Sub Navigation Links

webmaster's News

ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ 2558 เดินหน้าปฏิรูป…สังคมสุขภาวะ



ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ 2558 เดินหน้าปฏิรูป…สังคมสุขภาวะ



แม้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2557 จะปิดฉากลงแล้ว แต่รายงานผลการประชุมภายใต้แนวคิดหลัก “เดินหน้าสมานฉันท์ ร่วมกันปฏิรูป สังคมสุขภาวะ” โดยนายเจษฎา มิ่งสมร ประธานกรรมการจัดสมัชชาฯ ยืนยันจะนำเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยให้คณะทำงานชุดติดตามมติฯ พิจารณาต่อว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
ส่วนในปี 2558 “สมัชชาสุขภาพ” จะมีวาระที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องของอนาคตและใกล้ชิดกับชีวิตผู้คน เช่น เรื่องสุขภาวะเมืองใหญ่ ซึ่งน่าจะเกิดโมเดลการจัดการเมืองใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่งคงจะมีการทำงานวิชาการเพิ่มเติม โดยรวมผู้คนจากหลากหลายภาคส่วนมากขึ้นเพื่อร่วมคิดต่อว่าจะกำหนดเป็นวาระ สำคัญในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งหน้าได้อย่างไร

“ดร.วณี ปิ่นประทีป” ประธานอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ 2 กล่าวว่า ได้มีการพิจารณาระเบียบวาระสำคัญในปี 2558 ทั้งหมด 3 เรื่อง คือ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง, การพัฒนากระบวนการประเมินและตัดสินใจการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ, การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน
ขณะที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แต่งตั้ง “น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา” อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ หลังจากใช้มาครบ 5 ปี (2552-2557) ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 คณะกรรมการฯ จะต้องมีการระดมข้อมูลจากกลุ่มองค์กรและเครือข่ายต่างๆ ว่ามีอะไรที่ยังไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน ต้องปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับปัจจุบัน อาทิ เรื่องสุขภาพจิตและ ฯลฯ

สอดคล้องกับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ล่าสุด ที่ได้มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 18 คณะ โดยคณะ กมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เสนอแนะให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ต้องจัดทำกฎหมายเพื่อตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยต้องพิจารณาร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี และหากไม่แล้วเสร็จตามเวลาต้องชี้แจงเหตุผลต่อสาธารณชนหรือรัฐสภา รวมถึงระยะเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ

ส่วนการประชุมระดมความคิดเห็นโดยใช้กระบวนการ Future Search Conference เรื่อง สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค โดย “ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ” ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเมื่อปี 2552 ได้จัดการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในหมวดที่ 8 ซึ่งในการทบทวนฯ ครั้งนี้ จะเน้นไปที่การเสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ จึงผลักดันข้อเสนอการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคและการปรับโครงสร้างเชิงอำนาจ เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อคณะกรรมาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านคุ้มครองผู้บริโภค
“สรุปแล้ว สาระสำคัญที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้ บริโภคที่มีการบริหารจัดการแบบอิสระภายใต้การกำกับของภาครัฐ มีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้งระบบ โดยมีภารกิจหลัก เป็นไปตามกฎหมายและหน้าที่ที่พึงมีในฐานะรัฐที่ต้องคุ้มครองผู้บริโภคให้กับ ประชาชน โดยให้ทำงานควบคู่และประสานกับองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานภาครัฐ”

ทั้งนี้คาดหวังว่าจะสร้างความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลในการบริการ และเครือข่าย ตลอดจนปรับความคิดของผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้มองกันอย่างเป็นมิตรมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิทธิผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคปี 2552 ที่ต้องเพิ่มเติมในรายละเอียด และสิทธิผู้ป่วย ตามที่องค์กรการแพทย์ต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา สภาการแพทย์ สภาการเภสัชกรรมและทันตแพทยสภา ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 การจัดการความรู้สื่อสารสาธารณะ เครือข่ายอาสาสมัคร ความยุติธรรม การร้องเรียน ระบบการเงิน และความปลอดภัย รวมถึงกลไกเชิงโครงสร้างบริหารจัดการ ซึ่งกลไกภาครัฐจะไม่เข้าไปแตะ เพราะมีการเปลี่ยนไปตามนโยบายทางการเมือง” ผศ.ดร. พงค์เทพ กล่าว

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะทำอย่างไรให้หันมามองทางด้านนี้มากขึ้น องค์กรอิสระ และภาคประชาชน สภาองค์กรชุมชน อสม.จะมีหน้าที่ตรงนี้อย่างไร บทบาทของสภาองค์กรชุมชนจะเกี่ยวข้องได้อย่างไร เอกชนจะเข้ามาช่วยหรือเป็นเครือข่ายได้อย่างไร กลไกปกป้องวิชาชีพจะมาช่วยป้องผู้บริโภคได้อย่างไร รวมถึงสื่อมวลชนมีบทบ าทในการกระตุ้นการพัฒนาโครงสร้างระบบฯ ได้อย่างไร
ด้าน “รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์” ประธานคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เห็นว่าระบบคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยมีความชัดเจนและสามารถเกิดผลได้ใน 5 ปีที่มีการนำธรรมนูญสุขภาพไปใช้ แต่ความสำเร็จที่ผ่านมาบางข้อ ยังไม่ไปถึงจุดหมายปลายทาง เพราะปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ
ส่วนการเสวนา ในประเด็น “คุ้มครองผู้บริโภคไทย…ทำอย่างไรให้เข้มแข็ง” ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 ครั้งที่ 7 ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมให้ข้อเสนอแนะ ในประเด็น การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และระบบการคุ้มครองผู้บริโภคจากการรับบริการสุขภาพ รวมทั้งระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์และบริการทั่วไปอย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้เพราะธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ คือกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนิน งานด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งจะเป็นร่มใหญ่ของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและนโยบายยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ เป็นแนวทางพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค นำไปสู่การวาง Roadmap การทบทวนกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และการปฏิบัติของหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นหลักการเพื่อนำไปสู่การอ้างอิง การพิจารณา การตัดสิน โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิกลไก และการดำเนินการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

ขณะที่ขอบเขตที่ควรกำหนดในธรรมนูญ ได้แก่ 1.สิทธิผู้บริโภค 2.สิทธิผู้ป่วย ที่แบ่งเป็นระบบย่อยในระบบคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย ระบบการจัดการข้อมูลและความรู้ ระบบสื่อสารสาธารณะ ระบบการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพ ระบบเครือข่าย ระบบอาสาสมัคร และการมีส่วนร่วม ระบบการกระจายอำนาจ การถ่ายโอนภารกิจ ระบบยุติธรรมและกฎหมาย ระบบร้องเรียน พิจารณา ตัดสิน ไกล่เกลี่ย ชดเชยที่เป็นธรรม ระบบการควบคุม กำกับ ดูแล และเฝ้าระวัง คุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และความเป็นธรรม ระบบการเงินและงบประมาณ เช่น การมีกองทุนชดเชย เยียวยา ระบบธรรมาภิบาล และความผูกพันทางกฎหมาย และ 3.กลไกเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการ ประกอบด้วย กลไกภาครัฐ เช่น ปรับโครงสร้างเป็นองค์กรอิสระ กลไกภาคท้องถิ่น เช่น การกระจายอำนาจ ถ่ายโอนภารกิจ กลไกภาคประชาสังคม เช่น องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กลไกภาคประชาชนและผู้บริโภค เช่น บทบาทสภาองค์กรชุมชน อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับรัฐ ท้องถิ่น ประชาสังคม

ส่วนข้อเสนอในการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ มี 2 มิติ โดยในมิติการปรับโครงสร้างและบทบาทภารกิจขององค์กร ได้แก่ 1.ปรับปรุงโครงสร้างภายในหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยควบรวมองค์กรที่มีพันธกิจหลัก เพื่อให้เกิดเอกภาพและเสริมพลังในการทำงาน รวมทั้งจัดโครงสร้างองค์กรให้ปลอดจากนักการเมืองเป็นอิสระในการบริหารบุคคลและค่าตอบแทน ตลอดจนจัดให้มีโครงสร้างเฉพาะ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการดูแลการนำเข้าของผลิตภัณฑ์ โฆษณาและการส่งเสริมการขายทั้งผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพให้มากขึ้น

2.ให้มีคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์คุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ โดยมีหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการเป็นผู้สนับสนุนและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยมีบทบาทวิเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพปัญหาแนวโน้มในอนาคต และประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่างๆ ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ 3.ปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคท้องถิ่นและประชาชน

4.หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ควรเน้นบทบาทพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคและพัฒนาระบบผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพทั้งวงจร รวมทั้งพัฒนาระบบคลังข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุข ภาพ ศูนย์กลางประมวลผลข้อมูลในการเฝ้าระวังอันตราย นอกจากนี้กำหนดมาตรฐานต่างๆ ตลอดจนพัฒนากฎหมายระเบียบการควบคุมโฆษณาการส่งเสริมการขายที่มีผลกระทบต่อ สังคม 5.ถ่ายโอนภารกิจหรือดำเน ินการในรูปองค์กรรูปแบบพิเศษภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น การบริการหรือส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค การรับรองคุณภาพกระบวนการผลิต การให้ความเห็นทางวิชาการ 6.เร่งรัดการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชดเชยเยียวยาผู้เสียหายจากสินค้าและบริการ พร้อมทั้งบังคับใช้อย่างจริงจัง ตลอดจนให้มีกองทุนที่เป็นอิสระโดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐอย่างเพียงพอ 7.บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน

สำหรับมิติการจัดการ ประกอบด้วย 1.ส่งเสริมทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.สนับสนุนและผลักดันให้มีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.ส่งเสริมชุมชนและเครือข่ายการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่เข้มแข็ง มีศักยภาพในการขับเคลื่อนในระดับชุมชนและท้องถิ่นชุมชน 4.ส่งเสริมสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการทำงานคุ้มครองเพื่อผู้บริโภค ทั้งเสริมสร้างความรู้และส่งเสริมกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนในทุกจังหวัด 5.พัฒนาระบบเตือนภัยด้านการบริโภคแห่งชาติ 6.พัฒนาระบบคลังข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีมาตรฐาน ครบถ้วน สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ เข้าถึงง่ายและเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7.พัฒนาระบบการควบคุมกำกับกันเองและการปลูกฝังจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ และ 8.จัดตั้งกองทุนในงานคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขเป็นการเฉพาะ

ส่วนข้อเสนอในการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค ด้านบริการสุขภาพ มี 1.สร้างรูปธรรมในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในแง่ของการจัดตั้งองค์กรอิสระที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานชัดเจน 2.ผลักดันธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 8 การคุ้มครองผู้บริโภคให้มีผลในทางปฏิบัติกำหนดเจ้าภาพหลักให้ชัดเจน 3.การบูรณาการระบบการจัดการข้อมูลละสื่อสาธารณะ กลไกศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและการรับเรื่องร้องเรียน เพื่อสนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภค

4.ผลักดันการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 5.สนับสนุนให้มีเงินช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ 6.สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการออกกฎหมายรับรอง 7.ลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคมและสวัสดิการราชการ โดยการออกกฎหมายรวม 8.มีระบบการป้องกันการแพ้ยาซ้ำและมีระบบรายงานความคลาดเคลื่อนจากการให้บริการทางการแพทย์ที่เป็นรูปธรรม 9.ให้ความสำคัญการสืบค้นหาความจริงจากเวชระเบียน เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น 10.กำหนดรูปธรรมของกระบวนการไกล่เกลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ป่วยให้ชัดเจน 11.มีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย

ทั้งนี้ข้อเสนอระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์และบริการทั่วไป มี 1.รัฐหรือผู้มีอำนาจ ต้องจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นอิสระที่ดูแลเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะ (องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค) 2.หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องบังคับใช้กฎหมายได้และใช้มาตรการเด็ดขาดกับผู้ที่เอาเปรียบผู้บริโภค มีการลงโทษขั้นสูงสุดและไม่เลือกปฏิบัติ 3.กำหนดความรับผิดชอบลักษณะStrict Liability ให้ครอบคลุมถึงการให้บริการที่ซับซ้อนที่ใช้เทคนิคต่างๆ 4.มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการให้บริการของภาคธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่เฉพาะตอนขออนุญาตเท่านั้น 5.ทบทวนโครงสร้างหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับอย่างเท่าเทียม 6.จัดหลักสูตรการคุ้มครองผู้บริโภคลงในการเรียนการสอนทุกระด ับชั้น เพื่อปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้มีความรู้เท่าทัน และ 7.มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อเสนอดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนต่างๆ ร่วมกันเสนอแนะการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง อาทิ อยากให้เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทั้งในทฤษฎีและการปฏิบัติ อยากให้ภาคประชาชนร่วมเป็นสัดส่วนในองค์กรของสภาวิชาชีพ อยากให้มีการประชาสัมพันธ์โทษของการใช้ยา การให้ความรู้กับผู้บริโภคเรื่องหน้าที่ โดยการศึกษาสิทธิของตนเอง ยาที่เป็นอันตรายขอให้แพทย์สั่งเท่านั้น ให้แพทย์ชี้แจงผลของการใช้ยาในปริมาณที่มาก ให้มีเครื่องหมายฮาลาลที่เป็นมาตรฐานถูกต้องติดอยู่ทุกผลิตภัณฑ์ การควบคุมโฆษณาชวนเชื่อเกินความจริง ให้มีหน่วยงานตรวจสอบการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร การติดฉลากให้ชัดเจน เพิ่มช่องทางการร้องเรียนและการติดตามผล มีงบประมาณสนับสนุนการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจังให้กฎหมายกำหนดผู้ให้บริการต้องรับผิดโดยทันที หากผู้ให้บริการไม่ผิดให้นำหลักฐ านมาชี้แจง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สช. จะรวบรวมข้อเสนอดังกล่าว มาสังเคราะห์ เพื่อนำสาระสำคัญมาบรรจุในธรรมนูญสุขภาพ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.สุขภาพ พ.ศ.2550 ก่อน จะเสนอไปยังคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญ ภายในเดือนมกราคม 2558 นี้ ซึ่งคาดว่าคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญอาจจะมีการปรับแก้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพเพิ่มเติมอีกครั้ง ซึ่ง สช. จะนำข้อเสนอที่มีการปรับแก้ดังกล่าวมาพิจารณา จากนั้นจึงจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน (โรดแม็พ) ของธรรมนูญสุขภาพ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นแผนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม คาดว่าภายในเดือนมีนาคม 2558 จะแล้วเสร็จ จากนั้น สช.จะจัดประชุมสมัชชาทางวิชาการย่อยในเดือนมิถุนายน 2558 ก่อนจะเสนอรัฐบาล เพื่อผลักดันให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ที่มา  บ้านเมือง

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  5th Jan 15

จำนวนผู้ชม:  35118

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พ.ศ.2556

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง