Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.ชงกรอบลงทุนอุตฯสุขภาพ เบรก”บีโอไอ”เร่ง”เมดิคัล ฮับ



สช.ชงกรอบลงทุนอุตฯสุขภาพ เบรก”บีโอไอ”เร่ง”เมดิคัล ฮับ



  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554: ข่าวครึกโครมในแวดวงสาธารณสุขของไทยช่วงปลาย ปี 2553 เมื่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ (Board of Investment : BOI) ได้ประกาศหลักเกณฑ์สนับสนุนอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการผลักดันเดินหน้านโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งนานา ชาติ (Medical Hub) ทั้งมาตรการลดภาษี การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลที่มีแผนจะขยายการลงทุน ดูเหมือนจะซ้ำเติมปัญหาแพทย์ขาดแคลนสมองไหลมากขึ้นด้วยเหตุนี้ทำให้ องค์กรต่างๆ เครือข่ายสาธารณสุข รวมทั้งนักวิชาการออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน
   เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบการรักษาพยาบาลของคนในประเทศ ทั้งยังไม่สอดคล้องต่อธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ว่าด้วยบริการสาธารณสุขและควบคุมคุณภาพเสียงคัดค้านและแรง ต้านที่หวั่นเกรงการเปิดศูนย์กลางสุขภาพจะซ้ำเติมปัญหาแพทย์ขาดแคลน ทำให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ชะลอมติการลงทุนของบีโอไอในเรื่องนี้ และมอบหมายให้ทางสำนักงานบีโอไอและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันหารือ ตั้งคณะทำงานร่วมกันพิจารณาร่างกรอบและรายละเอียดการส่งเสริมการลงทุนด้าน
   อุตสาหกรรมสุขภาพทั้งหมดไม่ให้เกิดผลกระทบเช่นที่ผ่านมา โดยมี ดร.อรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการบีโอไอ และ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ที่ปรึกษา สช. เป็นหัวหน้าคณะทำงานชุดนี้ ภายหลังทำงานกว่า 4 เดือน คณะทำงานฯ ได้นำ “กรอบการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ” เสนอต่อทาง คสช.รับทราบ และจะมีการจัดกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนก่อนสู่การ ปฏิบัติ
  โดยมีหลักการเพื่อประโยชน์ของสถานะสุขภาพโดยรวมคนในประเทศ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ร่างกรอบการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมด้านสุขภาพที่ได้จัดทำขึ้นนี้ แตกต่างจากมติการส่งเสริมการลงทุนก่อนหน้านี้ที่เน้นการสนับสนุนนโยบายเมดิ คัลฮับ การเปิดรักษาผู้ป่วยต่างชาติ แต่เป็นการเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสุขภาพของไทยมากขึ้น ผ่านการร่วมกันคิดของทางคณะทำงานฯ ที่มีการเชิญนักวิชาการกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วม
  โดยมีการกำหนดบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรได้รับการส่งเสริมลงทุน 4 ประเภท คือ การส่งเสริมการลงทุนสถานพยาบาลเอกชน การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยา การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย และการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผู้สูงอายุ“การจัดทำร่างกรอบ การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมด้านสุขภาพนี้ ทั้งทาง สช. และบีโอไอเราเห็นตรงกันว่า ไม่ควรที่จะส่งเสริมการลงทุนเพิ่ม หรือให้สิทธิยกเว้นทางภาษีแก่สถานพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ที่มีการใช้เครื่องมือ แพทย์ที่ซับซ้อน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงบริการมากขึ้น” นพ.อำพล กล่าว การดึงทรัพยากรด้านสาธารณสุขเพื่อนำไปใช้ใน ธุรกิจ เป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชน อีกทั้งในธรรมนูญสุขภาพ พ.ศ. 2552 ข้อ 51 ระบุชัดว่า รัฐไม่พึงให้การสนับสนุนหรือสิทธิพิเศษทางภาษีและการลงทุนกับบริการสาธารณ สุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ ที่เป็นมติความเห็นจากทุกภาคส่วน นอกจากนี้เลขาธิการ สช.ระบุอีกว่า ขณะนี้โรงพยาบาลที่ดำเนินนโยบาย เมดิคัล ฮับ ทำได้ดีอยู่แล้ว รัฐจึงควรเพียงแค่ใส่เกียร์ว่า ไม่ควรเร่งเดินหน้าซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในร่างกรอบการส่งเสริมการลงทุนฯ ฉบับนี้ จึงมีทิศทางหันมาสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิแทน เพราะเป็นบริการที่ทำให้เกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะแต่ละปีมีผู้ใช้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ทั้งสถานีอนามัย
   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชน ถึง 80% ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด ทั้งนี้เกือบทั้งหมดเป็นสถานพยาบาลของ ภาครัฐ ซึ่งหากเอกชนมาร่วมลงทุนมากขึ้น จะเป็นการใช้ทรัพยากรภาคเอกชนร่วมจัดบริการอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เพียงแต่แบ่งเบาภาระบุคลากรรัฐที่ไม่เพียงพอ แต่ยังช่วยลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ นอกจากนี้ผู้ ขอรับการส่งเสริมการลงทุนนั้น มีเงื่อนไขคือต้องอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคมภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนและต้องอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ระบบประกันสังคมตลอดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนจะมีภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนมากน้อยเพียงใดนั้น คงไม่สามารถตอบได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องรอดูหลังจากนี้ ส่วนที่เกรงว่าการส่ง เสริมเอกชนลงทุนสถานพยาบาลเอกชนและกำหนดให้ดูแลผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพ ด้วยนั้น อาจส่งผลต่องบประมาณในระบบ เพราะต้องมีการแยกงบประมาณรายหัวจากสถานพยาบาลเดินออกไปด้วยนั้น เรื่องนี้เขากลับมองในมุมตรงกันข้าม
  เพราะหากสถานพยาบาลเอกชนทำได้ดีจะช่วยลดภาระงานในโรงพยาบาลภาครัฐได้มากกว่า และโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่จะได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาโรคซับซ้อนได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เราเพียงแต่สนับสนุนการลงทุนสถานพยาบาลขนาด 30 เตียง ซึ่งโรงพยาบาลภาครัฐในกลุ่มนี้ที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่เข้ารับบริการน้อย มาก และเลือกที่จะไม่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มากกว่า นอกจากนี้ยังทำให้โรงพยาบาลภาครัฐเองต้องปรับตัวในการบริการ ซึ่งอาจทำให้เราเห็นโมเดลใหม่ๆ ในระบบสาธารณสุข นอกจากการส่ง เสริมการลงทุนสถานพยาบาลเอกชนแล้ว ยังมีการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาที่เน้นเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการใน การวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีมูลค่าตลาดยาเพิ่มสูงขึ้นมาก จาก 34,000 ล้านบาท ในปี 2543 เป็น 107,000 ล้านบาท ในปี 2550
  โดยมูลค่ายานำเข้ายังมีแนวโน้มครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย ปี 2546 มีมูลค่าที่สูงกว่ายาที่ผลิตในประเทศ จำเป็นต้องส่งเสริมการลงทุนในจุดนี้ การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพ การผลิตเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นสำหรับคนไทย ทั้งการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเครื่องมือแพทย์ของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย เนื่องจากยังมีประชาชนไทยบางส่วนยังมีปัญหาการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นและใช้เครื่องมือแพทย์ที่ไม่ปลอดภัยส่วนข้อกำหนดเรื่อง การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผู้สูงอายุที่เน้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการดูแลผู้สูงอายุเพื่อสร้างทางเลือก ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเป็นการรองรับจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากรายงาน การสำรวจประชากรปี 2550 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ไทยมีผู้สูงอายุถึง 7 ล้านคน หรือร้อยละ 11 ของประชากร และคาดว่าใน 20 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวทั้งตามการประเมินแผนผู้สูงอายุแห่งชาติปี 2545-2549 พบผู้สูงอายุ 1 ใน 5 หรือ 19% ขาดการดูแล มีเพียง 29% ที่ได้รับการช่วยเหลือจากชุมชน ขณะที่สถานสงเคราะห์คนชรารองรับได้เพียง 253,000 คน หรือ 3% ของผู้สูงอายุ
  ดังนั้นหากขาดการเตรียมพร้อมจะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ นพ.อำพล กล่าวอีกว่า ขณะนี้ร่างกรอบการส่งเสริมการลงทุนฯ เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของทางบีโอไอที่จะไปเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ต่อไปเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งในการเปิดรับฟังความเห็นนี้จะถือเป็นการเปิดกว้าง โดยยอมรับว่าอาจมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างกรอบการส่งเสริมการลงทุนนี้ได้ อย่างโรงพยาบาลเอกชนที่เคยได้รับสิทธิการสนับสนุนกิจการในร่างเดิม แต่โดยส่วนตัวก็ไม่ห่วงในเรื่องนี้เพราะเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยที่จะ ได้มาหารือร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด
   ส่วนการจัดทำร่างกรอบการส่งเสริมการลงทุนฯ ในครั้งนี้ เป็นแบบอย่างการกำหนดนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ ก่อนที่จะมีการนำมาปฏิบัติซึ่งได้มีการรับฟังความเห็น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในอนาคต และที่ผ่านมาจากการทำงานร่วมกัน ทางบีโอไอเองในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการลงทุนยังได้คำนึงถึงประโยชน์ของ ประชาชนเป็นสำคัญ ร่างกรอบการส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้แตก ต่างจากครั้งก่อนที่ไม่เหลือเค้าโครงการสนับสนุนนโยบายเมดิคัลฮับ แต่เน้นส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบการแพทย์และ สาธารณสุขของประเทศในอนาคต แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงร่างข้อเสนอที่ยังต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นที่ ยังต้องติดตามดูต่อไปเปิดกรอบลงทุนระบบสุขภาพ คณะทำงานร่วมกันพิจารณาร่างกรอบและรายละเอียดการส่งเสริมการลงทุนด้าน อุตสาหกรรมสุขภาพทั้งหมดไม่ให้เกิดผลกระทบเช่นที่ผ่านมา โดยมี ดร.อรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการบีโอไอ และ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ที่ปรึกษา สช. เป็นหัวหน้าคณะทำงานชุดนี้ ได้นำเสนอ กรอบการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ 4 ประเภทคือกรอบ การบริการ ส่งเสริมการลงทุนสถานพยาบาลเอกชน เน้น การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มจำนวนของสถานพยาบาลประเภทไม่ รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนขนาดไม่เกิน 30 เตียง
   เพื่อให้บริการผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตการส่งเสริมการลงทุนที่มีสถานพยาบาลเหล่านี้จำนวนไม่ เพียงพอ และผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคมภายในระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน และต้องอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคมตลอดระยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การส่งเสริมนี้เพื่อดึงเอกชนเข้าลงทุนสถานบริการปฐมภูมิที่เป็นบริการหลักใน ระบบสาธารณสุขที่มีความสำคัญมากสำหรับประชาชน แต่ละปีมีผู้ใช้บริการสาธารณสุขปฐมภูมิ ทั้งสถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนถึง 80% ของผู้ป่วยนอกทั้งหมด เกือบทั้งหมดเป็นสถานพยาบาลของภาครัฐ กรอบการส่งเสริมลงทุนในอุตสาหกรรมยา เป็นการ เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ ให้พึ่งพาตนเองได้ โดยส่งเสริมการลงทุนวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์ เภสัชเคมีภัณฑ์ สูตรตำรับยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร การผลิตสารออกฤทธิ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์ที่นำไปใช้เป็นส่วนประกอบของยา การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานยามาตรฐานการวิจัยทางคลินิกและการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence Study)
  โดยผู้ขอรับการส่งเสริมต้องดำเนินการให้ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิตสำหรับสถานที่ผลิตตามหรือมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด และหลักเกณฑ์มาตรฐานของห้องปฏิบัติการ Good Laboratory Practice : GLP หรือ ISO/IEC 17025 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่เปิดดำเนินการ ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย เป็นการเน้นเพิ่มศักยภาพของประเทศในการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นสำหรับ คนไทย ด้วยการส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเครื่องมือแพทย์ของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย รวมถึงพัฒนาศักยภาพในด้านการทดสอบประสิทธิภาพ หรือการเทียบมาตรวัดของเครื่องมือแพทย์ที่ผลิต ก่อนวางจำหน่ายและระหว่างการใช้งาน โดยส่งเสริมการลงทุนในด้านการผลิตเครื่องมือแพทย์ ส่วนประกอบของเครื่องมือแพทย์ เครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพหรือเครื่องมือเทียบมาตรวัดของเครื่องมือแพทย์ การบริการทดสอบประสิทธิภาพหรือการเทียบมาตรวัดของเครื่องมือแพทย์ การค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผู้สูงอายุ จะเน้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการดูแลผู้สูงอายุเพื่อสร้างทางเลือก ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งการส่งเสริมกิจการบ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุยังเป็น การรวมทรัพยากรในการดูแลผู้สูงอายุมาไว้ในสถานที่เดียวกัน ยังทำให้ค่าเฉลี่ยต้นทุนในการดูแลและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุของประเทศลด ลง โดยมีข้อเสนอให้ส่งเสริมในด้านกิจการบ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูง อายุ และกิจการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ทั้งนี้ ความจำเป็นในการส่งเสริมการลงทุนกิจการผู้สูงอายุ เพราะไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับสิทธิ ประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับ คือ การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามเกณฑ์ที่ตั้งในแต่ละเขต ดวงกมล สจิรวัฒนากุล หน้า: 3(บน)Ad Value: 332,625 PRValue (x3): 997,875 20110603_1014_publicpolicy_Krungthep Turakij

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  34916

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง

ไม่มีข่าว