Sub Navigation Links

webmaster's News

เครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปฯ ยื่น สปช. เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชน



เครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปฯ ยื่น สปช. 	เพื่อคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชน



ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ออกแถลงการณ์ถึง สปช. แนะคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนและชุมชนทุกระดับ ด้านประธาน สปช. และ กมธ. ปฏิรูประบบสาธารณสุข น้อมรับทุกข้อเสนอ ย้ำรัฐธรรมนูญใหม่มุ่งสร้างความเท่าเทียมกันในระบบสุขภาพ
   
ที่อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ นายสุรพงษ์ พรมเท้า ประธานเครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนเครือข่ายสมัชชาสุขภาพฯ จากทั่วประเทศ เดินทางมายื่นหนังสือต่อ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สปช.
ตัวแทนเครือข่ายได้อ่านแถลงการณ์ โดยระบุว่า ระบบสุขภาพควรเป็นเป้าหมาย หรืออุดมการณ์ของชาติ ที่ทุกฝ่ายควรยึดเป็นเป้าหมายร่วมของการพัฒนาในทุกมิติ กระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพได้ดำเ นินการมากว่า ๓๐ ปีแล้ว และเกิดเป็นรูปธรรมเมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มีเจตนารมณ์สำคัญต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อันเป็นรากฐานสำคัญของหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

     จากมติการประชุมของ สปช. เมื่อวันที่ ๙–๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จนได้ภาพฝัน “ภิวัฒน์ประเทศไทย” นับว่ามีความสอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพที่ทางเครือข่ายฯ กำลังขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้ทิศทางดังกล่าวของ สปช. ดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีข้อเสนอที่เห็นควรบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประกอบด้วย

๑. ควรมีการประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทยไม่น้อยกว่าที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ให้การรับรองไว้
๒. ควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ รวมทั้งให้ประชาชนมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
๓. รัฐและทุกภาคส่วนในสังคมพึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยควรกำหนดให้ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของ
๔. ควรกำหนดให้ระบบสุขภาพมีทิศทางสู่การสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่สุขภาพที่ยั่งยืนและการพึ่งตนเองได้
๕. ควรกำหนดหลักการสำคัญเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง จนสามารถบริหารจัดการทุนในชุมชนได้ด้วยตนเอง

    นอกจากนั้น เครือข่ายฯ ยังมีข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย โดยขอให้ สปช. ยึดแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ประจำปี ๒๕๕๖ มติ ๖.๘ เรื่อง  “การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย" ดังนี้ (๑) การปฏิรูประบบเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค และการจัดการกับภัยคุกคามสุขภาพ (๒) การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ  (๓) การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ (๔) การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบประกันด้านสุขภาพ  และ (๕) การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

    ดร.เทียนฉาย  กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวขอบคุณเครือข่ายสมัชชาสุขภาพเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย พร้อมระบุว่า การปฏิรูประบบสุขภาพถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่อง ความเท่าเทียมกันในระบบสุขภาพของประชาชน จึงขอให้มั่นใจว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะให้ความสำคัญอย่างแน่นอน อยากให้ทางเครือข่ายฯ ช่วยกันติดตามว่าจะเกิดมรรคผล หรือเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไรบ้างในอนาคต

ด้าน รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สปช. กล่าวว่า ข้อเสนอและแนวทางที่ทางเครือข่ายฯ นำเสนอในวันนี้ ถือเป็นประโยชน์อย่างมาก และสอดคล้องกับแนวคิดของกรรมาธิการฯเช่นเดียวกัน หากเครือข่ายฯ มีประเด็นข้อเสนอเพิ่มเติม ก็สามารถส่งเรื่องมาที่กรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุขได้อีก

     “เราสนับสนุนให้ประเทศไทยใช้สุขภาพของประชาชนเป็นศูนย์กลางในทุกนโยบายที่ออกมา เพื่อไม่ให้นโยบายนั้นสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จนมาทำลายสุขภาพของคนไทยอีกต่อไป ดังนั้น ทุกนโยบายคงต้องคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนก่อน พร้อมกันนี้ กรรมาธิการได้นำแบบอย่างในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ มาร่วมพิจารณาด้วย"

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  27th Nov 14

จำนวนผู้ชม:  35292

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง