Sub Navigation Links

webmaster's News

ส่อง “อนาคต” ระบบสุขภาพไทย Scenario 10 ปี ข้างหน้า



ส่อง “อนาคต” ระบบสุขภาพไทย Scenario 10 ปี ข้างหน้า




ท่ามกลางกระแสการปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้าน “ระบบสุขภาพ” ถือเป็นหนึ่งในปัญหาร้อยแปดที่ยังรอคอยการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลอภิบาลระบบ การส่งเสริมป้องกันโรค รวมถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่สัมพันธ์กับสุขภาพคนไทยกว่า 60 ล้านชีวิต ทั้งสิ้น
ตลอดระยะเวลาร่วม 1 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามเพรียกหา “พิมพ์เขียว” ปฏิรูประบบสุขภาพ ทว่าเมื่อเลยล่วงเข้ามาสู่นาทีนี้-เดี๋ยวนี้ คำถามหนึ่งยังดังขึ้นอย่างซ้ำๆ
ภายใต้วาระปฏิรูปประเทศครั้งประวัติศาสตร์ “โฉมหน้า” สุขภาพไทยจะเป็นอย่างไร ?

ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ

ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในฐานะนักวิจัยคนสำคัญของโครงการ “ภาพอนาคตระบบสุขภาพ” ได้อธิบายถึงการ “คาดการณ์” หรือ scenario อนาคตระบบสุข ภาพในอีก 10 ปี ข้างหน้าไว้อย่างน่าสนใจ
ดร.สุชาต ได้จำแนกอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ภายในห้วงเวลาปี 2556-2566 เพื่อกำหนดความเป็นไปได้ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระบบสุขภาพไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดให้มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ โดยข้อหนึ่งในกฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ว่าต้องจัดทำภาพอนาคตระบบสุขภาพ

“สวทน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพ (สช.) จึงร่วมกันกำหนดภาพอนาคตระบบสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้าขึ้นมา” อาจารย์สุชาต อธิบาย
สำหรับกระบวนการดังกล่าว เริ่มจากการดึงเอาผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันระดมสมองว่า ภาพอนาคตในอีก 10 ปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพของไทย และอะไรคือความท้าทาย อะไรคือแรงผลักดัน และอะไรคืออุปสรรค ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้กรอบเดียวกัน คือสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง

สามารถฉายเป็น 3 ภาพใหญ่ๆ ที่แตกต่างกันออกไป
ภาพอนาคตแรก ได้แก่ “ราษฎร์-รัฐร่วมคิดร่วมสร้างสรรค์ ร่วมผลักดันระบบสุขภาพ” คือภาพ “โลกสวย” ที่ทุกคนเห็นตรงกันและต้องทำให้ไปถึงเป้าหมาย นั่นคือประชาชน มีระบบสุขภาพเข้มแข็ง
“จากเดิมที่มีการแยก 3 กองทุนสุขภาพ ก็จะนำไปสู่ระบบประกันสุขภาพภายใต้ระบบเดียว และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้จริง เท่าเทียมกันทั่วประเทศภายใต้การเมืองที่มีเสถียรภาพ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นประสบความสำเร็จ ให้ชุมชนเป็นเจ้าของระบบสุขภาพอย่างแท้จริง” ดร.สุชาต กล่าว

ส่วนภาพที่สอง ซึ่งนับเป็นด้านลบอย่างแท้จริง คือภาพอนาคต “ระบบสุขภาพของใครของมัน ดั่งฝันที่ไกลเกินเอื้อม” โดยผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าระบบสุขภาพจะยังตกอยู่ภายใต้ปัญหาเดิมๆ คือการคอรัปชั่น โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป รวมไปถึงปัญหาด้านการจัดการน้ำ ภัยธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำที่ยังคงขยายตัวออกในแนวกว้าง

“ที่สำคัญคืออำนาจยังคงอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว ทำให้ระบบสุขภาพ ถอยหลังลงคลอง จากระบบการเงินการคลังเกิดวิกฤต ประกอบกับค่าตอบแทนบุคลากรในระบบสุขภาพมีสัดส่วนมากขึ้น ทำให้บุคลากรย้ายไปสู่ภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนก็มุ่งเน้นให้บริการชาวต่างชาติและผู้มีฐานะเท่านั้น ทำให้คนไทยเช้าถึงยาและเทคโนโลยีอย่างยากลำบาก” นักวิชาการรายนี้ให้ภาพชวนหดหู่

สำหรับภาพที่สาม คือ “ในเงามือที่ทาทาบ ระบบสุขภาพยังยืนหยัด” ซึ่งพูดถึงภาพอนาคตที่แม้จะเกิดปัญหาได้มาก ทั้งสารเคมี อาหารแพง ภัยธรรมชาติ แย่งชิงทรัพยากร ฯลฯ แต่การปฏิรูปยังคงเกิดขึ้นจากการที่ภาคประชาชนบีบให้รัฐต้องปฏิรูปประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพร่วมกันอย่างทุ่มเท เพื่อคุณภาพชีวิต เน้นการกระจายอำนาจ ประชาชนมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในพื้นที่ เพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาลเรื่องสุขภาพต่อไป

“ทั้งหมดนี้ เราไม่ได้ต้องการให้เลือกภาพใดภาพหนึ่ง แต่การทำอะไรบางอย่างมันนำไปสู่ผลลัพธ์อีกอย่างเสมอ ซึ่งภาพจำลองเหล่านี้แสดงให้เห็นแล้วว่าหากปล่อยให้ระบบทุกอย่างไปตามยถากรรม ก็จะเข้าสู่ความยุ่งเหยิง” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคม สวท น.ขมวดประเด็น

“ฉะนั้น” เขาเว้นจังหวะแล้วกล่าวต่อ อาจต้องเพิ่มส่วนประกอบภายใต้กรอบ 4G’s คือต้องมีระบบอภิบาล (Governance) เพื่อใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมและสร้างสรรค์ การรวมกันเป็นหนึ่ง (Glomeration) ทำงานอย่างเป็นเอกภาพ การเติบโต (Growth) ด้วยการขยายหลักการไปยังทุกภาคส่วน และความเอื้ออาทร (Generosity) ในทุกสถานะสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูป เพื่อให้คุณภาพของระบบสุขภาพอีกสิบปีข้างหน้าดีขึ้น


นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์

ขณะที่ นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประก ันสุขภาพไทย (สวปก.) วิพากษ์ว่า แน่นอนว่าในอนาคตสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ และมีแนวโน้มที่คนส่วนใหญ่จะมีอายุยืนมากขึ้น โดยคำว่า “อายุยืน” นั้นมีหลายแบบทั้งอายุยืนแบบสุขภาพดีและอายุยืนแบบมีโรคเต็มตัว

ทั้งนี้ หากนำมาคำนวณจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ พฤติกรรม สถานการณ์ด้านสุขภาพ กระบวนการรักษา เทคโนโลยี ตัวระบบ และการให้บริการ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปรวมไปถึงค่าแรงด้วย

“เรามักจะกลัวว่าอายุมากขึ้นแล้วค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น ซึ่งจริง แต่สถิติทั่วโลกและข้อมูลของประเทศไทยพบว่าค่าใช้จ่าย “ก่อนตาย”หรือก่อนจะเสียชีวิต 1-2 ปี นั้นสูงกว่า ขณะที่ค่าใช้จ่ายเมื่อเป็นผู้สูงอายุนั้นลดลง  ;1-2% ต่อจีดีพี ปัญหาจริงๆ จึงไม่ได้อยู่ที่ผู้สูงอายุ แต่อยู่ที่เราดูแลผู้สูงอายุอย่างไร หรือดูแลคนก่อนตายอย่างไร” นพ.ถาวร อ้างสถิติเร้าให้คิดตาม

ผู้อำนวยการ สวปก. กล่าวต่อไปว่า ตัวเลขล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่า คนอายุ 60 ปีในปัจจุบัน แข็งแรงกว่าคนอายุ 60 ในอดีตมาก โดยในผู้สูงอายุที่อายุยังน้อยจะเป็นโรคน้อยลง แต่จะชะลอโรคไว้ทีหลังจนทำให้ค่าใช้จ่ายจะถอยไปที่คนอายุมากขึ้น ที่น่ากังวลก็คือในขณะนี้ค่าแรงของบุคลากรทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายเพื่อใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่รัฐบาลต้องหามาอุดหนุนเพิ่มขึ้นมาก

“เรากำหนดอนาคตไทยได้เป็น 3 ระดับ เรียกว่า 1.เศรษฐกิจติดหล่ม คือโตสักประมาณ 3% หรือเท่ากับขณะนี้ 2.โตตามศักยภาพ หรือ 5% 3.อาจจะโตได้ถึง 10% ซึ่งหากจัดการตัวเองดีมาก เราเชื่อว่าจะไปได้ถึง 10-20% เพราะการศึกษาเฉลี่ยจะสูงขึ้น” นพ.ถาวร กล่าว และอธิบายต่อไปว่า ประเทศไทยจะรับมือผู้สูงอายุได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจขยายตัวมากขนาดไหน หากต่ำกว่า 3% จะมีปัญหา แต่ถ้าสูงประมาณ 5% ก็จะไม่มีปัญหา

“ป่วยบ้างไม่เป็นไร แต่แน่นอนรัฐบาลต้องเตรียมเงินมากขึ้น และหลังจากนี้อาจต้องมีกระบวนการคิดว่าจะปฏิรูประบบสุขภาพอย่างไร ทั้งเรื่องระบบภาษี หรือเรื่องการร่วมจ่าย คือต้องมีเงินเข้าระบบมากขึ้น ถ้าเศรษฐกิจโต 5% อย่างที่คาด เราน่าจะหาเงินเข้าระบบได้พอ แต่ถ้าต่ำมากก็คงต้องมาคิดกันว่ารัฐบาลจะหาเงินเข้าสู่ระบบสุขภาพให้มากขึ้นอย่างไร” นพ.ถาวร ชี้ให้เห็นว่าที่สุดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพ-สังคมผ ู้สูงวัย ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและงบประมาณอย่างแท้จริง

คำถามคือ ประเทศไทยจะเตรียมการอย่างไร เพื่อตั้งรับสังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในปี 2568 ซึ่งจะมีประชากรสูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ
เพราะในจ ำนวนนี้ จะมีผู้สูงอายุติดเตียงและอยู่ในภาวะพึ่งพิงประมาณ 1 ล้านราย

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th Oct 14

จำนวนผู้ชม:  36072

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง