Sub Navigation Links

webmaster's News

“แพทย์แผนไทย” โอกาสยังเปิดกว้าง ถ้าไม่พร้อม ... ก็อย่าซ่าในอาเซียน



“แพทย์แผนไทย” โอกาสยังเปิดกว้าง ถ้าไม่พร้อม ... ก็อย่าซ่าในอาเซียน




ราวกับเป็นความภูมิใจของประเทศ ว่ากันตามความเป็นจริงในปัจจุบัน “การแพทย์แผนไทย” มีชื่อเสียงและขยายการยอมรับเป็นวงกว้าง

ขีดเส้นตีกรอบเฉพาะคนไทย หากกวาดสายตามองไปยังห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ร้านยาตามชุมชน “สมุนไพรไทย” ในรูปแบบต่างๆ มีจำหน่ายให้เลือกสรรอย่างแพร่หลาย ยังไม่นับ “การนวดไทย” และศาสตร์การรักษาที่ควบคู่ไปกับแผนปัจจุบันตามสถาน พยาบาลต่างๆ

สะท้อนถึง ความนิยม และการขยายตัวของ “แพทย์แผนไทย” อย่างไม่มีข้อท้วงติงใดๆ

เมื่อมองออกไปภายนอก นับเป็น “โอกาสทอง” ของประเทศไทยเพราะการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ชื่อเสียงของแพทย์แผนไทยสั่งสมเพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ

คำถามคือ เมื่อมีความน่าจะเป็นว่าแพทย์แผนไทยจะเติบโตขึ้นในภูมิภาคอาเซียนได้ ... เราพร้อมแค่ไหน?

“แพทย์แผนไทยในอนาคตจะไม่เป็นเพียงแค่แพทย์ทางเลือก แต่จะเป็นแพทย์ทางหลักที่คนไทยใช้รักษาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย”คือทิศทางที่ ผศ.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้น

ผศ.นพ.ธวัชชัย บอกว่า ทุกวันนี้โรงพยาบาลทั่วประเทศจำเป็นต้องมีแพทย์แผนไทยไว้คอยบริการเพื่อให้ ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าจะรักษาด้วยแพทย์แผนไทยหรือไม่ ที่สำคัญโรงพยาบาลควรจะรักษาผู้ป่วยอย่างเท่าเทียมไม่ว่าจะใช้วิธีการใด เมื่อทำได้ก็จะสามารถผลักดันให้เป็นแนวทางหลักของชาติได้ง่ายขึ้น

“เมื่อสำเร็จ” อธิบดีแพทย์แผน ไทยฯ กล่าวต่อ “ก็จะเข้าสู่การผลักดันให้สมุนไพรไทยและแพทย์แผนไทยทั้งระบบเข้า สู่ระดับมาตรฐานสากล โดยเฉพาะในแถบประเทศสมาชิกอาเซียน หากประเทศไทยป้อนสมุนไพรเข้าสู่ตลาดโลกก็จะสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้กับประเทศ ได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท”

“หากคนไทยปลูกสมุนไพรเป็นสินค้าเศรษฐกิจส่งออกได้ก็จะเป็น ผลดี ทั้งภาคเศรษฐกิจ ภาคการเกษตร มันมีรายได้มากกว่าการปลูกข้าว อย่างเช่น กระชาย สามารถขายได้ถึงตันละ 8 แสนบาท ดังนั้นเราควรจะทุ่มกับผลงานด้านวิจัยด้านสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรค”

ทว่าในมุมมองของ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กลับเห็นตรงกันข้าม โดยตั้งคำถามว่า ขณะนี้ประเทศไทยโดยเฉพาะ สธ.นั้น มีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะพัฒนาแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยหรือแพทย์ทาง เลือก ให้ก้าวไปสู่สากลในขอบเขตของอาเซียน

ดร.วิโรจน์ พยายามหาความเชื่อมโยงระหว่างแพทย์แผนไทยกับอาเซียน โดยระบุว่า ไม่อยากให้การเปิดเออีซีมาเป็นตัวกำหนดว่าประเทศไทยควรทำหรือไม่ควรทำอะไร แต่หากใช้เออีซีเป็นข้ออ้างเพื่อให้ต้องเกิดการปรับตัว สธ.เองก็ต้องมีความชัดเจนว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำขนาดไหน และสนับสนุนด้านใดบ้าง

“หรือหากเป็นเรื่องการแพทย์แผนไทยในอาเซียน ตามปรัชญาของเราคือการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ มากกว่าการแข่งขันทางด้านการค้าใช่หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นเราจะมองเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนด้วยปรัชญาเดียวกันหรือไม่ หรือต้องตั้งตนแข่งขันทางการค้า แม้แต่จะร่วมมือกันก็ตาม เราควรจะมีความสัมพันธ์กันแบบใด ดังนั้นแล้วก็จะกลับมาสู่คำถามที่ว่า แต่ละประเทศควรจะมีบทบาทต่อการรักษาตามแพทย์พื้นถิ่ นของตนเอง อย่างไร” อาจารย์วิโรจน์ ตั้งคำถาม

นอกจากนี้ นักวิชาการทีดีอาร์ไอรายนี้ ยังมองว่า การพัฒนาแพทย์แผนไทยมีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ คือ 1.ความรู้ 2.การควบคุมคุณภาพ นั่นเพราะประเทศไทยมีตำรับยาแผนไทยมากกว่าแสนตำรับ และเป็นความรู้ที่ผ่านการถ่ายทอดลักษณะบอกต่อ แต่ยังขาดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้อง และได้รับการยอมรับมีการรับรอง

อีกทั้งในด้านตัวยา ต้องวิจัยได้ว่ามีสารอะไรอยู่ในสมุนไพรและสามารถออกฤทธิ์เพื่อรักษาโรคนั้นๆ รวมถึงประสิทธิผลของยาจริงๆ ทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะอย่าลืมว่ามีคนในวงการยาและวงการแพทย์พูดกันเองว่า มีโรคกว่า 80% ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากโรคนั้นเองได้

“การพัฒนาระบบสมุนไพรรวมถึงแพทย์แผนไทย ต้องใช้เวลานานถึง 10 ปีก็ต้องทำ หากเราจะสร้างมูลค่าในตลาดสากลให้ได้ ต้องทุ่มเททรัพยากรสร้างนักวิจัยขึ้นมา” ดร.วิโรจน์ ระบุ และว่า บางส่วนของแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยนั้น ยังมีข้อกังขาถึงการกล่าวอ้างสรรพคุณอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยว่าสามารถช่วยรักษาโรคร้ายแรง ต่างๆ ได้ ทั้งมะเร็ง เบาหวาน ชนิดหายขาด

คำถามคือ เป็นการกล่าวอ้างสรรพคุณของยาที่เกินจริงไปหรือไม่ ?

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ดร.วิโรจน์ จะตั้งคำถามต่อการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย แต่ทางออกสำหรับการต่อยอดไปสู่ระดับสากล ดร.วิโรจน์ ก็ได้ให้ไว้เช่นกัน

“แน่นอนว่าต้องพัฒนาด้านการวิจัยให้เป็นที่ยอมรับ ซึ่งตำรับยาดั้งเดิมนั้นมีคุณค่าและไม่ควรจะปล่อยให้สูญหายไป แต่การจะไปแข่งขันกับแพทย์แผนปัจจุบัน จะเสนอเพียงให้ผู้ป่วยมั่นใจและศรัทธาอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ไม่เพียงพอ ดังนั้น สธ.ต้องลงทุนโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณด้านการวิจัยให้ควบคู่ไปพร้อมกับงานด้าน วิชาการ ซึ่งเป็นทิศทางที่นักวิจัยรุ่นใหม่จะต้องทำ เพื่อให้มีผลการวิจัยมารับรองแพทย์แผนไทย” ดร.วิโรจน์ ระบุ

 

สมควรรับฟัง และสานต่อเพื่อศักยภาพในการแข่งขันในเวที เออีซี ในอนาคตอันใกล้นี้

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  4th Nov 14

จำนวนผู้ชม:  35491

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง