Sub Navigation Links

webmaster's News

แนวคิดนักกฎหมายไทย: สิทธิปฏิเสธการรักษาช่วงสุดท้ายของชีวิต



แนวคิดนักกฎหมายไทย: สิทธิปฏิเสธการรักษาช่วงสุดท้ายของชีวิต



   คอลัมน์ กระดานความคิด: แนวคิดนักกฎหมายไทย: สิทธิปฏิเสธการรักษาช่วงสุดท้ายของชีวิต คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554: เมื่อ พูดถึงเรื่อง “ความตาย” สังคมไทยก็ไม่ต่างจากสังคมตะวันออกอื่นๆ เพราะประชาชนไม่ค่อยตื่นตัวในเรื่องสิทธิด้านต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิที่จะตาย ขณะที่สังคมฝรั่งอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีการต่อสู้เรียกร้องเรื่องสิทธิขอตายเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ในอดีตเมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ของ สังคมตะวันตก
  พัฒนาจนทำให้การช่วยชีวิตมนุษย์มีประสิทธิภาพสูงสุด ถึงขนาดที่ทำให้การช่วยชีวิตกลายเป็นการเหนี่ยวรั้งชีวิต ชะลอการตายออกไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานเกินความจำเป็น จนกลายเป็นชีวิตทางชีววิทยาหรือที่รู้จักในสภาพผักถาวร ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นชีวิตที่อยู่ในสภาวะไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากที่ สุด
   กระทั่งแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนที่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์แพร่หลายออกไป ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องขอใช้สิทธิที่จะตายผ่านอำนาจศาลในชาวตะวันตกมาก ขึ้น ซึ่งในหลายประเทศได้ออกกฎหมายรับรองสิทธิปฏิเสธการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษร ไว้ล่วงหน้าเรียกว่า Living Will เพื่อเป็นการเคารพเจตนาของผู้ป่วยที่แสดงไว้ และผู้ที่ทำตามความประสงค์ไม่ต้องรับผิดทางอาญาฐานช่วยให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ดำเนินการตามหนังสือ แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายใน วาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งรองรับสิทธิการปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต พร้อมด้วยแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบการวิชาชีพ เจ้าหน้าที่และสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมดประกาศใช้อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามแนวคิดในการปฏิเสธการรักษาในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต
  ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย ไม่ใช่แค่เฉพาะกรณีผู้ป่วยหรือบุคลากรทางสาธารณสุข เพราะในหมู่นักกฎหมายเอง ความเข้าใจในเรื่องสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเองรวมถึงสิทธิในการปฏิเสธการ รักษา ดูเหมือนว่ายังมีน้อยมาก วัดได้จากผลการวิจัยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งผู้เขียนได้ร่วมสำรวจแนวคิดของนักกฎหมายไทยเกี่ยวกับ ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องการยุติการรักษาของแพทย์ตามความต้องการ ของผู้ป่วย 2 ครั้ง ในปี 2527 และ 2538 โดยสร้างแบบสอบถามส่งไปยังนักกฎหมายไทย ประกอบด้วย ตุลาการ พนักงานอัยการ ทนายความและนิติกร รวมทั้งอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เมื่อนำผลคำตอบที่ได้มาวิเคราะห์ พบว่างานวิจัยเรื่องเดียวกันแต่มีระยะเวลาศึกษาห่างกันกว่า 10 ปี
  แนวคิดของนักกฎหมายไทยเกี่ยวกับการปฏิเสธการรักษาที่จะนำไปสู่การตายดี ดูจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าประมวลกฎหมายอาญาของไทยที่จะนำมาใช้การตีความกับกรณีดังกล่าว ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ณ ขณะนั้น โดยจากเดิมมองว่า แพทย์ที่ไม่ให้การรักษาผู้ป่วยตามความประสงค์ของผู้ป่วยเองแล้วผู้ป่วยตาย แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นถึงร้อยละ 71.8 แต่ในช่วง 10 ปีให้หลัง นักกฎหมายไทยมีแนวโน้มยอมรับสิทธิที่จะปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายเพิ่มมาก ขึ้น เพราะกรณีคำถามเดียวกัน มีผู้ลงความเห็นว่า แพทย์มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นลดลงเหลือเพียงร้อยละ 26.4
  ดังนั้นแล้วหากเราเข้าใจเรื่องการตายดีตามหลักของศาสนาพุทธ ที่มองว่าเจ้าของชีวิตมีสิทธิในชีวิตของตนเอง เราก็สามารถใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาหรือปฏิเสธเทคโนโลยีบางอย่างเพื่อจะนำไป สู่การตายได้ โดยไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายใดๆ อีก และนักกฎหมายไทยควรยอมรับแนวคิดทางกฎหมายที่ได้วิวัฒนาการขึ้นในสังคมมาเป็น ลำดับ จนปรากฏเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หากสนใจศึกษาตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตฯ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.thailivingwill.in.th ศาสตราจารย์นายแพทย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ท หน้า: 4(ล่างซ้าย) Ad Value: 55,250 PRValue (x3): 165,750 ท 20110604_1021_Section 12_Khom Chad Luek (Mid-Day)

Facebook

เข้าสู่ระบบ to rate

อันดับความนิยม:

อัพโหลดโดย:  webmaster

วันที่อัพโหลด:  14th May 12

จำนวนผู้ชม:  35794

ความคิดเห็น:  0

ข่าวที่ชื่นชอบ:  0

หมวด:   ข่าวสารน่ารู้

แจ้งข่าวไม่เหมาะสม

ชื่นชอบ

ส่งอีเมล์ถึ่งเพื่อน

๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวท๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวข๏ฟฝอง