Sub Navigation Links

webmaster's News

สช.-ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลัง สร้าง 'เขตสุขภาพเพื่อประชาชน'



สช.-ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลัง สร้าง 'เขตสุขภาพเพื่อประชาชน'



สช.-ภาคีเครือข่าย ผนึกกำลัง

สานพลัง 'เขตสุขภาพเพื่อประชาชน'

 

         เวทีรับฟังความเห็น เขตสุขภาพเพื่อประชาชน คึกคัก ภาคีเครือข่ายหนุนกลไกใหม่ สานพลังขับเคลื่อนระบบสุขภาพ สช.มั่นใจลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทุกมิติ วางกรอบแนวคิดแบ่ง ๑๓ เขต ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เตรียมเสนอสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๗ ปลายปีนี้


        เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิด “เวทีรับฟังความคิดเห็นต่อรูปแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชน” ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพจากทั่วประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ณ ห้องประชุมสานใจ ๑/๑ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ


         นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานคณะทำงานพัฒนารูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน กล่าวว่า กระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อน เขตสุขภาพเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ พ..๒๕๕๖ และมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ ส.. ๒๕๕๗ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด


           “ความคิดเห็นที่หลากหลายของทุกภาคส่วนในครั้งนี้ มีประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนโครงสร้าง บทบาท ภารกิจ และแนวทางการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชนในอนาคต ซึ่งคณะทำงานฯ จะนำข้อเสนอทั้งหมดไปปรับปรุง และจะมีการรับฟังความคิดเห็นอีกหลายครั้ง ก่อนเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๗ พ..๒๕๕๗ ปลายปีนี้ต่อไป”


         ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นกลไกใหม่ที่มุ่งเน้นบูรณาการการทำงานในแบบเครือข่าย ตามบทบาท ภารกิจ ของหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยยึดโยงประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใช้พื้นที่เป็นฐานในการทำงานแบบมีส่วนร่วม เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยยกระดับคุณภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพในท ุกมิติ


          “เขตสุขภาพเพื่อประชาชนจะเป็นกลไกใหม่ ที่เชื่อมโยงทุกหน่วยงานมาร่วมกัน สานพลังปัญญา พลังสังคม และพลังของภาครัฐ จนเกิดทิศทาง นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่มากที่สุด”


          ร่างกรอบคิดรูปแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชนในเบื้องต้น แบ่งพื้นที่ ๗๖ จังหวัด เป็น ๑๓ เขต โดย กทม.จัดเป็น ๑ เขต แต่สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์หรือบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป และมี “คณะกรรมการอำนวยการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน” สนับสนุนและร่วมกันกำหนดทิศทาง การพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ เชื่อมโยงการทำงานกับกลไกที่มีอยู่เดิมให้เกิดบูรณาการ โดยมีองค์ประกอบไม่เกิน ๓๐ คน มาจาก ๓ ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการและวิชาชีพ และ ภาคสังคม 


           ขณะที่ภาคีเครือข่าย สะท้อนความเห็นและข้อเสนอแนะที่หลากหลายในเวทีดังกล่าว อาทิ เร่งทำความเข้าใจกับสาธารณชน ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เพื่อให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนกับเขตบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, การคัดเลือกประธานและกรรมการใน คณะกรรมการอำนวยการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ต้องมีความหลากหลาย ไม่ซ้ำซ้อน และเป็นที่ยอมรับได้ของคนในพื้นที่ รวมถึงการออกกฎหมายและงบประมาณเพื่อรองรับการขับเคลื่อนภารกิจของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นต้น

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  20th Oct 14

จำนวนผู้ชม:  35508

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   เขตสุขภาพเพื่อประชาชน

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง