Sub Navigation Links

webmaster's News

เกินครึ่งทางสรรหา คสช.ชุด 2



เกินครึ่งทางสรรหา คสช.ชุด 2



  เกินครึ่งทางสรรหา คสช.ชุด 2 หลังรับรองผลว่าที่กรรมการสุขภาพแห่งชาติในส่วนองค์กรเอกชนอีก 13 คน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีการประกาศรับรองผลการประชุมสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชุดที่ 2 ด้วยการประชุมเลือกกันเองของผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ทั้ง 13 เขตพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ผู้ดำรงตำแหน่งจำนวน 13 คน
   โดยมีนายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ ประธานกรรมการกรรมการสรรหากรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะประธานในที่ประชุมเป็นผู้ประกาศ ทั้งนี้ ผลจากการประชุมเลือกกันเองของผู้แทนองค์กรภาคเอกชนทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ ปรากฏว่า เขต 1 นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา จากสมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรี เขต 2 นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์ จากสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เขต 3 นายเจษฎา มิ่งสมร
   จากเครือข่ายแผนแม่บทชุมชน ตำบลหนองยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต 4 นายวิเชียร คุตตวัส จากประชาคมราชบุรี จังหวัดราชบุรี เขต 5 นายวีระพล สุดตรง จากสมาคมเพื่อผู้บริโภค จังหวัดบุรีรัมย์ เขต 6 นายปิยกูล คุณแก้ว จากสมาคมคนพิการจังหวัดสกลนคร เขต 7 นายสวัสดิ์ กตะศิลา จากชมรมผู้สูงอายุ ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เขต 8 นางสาววิไลวรรณ จันทร์พ่วง จากศูนย์ประสานงานประชาคมเมืองอุทัย จังหวัดอุทัยธานี เขต 9 นายสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ จากมูลนิธิร่วมพัฒนาจิตร จังหวัดพิจิตร เขต 10 นายสนั่น วุฒิ จากพันธกิจเอดส์ชาติพันธุ์ เขต 11 นายสุพจน์ สงวนกิตติพันธุ์ จากสถาบันประชาคมภูเก็ต
  จังหวัดภูเก็ต เขต 12 นายชัยพร จันทร์หอม จากเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนจังหวัดตรัง และ เขต 13 นายวิชัย โชควิวัฒน จากสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นายสุพัฒน์ ธนะพิงค์พงษ์ กรรมการสุขภาพแห่งชาติจากผู้แทนองค์กรเอกชน เขต 3 ชุดแรกที่กำลังครบวาระกล่าวว่า สิ่งที่ คสช.ชุดที่ 1 ทำไว้ มีหลายเรื่องที่อยากให้ว่าที่ คสช.ชุดใหม่สานต่อ ไม่ว่าจะเป็นธรรมนูญสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ โดยที่ผ่านมาอาจยังไม่เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมมากนัก เพราะช่วงเวลาทำงานผ่านมาได้เพียง 3 ปี นับว่ายังเยาว์วัยมากหากนำไปเทียบกับผลที่ต้องการให้เกิดกับสังคมไทย
   “เราต้องยอมรับว่า ดอกผลจากกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมธรรมนูญสุขภาพและสมัชชาสุขภาพ ในปัจจุบันยังน้อยอยู่ เพราะบางสิ่งบางอย่างยังต้องหาทิศทางในการเดินเป็นระยะ ๆ แต่ไม่ใช่ว่าเราไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะในหลายพื้นที่ที่แม้เป็นพื้นที่เล็ก ๆ อย่างตำบลหรือหมู่บ้าน ก็เริ่มเข้าใจกระบวนการสร้างและนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสุขภาวะที่ดีแล้ว ฉะนั้น จำเป็นที่ คสช. ชุดต่อไป ต้องกระจายองค์ความรู้ด้านสุขภาวะพร้อมเครื่องมือใช้ปฏิบัติ ที่ได้จากการสังเคราะห์ความคิดของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา อันประกอบ ด้วย ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ/วิชาชีพ และภาครัฐ
  สู่ประชาชนและสังคม อย่างไรก็ตาม ในฐานะตัวแทนภาคธุรกิจเอกชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการจากผู้แทนภาคประชาสังคม รู้สึกยินดีที่ให้ภาคธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งในการวางนโยบายระดับชาติ และทำให้พวกเราเรียนรู้ว่าการดำเน ินการใด ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงภาคส่วนอื่น ๆ ด้วย เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ”นายสุพัฒน์ ระบุ ด้าน นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังประกาศรับรองผลการประชุมเลือกกันเองของผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ทั้ง 13 เขต ว่า สำหรับบุคคลใดที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการ
  หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจ อาสาเข้ามาร่วมกันพัฒนาเรื่องสุขภาวะในพื้นที่ของตนเองได้ โดยสามารถประสานงาน ติดตาม การดำเนินงาน ของภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ ที่ คสช.ชุดที่ 1 และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หนุนเสริม และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะ ในทุกเวทีที่ คสช. หรือ สช. จัดขึ้น อย่างไรก็ตาม กรรมการสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใน คสช. ชุดแรกทั้งหมด จะหมดวาระลงในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2554 และกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่รับการสรรหาในชุดที่ 2 จะมาดำรงตำแหน่งแทนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งถึง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558. ///////////////////////////////////

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  35073

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง