหน้า การสร้างให้คนเปลี่ยนวิธีคิดในการดูแลสุขภาพ ไม่ต้องไปรักษากับหมอที่โรงพยาบาล ส่งผลให้การเบิกจ่ายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน ลดลง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่า คนในชุมชนหันมา ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น “ไม่ใช่เราไม่อยากให้เบิกเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่เรื่องสุขภาพที่ดีคือสวัสดิการที่ยั่งยืน”

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  5th Jan 15

จำนวนผู้ชม:  35057

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง